svasdssvasds

สธ. แถลง ผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงรายแรก ไปสถานบันเทิงภูเก็ต 2 แห่ง ตรวจแล้ว 142 คน

สธ. แถลง ผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงรายแรก ไปสถานบันเทิงภูเก็ต 2 แห่ง ตรวจแล้ว 142 คน

สธ. แถลง ผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงรายแรก ไปสถานบันเทิงภูเก็ต 2 แห่ง ตรวจแล้ว 142 คน พบผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 2 ราย อยู่ระหว่างสังเกตอาการ ล่าสุดเจ้าหน้าที่ ตามหาผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงหลังไม่พบในสถานที่รักษา

(ฝีดาษลิง) วันที่ 22 ก.ค. 2565 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงสถานการณ์โรคฝีดาษวานร ในประเทศไทย หลังพบ ผู้ป่วยเป็นเพศชาย สัญชาติไนจีเรีย อายุ 27 ปี มีประวัติเดินทางมาจากประเทศไนจีเรีย ให้ข้อมูลการป่วยว่าเมื่อ 1 สัปดาห์ก่อนมีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูก มีผื่นแดง ตุ่มนูนแดง ตุ่มหนอง เริ่มจากอวัยวะเพศลามไปใบหน้า ลำตัว แขน เก็บตัวอย่างส่งตรวจหาเชื้อก่อโรค เบื้องต้นผลการตรวจ PCR พบเชื้อ Monkeypox virus โดยห้องปฏิบัติการที่คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (TRC-EIDCC) และต่อมายืนยันโดยห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ช่วงบ่ายวันที่ 19 กรกฎาคม 2565 และทีมสอบสวนควบคุมโรครวบรวมข้อมูลการสอบสวน ทั้งข้อมูลอาการทางคลินิก ข้อมูลระบาดวิทยาและข้อมูลห้องปฏิบัติการเข้าพิจารณาในคณะกรรมการวิชาการ ภายใต้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติในบ่ายวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 ผลสรุปว่า เป็นผู้ป่วยยืนยันฝีดาษวานรที่พบในประเทศไทยเป็นครั้งแรก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

- โดยค้นหาพบผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 2 ราย เป็นเพื่อนกับผู้ป่วย ไม่มีอาการป่วย ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ไม่พบการติดเชื้อโรคฝีดาษวานร อยู่ระหว่างสังเกตอาการตนเอง 21 วัน

- ตรวจสถานบันเทิง 2 แห่ง ที่ผู้ป่วยไปใช้บริการ รวม 142 คน พบผู้มีอาการไข้ เจ็บคอ จำนวน 6 ราย ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ 4 ราย ห้องปฏิบัติการ ไม่พบการติดเชื้อโรคฝีดาษวานร

- ค้นหาผู้สัมผัสในโรงแรมและสถานบันเทิง แห่งอื่นเพิ่มเติม รวมทั้งการกำจัดเชื้อในห้องพักคอนโดที่พักของผู้ป่วย ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวกับสถานบันเทิงและผู้ใช้บริการ

 ทั้งนี้มีรายงานว่า จนท.สธ. ประสาน ตม. ตามหาตัวชาวไนจีเรีย ที่เป็น “ฝีดาษลิง” เพราะหาตัวไม่พบในสถานที่รักษา / พบ Over Stay เกือบ 4 เดือน

อย่างไรก็ตามผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงรายแรกในไทย เป็นสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก ซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่า ระยะฟักตัวเฉลี่ย 8 วัน มากสุดไม่เกิน 21 วัน ซึ่งโรคนี้ไม่ได้ติดได้ง่าย ขอให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสคลุกคลีกับผู้ป่วยหรือมีอาการตุ่มหนอง ขณะนี้ยังไม่มียาต้านไวรัสโดยตรง ส่วนวัคซีนได้สั่งจองไปแล้ว แต่ก็มีอีกส่วนหนึ่งองค์การเภสัชกรรมเก็บไว้ เป็นวัคซีนฝีดาษ ก็อาจจะนำออกมาใช้ได้ต้องดูประสิทธิภาพ ข้อบ่งชี้ และอาการของโรคต่อไป

มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคฝีดาษวานร ประเทศไทย

-เฝ้าระวัง คัดกรอง ผู้ป่วยสงสัยฯ ในสถานพยาบาลทุกแห่ง คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศ (สนามบินนานาชาติ) และเก็บตัวอย่างส่งตรวจฯ เพื่อยืนยันการติดเชื้อ 2 แห่ง

-การสอบสวน และควบคุมโรค เน้นผู้ป่วยทุกรายต้องได้รับการแยกกัก รวมทั้งขณะรอผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ หากพบผู้ป่วยยืนยันจาเป็นต้องได้รับการรักษา และแยกกักในรพ./ห้องแยกโรค จนพ้นระยะปลอดการแพร่โรค

-กรณีผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ผู้ที่มีประวัติสัมผัสโดยตรงกับตุ่มผื่นของผู้ป่วย รวมทั้งเสื้อผ้า สิ่งของของผู้ป่วย ให้เฝ้าระวังสังเกตอาการตนเองอย่างน้อย 21 วัน หากเริ่มมีอาการไข้ ไอ ตุ่มผื่นขึ้นให้รีบพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยรักษา รวมทั้งเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

related