svasdssvasds

สธ. พร้อม จัดการโควิด19 หลังปรับสู่โรคติดต่อเฝ้าระวัง

สธ. พร้อม จัดการโควิด19 หลังปรับสู่โรคติดต่อเฝ้าระวัง

อนุทิน นำทีมผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ยืนยัน ความพร้อม จัดการโรคโควิด19 หลัง 1 ตุลาคม ปรับโควิด-19 เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง โดยกระทรวงสาธารณสุข จะเป็นผู้รับผิดชอบหลัก เหมือนดูแลโรคติดต่ออื่นๆ ยืนยัน ยาเวชภัณฑ์ วัคซีนโควิดพร้อม ในการรักษาผู้ติดเชื้อ

ที่กระทรวงสาธารณสุข นาย อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวง ร่วมกันแถลงข่าวการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ของกระทรวงสาธารณสุข หลังยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รวมถึงการยุบ ศบค.  นายอนุทิน ระบุว่า การบริหารจัดการโรคโควิด-19 ต่อไปนี้ กระทรวงสาธารณสุข จะเป็นผู้รับผิดชอบเป็นหลัก เหมือนดูแลโรคติดต่ออื่นๆ

ซึ่ง พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ที่นำมาใช้ในช่วงโควิด-19 เริ่มใช้เดือนมีนาคม 2563 โดยรัฐบาล ใช้เพื่อการป้องกันโรคเท่านั้นไม่ได้กระทบต่อการดำเนินชีวิตของพี่น้องประชาชน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

โดย สถานการณ์โรคโควิด-19 ที่ผ่านมาในประเทศไทย  ผู้ติดเชื้อและ ผู้เสียชีวิต อัตราลดลงอย่างต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญ  และส่วนใหญ่อาการของโรคไม่รุนแรง โดย ร้อยละ92  ประชาชนในประเทศมีภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 มากกว่า 143 ล้านโดส  และประชาชนชางส่วนมีภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อธรรมชาติ

ซึ่งจาก แนวโน้มสถานการณ์โรคโควิดที่คลี่คลาย คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติได้ปรับโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตรายเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง 

การประกาศโควิด-19 เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง ถือเป็นเป้าหมายสำคัญที่ประเทศไทยจะเดินหน้าทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่

โรคโควิด-19 ปรับเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวังลำดับที่ 57 ภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อแห่งชาติ  พ.ศ. 2558 ที่มีกำหนดไว้ 57 โรค เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดเยอรมัน โรคคอตีบ / โรคโปลิโอ  /โรคปอดอักเสบ/โรคอีสุกอีใส / อาหารเป็นพิษ

สิ่งสำคัญ คือเมื่อเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวังประชาชนยังคงต้องมีการป้องกันตัวเองตามมาตรการสาธารณสุข

ขณะที่ ล่าสุดทาง ศบค. ได้มีการประกาศยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ซึ่งมีผล 30 กันยายน 2565 นั้น  // ทางกระทรวงสาธารสุขได้มีพระราชบัญญัติโรคติดต่อแห่งชาติ พ.ศ. 2558 เมื่อประกาศให้เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง / กลไกควบคุมโรคต่างๆ ภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อฯ ทั้งระดับชาติและระดับพื้นที่ ยังคงดำเนินการอยู่ แต่ลดความเข้มข้นของมาตรการบางอย่างลงไป เพื่อให้สังคมและเศรษฐกิจเดินต่อไปได้

ซึ่งคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขจัดทำแผนโรคติดเชื้อโควิด-19  หลังปรับเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานให้กับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำไปปฏิบัติ 

ทั้งนี้ ตั้งแต่มีการเปิดประเทศที่ผ่านมา
มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเมืองไทยเพิ่มขึ้น ประมาณเดือนละ 1 ล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้

นายอนุทิน ระบุว่า ทางกระทรวงสาธารณสุข ต้องขอขอบพระคุณ คนไทยทั้งประเทศที่ร่วมกันต่อสู้กับโรคโควิด-19 ทำให้ประเทศไทยปลอดภัยและร่วมกันฉีดวัคซีนป้องกันโรค มากกว่าร้อยละ70 ของประชากร.

ส่วนความกังวลของประชาชนถึงการรักษาผู้ติดเชื้อ หากปรับโควิด-19 เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง นั้น นายอนุทิน ระบุว่า การดูแลรักษาพยาบาลและการเข้าถึงยาเวชภัณฑ์ หากมีการติดเชื้อจะเป็นไปตามสิทธิ รักษาฟรี 

ขณะเดียวกัน ผู้ผลิตยาโควิด-19 ยังจดทะเบียนในการใช้สภาวะฉุกเฉินอยู่ การไปหาซื้อตามร้านขายยาทั่วไปอาจจะยังไม่สะดวกในช่วงนี้ เนื่องจากผู้ผลิตยายังไม่ขอให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ขายทั่วไปได้

ยืนยัน กระทรวงสาธารณสุขยังคงมีความพร้อมในการดูแลประชาชนในเรื่องนี้ /  ประชาชนยังสามารถใช้สิทธิยูเซฟ รักษาที่ไหนก็ได้ หากแพทย์พิจารณาแล้วว่าโรคนี้อาการรุนแรง หรือเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน 

ด้าน นพ. สุระ วิเศษศักดิ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข  ระบบถึงสถานการณ์เตียง เตียงโควิด-19 ในรพ. ทั่วประเทศ มีกว่า  73,000 เตียง ในจำนวนนี้ เคยขยายถึง140,000 เตียง / ขณะนี้มีผู้ป่วย นอนในโรงพยาบาล 4,800 คน  คิดเป็น ร้อยละ6.6ของเตียงทั้งหมด  / ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง  / ส่วน เตียงระดับ3  ในผู้ป่วยอาการหนัก ครองเตียงไม่ถึงร้อยละ10 / ยืนยัน ขณะนี้เตียงมีความเพียงพอ 

ส่วนยาฟาวิพิราเวียร์ตอนนี้ มีสำรอง 5,621,175เม็ด /  ปริมาณใช้ต่อวัน อยู่ที่ 58,895 เม็ด  /  ยาโมลนูพิราเวียร์ มี20,362,045เม็ด / ปริมาณใช้ต่อวัน อยู่ที่ 148,750เม็ด   /  เรมดิสซิเวียร์ 23,451 โดส ใช้ได้อีกครึ่งเดือน

ตอนนี้ได้สั่งซื้อยาฟาวิพิราเวียร์ อีก10 ล้านเม็ด  รวมมียาสำรองใช้ อีก 5เดือนครึ่ง  / ส่วนยา โมลนูพิราเวียร์ อีก 35 ล้านเม็ด รวมมีการใช้ 7เดือน / เรมดิสซิเวียร์ สั่งซื้อเพิ่ม 3 แสน โดส รวมใช้ได้ถึง 8เดือนครึ่ง

ยืนยัน ยาในการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 มีความเพียงพอ

นายแพทย์ ธเรศ  กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ระบุว่า กรณีเจ็บป่วยด้วยโควิด-19 สามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลจากกองทุนที่ผู้ป่วยมีสิทธิ เช่นกองทุนประกันสังคม สิทธิบัตรทอง หรือสิทธิข้าราชการ

กรณีที่เป็นผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการฉุกเฉินวิกฤตสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกที่ทั้งสถานพยาบาลภาครัฐหรือตามสถานพยาบาลเอกชนตามระบบยูเซฟพลัส

ทั้งนี้ สิ้นเดือน กันยายนจะมีการยุติ Hospital ทั้งหมด แต่หากมีสถานการณ์ฉุกเฉิน ก็สามารถที่จะออกประกาศในเรื่องนี้กลับมาเปิดใหม่ได้อีกครั้ง

ส่วนแรงงานต่างด้าวหากป่วยโควิด-19 แล้วมีประกัน ก็สามารถที่จะรักษาตามสิทธิได้ แต่หากเป็นแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีประกันก็ต้องจ่ายเงินตามระบบ

related