นับถอยหลังเข้าสู่การเลือกตั้ง 2566 จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก หรือ First Voter นับว่ามีจำนวนสูงถึง 4,012,803 คน ขณะที่ผู้มีสิทธิมากสุดอยู่ที่ Gen X (อายุ 42-57 ปี) กว่า 16 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 30.87 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด
ในการเลือกตั้งทั่วไป 2566 หากคำนวณจำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขต ตามมติศาลรัฐธรรมนูญ (3 มี.ค.2566) โดยใช้ตัวเลขประชากรจากประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่องจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานทะเบียนราษฎร เมื่อ 31 ธันวาคม 2565 โดยนับเฉพาะผู้มีสัญชาติไทยทั้งประเทศ จำนวน 65,106,481 คน
จำนวน ส.ส. รายเขต ทั้ง 400 เขตแยกตามภาค
เมื่อเปรียบเทียบกับการเลือกตั้งปี 2562 ซึ่งมี ส.ส.แบบแบ่งเขต 350 คน แต่ในปี 2566 มีจำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขตทั้งสิ้น 400 คน พบว่า มี 42 จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส.เพิ่มขึ้น
จังหวัดที่มี ส.ส. เพิ่มขึ้น 1 คน มี 36 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ ตรัง ตาก นครนายก นครปฐม นครศรีธรรมราช นราธิวาส บึงกาฬ ปทุมธานี ปัตตานี พระนครศรีอยุธยา พังงา เพชรบูรณ์ แพร่ ภูเก็ต มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน ร้อยเอ็ด ระยอง เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สงขลา สมุทรปราการ สระบุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี สุรินทร์ อ่างทอง อุดรธานี อุตรดิตถ์ และอุบลราชธานี
ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
การเลือกตั้ง 2566 จำนวนประชากรเฉพาะที่มีสัญชาติไทย ที่นำมาใช้ในการคำนวณจำนวน ส.ส. รายเขตทั้ง 400 เขต ตามมติศาลรัฐธรรมนูญ มีทั้งสิ้น 65,106,481 คน อย่างไรก็ตาม เมื่อดูข้อมูลประชากรไทยที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแยกรายอายุรายเดือน ธันวาคม 2565 กรมการปกครอง พบว่าเป็นผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 52,322,824 คน โดยสามารถแยกได้ดังนี้
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2566 แยกตามเจเนอเรชั่น
การจำแนกเจเนอเรชั่นตามศูนย์วิจัย Pew Research Center สหรัฐอเมริกา
กลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก First Voter 10 จังหวัดที่มีสัดส่วนร้อยละผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก มากที่สุด ได้แก่
จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก first voter น้อยที่สุด ได้แก่
Gen Z จังหวัดที่มีสัดส่วนร้อยละผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากที่สุด
Gen Y จังหวัดที่มีสัดส่วนร้อยละผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากที่สุด
Gen X จังหวัดที่มีสัดส่วนร้อยละผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากที่สุด
Baby Boomers จังหวัดที่มีสัดส่วนร้อยละผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากที่สุด
Silent จังหวัดที่มีสัดส่วนร้อยละผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากที่สุด
ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าแทบจะทุกพรรคการเมืองให้ความสำคัญกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก (First Voter) เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคการเมือง หรือผู้สมัครรายใดมาก่อน โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนนักศึกษา หรือผู้ที่เริ่มเข้าทำงาน ซึ่งที่ผ่านมา ติดตามความเคลื่อนไหวทางการเมืองจากโซเชียลมีเดีย และกิจกรรมทางสังคมต่างๆ กลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก จึงค่อนข้างกระตือรือล้นในการมีส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่ากลุ่มอื่น หากสามารถซื้อใจผู้มีสิทธิ์กลุ่มนี้ได้ พรรคการเมืองต่างๆ ก็จะมีฐาน “แฟนคลับ” ในระยะยาว ซึ่งจะส่งผลดีต่อการดำเนินกิจกรรมต่างของแต่ละพรรค
และด้วยจำนวนที่คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 10% ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมด พลังของ First Voter จึงนับเป็นตัวแปรสำคัญที่จะชี้ผลแพ้ชนะของการเลือกตั้งได้ โดยเฉพาะในเขตเมือง ที่มีความอ่อนไหวเรื่องข้อมูลสูง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก จึงเป็นพลังทางการเมืองที่ทุกฝ่ายไม่สามารถมองข้ามได้
ข้อมูลอ้างอิง
1. จำนวนประชากรจากจำนวนประชากรไทยที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแยกรายอายุรายเดือน ธันวาคม 2565 สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง
2. ดูข้อมูลพื้นฐานได้ที่ rocketmedialab