svasdssvasds

เลือกตั้ง 2566 วันที่ 14 พ.ค. เลือกนายกใหม่ กาบัตรพร้อมกันทั่วประเทศ

เลือกตั้ง 2566 วันที่ 14 พ.ค. เลือกนายกใหม่ กาบัตรพร้อมกันทั่วประเทศ

เลือก2566 วันไหน มีคำตอบแล้ว! "กกต." มีมติ กำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปตรงกับวันอาทิตย์ที่ "14 พ.ค.66" พร้อมไทม์ไลน์ กำหนดวันรับสมัครเลือกตั้งส.ส.ระบบเขต และวันหย่อนบัตรเลือกตั้งล่วงหน้า เตรียมประกาศลง"ราชกิจจาฯ"

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะออกประกาศภายใน 5 วันนับแต่วันที่มีประกาศยุบสภาฯ ล่าสุด กกต. กำหนดวันเลือกตั้ง วันที่ 14 พ.ค. 2566 

ทั้งนี้"คณะกรรมการการเลือกตั้ง" (กกต.) ได้มีการประชุมเพื่อกำหนดวันเลือกตั้งภายหลัง มีประกาศ"พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร 2566" ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ วันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา

ตามกฎหมายเลือกตั้ง ได้กำหนดให้ กกต. ต้องประกาศ ภายใน 5 วัน   ดังนี้  1. กำหนดวันเลือกตั้ง 2. กำหนดวันรับสมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่า 5 วัน 3.กำหนดสถานทีที่พรรคการเมืองจะส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ

ทั้งนี้ กกต. มีมติกำหนดให้วันเลือกตั้ง เป็น"วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566"  ซึ่งจะมีการประกาศลงราชกิจจานุเบกษาต่อไป 

สำหรับกำหนดวันรับสมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขต  

พร้อมกันนี้ "กกต."ได้แจกแจงไทม์ไลน์ "การเลือกตั้งทั่วไป" ตั้งแต่วันรับสมัครรับเลือกตั้ง ไปจนถึงวันเลือกตั้ง และประกาศผลเลือกตั้งดังนี้ 

กำหนดการเลือกตั้ง 2566  รับสมัครส.ส. วันไหน ใช้สิทธิ์ล่วงหน้าวันไหน ? เช็กเลย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ เมื่อมีพระราชกฤษฎีกา"ยุบสภา"แล้ว ตามกฎหมาย กกต. จะต้องประกาศกำหนดวันเลือกตั้ง และวันรับสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ภายใน 5 วัน นับแต่วันยุบสภา โดยช่วงเวลาของการเปิดรับสมัคร คือ 5 วัน

ได้โดยวันแรกจะเปิดรับสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตก่อน จากนั้นจะเป็นการเปิดรับสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ 

หากพรรคไหนไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขต จะไม่สามารถส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อได้ ฉะนั้น พรรคการเมืองจึงต้องส่งผู้สมัครแบบแบ่งเขตอย่างน้อยหนึ่งเขต เพื่อรักษาสิทธิในการส่งผู้สมัครปาร์ตี้ลิสต์

หลังจากปิดรับสมัครแล้วภายใน 7 วัน กกต.จะประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.ทั้งหมด จากนั้น กกต.จะต้องประกาศหน่วยเลือกตั้ง สถานที่เลือกตั้ง และประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ประชาชนได้ทราบก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 25 วัน จากนั้นจะส่งหนังสือแจ้งเจ้าบ้านให้ตรวจสอบรายชื่อ ก่อนถึงวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20 วัน
 

โดยเราสามารถตรวจเช็กดูได้ว่า ชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในทะเบียนบ้านของตนเองครบหรือไม่ มีชื่อใครขาดหรือเกินมาหรือไม่ ถ้ามีชื่อใครขาดหรือเกินมา เจ้าบ้านสามารถแจ้งเพิ่มหรือถอนชื่อ ก่อนถึงวันเลือกตั้งได้ไม่น้อยกว่า 10 วัน โดยให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น

ขณะเดียวกัน "กกต." จะต้องสรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งให้เรียบร้อยก่อนถึงวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20 วัน และหากมีการเปลี่ยนแปลงหน่วยเลือกตั้งหรือสถานที่ลงคะแนน จะต้องแจ้งให้ประชาชนทราบก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10 วันด้วย

สำหรับผู้ที่ต้องการใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าต้องลงทะเบียนหลังจาก กกต. ประกาศวันเลือกตั้งล่วงหน้าแล้ว และไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันนั้นเพียงวันเดียว

ส่วนกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ สามารถทำหนังสือแจ้งเหตุที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านภายใน 7 วัน ก่อนหรือหลังวันเลือกตั้ง
 

related