svasdssvasds

KTC ส่งไม้ต่อทีมบริหารรุ่นใหม่ หวังกำไร 1 หมื่นล้านบาท ชูความปลอดภัย และไอที

KTC ส่งไม้ต่อทีมบริหารรุ่นใหม่ หวังกำไร 1 หมื่นล้านบาท ชูความปลอดภัย และไอที

KTC จัดทัพองค์กรใหม่ กับเป้าหมายใหญ่ กำไร 10,000 ล้าน ปักธงพัฒนา 3 แกนหลัก “คน-กระบวนการ-เทคโนโลยี” ดึง AI ช่วยให้สมาชิกสบายขึ้น

เคทีซี หรือบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ส่งไม้ต่อกลุ่มผู้บริหารรุ่นใหม่ดีเอ็นเอเดิม “The story continues…the next journey begins” มุ่งพัฒนา  “คน-กระบวนการ-เทคโนโลยี” โดยดึงเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) และ RPA (Robotic Process Automation) เข้ามาช่วยทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านหวังเพิ่ม ความสะดวกสบายและความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานสูงสุดพร้อมเดินหน้าสู่เป้าหมายทำกำไรนิวไฮต่อเนื่อง

ตั้งเป้า “บัตรเครดิตเคทีซี” โต 15% ส่วน“สินเชื่อส่วนบุคคล” ตั้งเป้าโต 5% “เคทีซี พราว” เพิ่มขึ้น 100,000 ราย “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” พร้อมอนุมัติที่ 6,000 ล้านบาทด้าน “MAAI by KTC” จะขยายจำนวนพันธมิตรและเพิ่มจำนวนสมาชิกใหม่อีก 2 ล้านราย 

KTC ส่งไม้ต่อทีมบริหารรุ่นใหม่ หวังกำไร 1 หมื่นล้านบาท ชูความปลอดภัย และไอที นายระเฑียร ศรีมงคล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในปี2567 จะมีประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) คนใหม่ คือ คุณพิทยา วรปัญญาสกุล ที่ร่วมงานกับเคทีซีมายาวนานถึง26 ปี และจะเริ่มบทบาท CEO ใหม่ในวันที่ 1 มกราคม 2567 นี้ รวมทั้งทีมผู้บริหารระดับสูงในสายงานต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นคนที่ร่วมงานกับเคทีซีมายาวนาน ที่สำคัญมีดีเอ็นเอของความเป็นเคทีซีอยู่เต็มเปี่ยม จึงทำให้มั่นใจได้ว่าทีมบริหารชุดใหม่นี้ จะสามารถส่งต่อและสานต่อหน้าที่และภารกิจสำคัญของเคทีซีให้สำเร็จได้อย่างราบรื่นต่อเนื่อง”

คุณพิทยา​ วรปัญญาสกุล ว่าที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เคทีซี 

 

“การนำพาธุรกิจเคทีซีต่อจากนี้จะตั้งอยู่บน 3 องค์ประกอบคือ คน-กระบวนการ-เทคโนโลยี พร้อมมุ่งหน้าเป้าหมายเดิมกำไร 1 หมื่นล้านบาท” คุณพิทยา​ วรปัญญาสกุล ว่าที่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เคทีซี พูดถึงการรับไม้ต่อพร้อมแสดงทิศทางของเคทีซีในปี 2567 ภายใต้การบริหารของทีมชุดใหม่ พร้อมกล่าวว่า “จะยังคงรักษาดีเอ็นเอและ วัฒนธรรมองค์กรที่ดีของเคทีซีเอาไว้ ซึ่งจะเป็นข้อได้เปรียบในการทำธุรกิจ ที่คนเคทีซียึดถือเป็นแนวทางในการทำงาน ได้แก่ 1. กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง 2. ทำให้ง่าย ไม่ซับซ้อน และ 3. ทำสิ่งที่มีความหมายและเป็นประโยชน์ รวมทั้งปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรแห่งความไว้วางใจ (Trusted Organization) เพื่อส่งต่อความเชื่อมั่นจากภายในเคทีซีไปสู่สมาชิก องค์กร ผู้ถือหุ้นและสังคม”  

“เคทีซียังมองเห็นโอกาสในการเติบโตของธุรกิจสินเชื่อทั้ง 3 ธุรกิจ คือ 1.ธุรกิจบัตรเครดิต 2.สินเชื่อบุคคล และ 3. สินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” 

 

“เคทีซียังเล็งเห็นโอกาสในการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาเพิ่มศักยภาพขององค์กร  ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงวิธีการที่ปัจจุบันเคทีซีได้ใช้ AI อยู่แล้วให้ใช้งานได้ดีขึ้น  หรือการเริ่มศึกษาทดลองและใช้ Generative AI ในกระบวนการทำงานต่างๆ ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อสมาชิก หรือเพื่อปรับปรุงคุณภาพของพอร์ตสินเชื่อ”

คุณประณยา​ นิถานานนท์  ผู้บริหารสูงสุด สายงานการตลาดบัตรเครดิต

ธุรกิจบัตรเครดิตเคทีซี ตั้งเป้ามีสมาชิกบัตรใหม่เพิ่มขึ้น 230,000 ใบ และมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรฯ เติบโต 15%  โดยตอนนี้มีอัตราการใช้บัตรสูงถึง 90% ส่วนปี 2567 จะเน้นเรื่องความปลอดภัยด้วยการพัฒนาแอปฯ “KTC Mobile”รวมทั้งต่อยอดผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต “เคทีซี ดิจิทัล” (KTC DIGITAL CREDIT CARD) ให้ตอบโจทย์การใช้งานออนไลน์มากขึ้น และยังคงเน้นทำการตลาดในกลุ่มผู้มีรายได้ต่อเดือน 50,000 บาทขึ้นไป

 

 

คุณพิชามน​ จิตรเป็นธรรม ผู้บริหารสูงสุด สายงานสินเชื่อบุคคล สินเชื่อส่วนบุคคล”  ตั้งเป้าเติบโต 5% จำนวนสมาชิกบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” เพิ่มขึ้น 100,000 ราย ด้วยแผนกลยุทธ์หลัก 2 เรื่อง คือ 1. เพิ่มสมาชิกใหม่ผ่านช่องทางออนไลน์ E-Application 2. สร้างประสบการณ์ดีดี เช่นจัดแคมเปญ “เคลียร์หนี้เกลี้ยง” ที่โดนใจสมาชิกมาตลอด 10 กว่าปี

คุณเรือนแก้ว​ เกษมสวัสดิ์ศรี ผู้บริหารสูงสุด สายงานสินเชื่อรถยนต์ เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” ตั้งเป้ายอดอนุมัติสินเชื่อใหม่ปี 2567 ที่ 6,000 ล้านบาท โดยจะเน้นสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ผ่านสาขาธนาคารมากกว่า 900 แห่งเป็นหลัก พร้อมตอกย้ำและเสริมความแกร่งในฐานะผู้บริการรายเดียวที่ให้วงเงินใหญ่สูงสุด 1 ล้านบาท อนุมัติสินเชื่อภายใน 1 ชั่วโมง พร้อมรับเงินทันที และยังขยายฐานไปยังผลิตภัณฑ์ใหม่ “สินเชื่อทะเบียนรถบิ๊กไบค์ เคทีซี พี่เบิ้ม” พร้อมบัตรกดเงินสด เคทีซี พี่เบิ้ม อีกด้วย” 

คุณอุษณีย์​ เลาหะวรนันท์ ผู้บริหารสูงสุด สายงานสื่อสารการตลาดและธุรกิจ MAAI​

MAAI by KTC" ในปี 2567 มีแผนจะขยายจำนวนพันธมิตรธุรกิจขนาดกลางและใหญ่อีกไม่ต่ำกว่า 20 ราย ซึ่งจะเป็นการเพิ่มจำนวนสมาชิก MAAI ประมาณ 2 ล้านราย  โดยพันธมิตรเป้าหมายของแพลทฟอร์ม MAAI จะอยู่ในกลุ่มธุรกิจที่เน้นสร้างความถี่ในการกลับมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการซ้ำ และยังมีการนำเสนอโมเดลบริการที่หลากหลายช่วยพันธมิตรร้านค้าบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า

นอกจากนี้ จากการที่ ธปท.มีการปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบายหลาบรอบและสุดท้ายขึ้นมาที่ 2.5%  ดังนั้นในส่วนของการบริหารต้นทุนทางการเงิน ในปี 2567 เคทีซีจะยังคงรักษาระดับให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยมีแผนจะระดมเงินกู้ยืมระยะยาวประมาณ 13,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของพอร์ตสินเชื่อ รวมถึงรองรับหุ้นกู้และเงินกู้ยืมระยะยาวที่จะครบกำหนดประมาณ 11,850 ล้านบาท ทำให้สัดส่วนเงินกู้ยืมระยะสั้นต่อเงินกู้ยืมระยะยาว (Original Term) อยู่ทีประมาณ 20:80 และต้นทุนทางการเงินอยู่ที่ประมาณ 3.1% สูงขึ้นจากสิ้นปี 2566 คาดว่าจะอยู่ที่ 2.8% และมีกรอบอยู่ที่ไม่เกิน3.1% ในปีหน้า