svasdssvasds

นิด้าโพล คาดการณ์ผล #เลือกตั้ง66 เพื่อไทย-ก้าวไกล-ภูมิใจไทย ครอง 3 อันดับแรก

นิด้าโพล คาดการณ์ผล #เลือกตั้ง66 เพื่อไทย-ก้าวไกล-ภูมิใจไทย ครอง 3 อันดับแรก

นิด้าโพล สำรวจผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ พบ เพื่อไทย-ก้าวไกล-ภูมิใจไทย-พลังประชารัฐ-รวมไทยสร้างชาติ ครอง 5 อันดับพรรคการเมืองที่ประชาชนชาวไทยที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปตัดสินใจเลือก ด้านสส.เขต "ก้าวไกล" คาดครองทุกเขต

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) คาดการณ์ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 2566 

โดยคะแนนคาดการณ์ของพรรคการเมืองนั้น มีการคาดการณ์จำนวน ส.ส. รวมแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ ผลปรากฏว่า

  • พรรคเพื่อไทย คาดว่าจะได้ส.ส.จำนวน 164 - 172 คน
  • พรรคก้าวไกล คาดว่าจะได้ส.ส.จำนวน 80-88 คน
  • พรรคภูมิใจไทย คาดว่าจะได้ส.ส.จำนวน 72-80 คน
  • พรรคพลังประชารัฐ คาดว่าจะได้ส.ส.จำนวน 53-61 คน

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

ทางด้านของอันดับรองลงมา ประกอบด้วย

  • พรรครวมไทยสร้างชาติ คาดว่าจะได้ส.ส.จำนวน 45-53 คน
  • พรรคประชาธิปัตย์ คาดว่าจะได้ส.ส.จำนวน 33-41 คน
  • พรรคชาติไทยพัฒนา คาดว่าจะได้ส.ส.จำนวน 7-11 คน
  • พรรคไทยสร้างไทย คาดว่าจะได้ส.ส.จำนวน 5-9 คน
  • พรรคประชาชาติ คาดว่าจะได้ส.ส.จำนวน 4-8 คน
  • พรรคชาติพัฒนากล้า คาดว่าจะได้ส.ส.จำนวน 2-6 คน
  • พรรคเสรีรวมไทย คาดว่าจะได้ส.ส.จำนวน 0-1 คน
  • อื่น ๆ คาดว่าจะได้ส.ส.จำนวน 0-2 คน

ภาพจากเฟซบุ๊กของ นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวานิชย์  ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขตลาดกระบัง (ยกเว้นแขวงลำปลาทิว) 

ทางด้านของส.ส.กทม.แบบเขตเลือกตั้งทั้ง 33 เขตนั้น คาดว่า พรรคก้าวไกลจะครองทุกเขตและเขตเลือกตั้งที่ 20 ของพรรคเพื่อไทย จะได้รับชัยชนะ โดยเมื่อเช็กเขตเลือกตั้งที่ 20 นั้น ปรากฏรายชื่อของ นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวานิชย์  ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขตลาดกระบัง (ยกเว้นแขวงลำปลาทิว) 

  1. เขตเลือกตั้งที่ 1    พรรคก้าวไกล
  2. เขตเลือกตั้งที่ 2    พรรคก้าวไกล
  3. เขตเลือกตั้งที่ 3    พรรคก้าวไกล
  4. เขตเลือกตั้งที่ 4    พรรคก้าวไกล
  5. เขตเลือกตั้งที่ 5    พรรคก้าวไกล
  6. เขตเลือกตั้งที่ 6    พรรคก้าวไกล
  7. เขตเลือกตั้งที่ 7    พรรคก้าวไกล
  8. เขตเลือกตั้งที่ 8    พรรคก้าวไกล
  9. เขตเลือกตั้งที่ 9    พรรคก้าวไกล
  10. เขตเลือกตั้งที่ 10    พรรคก้าวไกล
  11. เขตเลือกตั้งที่ 11    พรรคก้าวไกล
  12. เขตเลือกตั้งที่ 12    พรรคก้าวไกล
  13. เขตเลือกตั้งที่ 13    พรรคก้าวไกล
  14. เขตเลือกตั้งที่ 14    พรรคก้าวไกล
  15. เขตเลือกตั้งที่ 15    พรรคก้าวไกล
  16. เขตเลือกตั้งที่ 16    พรรคก้าวไกล
  17. เขตเลือกตั้งที่ 17    พรรคก้าวไกล
  18. เขตเลือกตั้งที่ 18    พรรคก้าวไกล
  19. เขตเลือกตั้งที่ 19    พรรคก้าวไกล
  20. เขตเลือกตั้งที่ 20    พรรคเพื่อไทย
  21. เขตเลือกตั้งที่ 21    พรรคก้าวไกล
  22. เขตเลือกตั้งที่ 22    พรรคก้าวไกล
  23. เขตเลือกตั้งที่ 23    พรรคก้าวไกล
  24. เขตเลือกตั้งที่ 24    พรรคก้าวไกล
  25. เขตเลือกตั้งที่ 25    พรรคก้าวไกล
  26. เขตเลือกตั้งที่ 26    พรรคก้าวไกล
  27. เขตเลือกตั้งที่ 27    พรรคก้าวไกล
  28. เขตเลือกตั้งที่ 28    พรรคก้าวไกล
  29. เขตเลือกตั้งที่ 29    พรรคก้าวไกล
  30. เขตเลือกตั้งที่ 30    พรรคก้าวไกล
  31. เขตเลือกตั้งที่ 31    พรรคก้าวไกล
  32. เขตเลือกตั้งที่ 32    พรรคก้าวไกล
  33. เขตเลือกตั้งที่ 33    พรรคก้าวไกล

วิธีการเก็บคะแนนประกอบด้วย

  1. ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 1-11 พฤษภาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้ง กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
  2. การวิเคราะห์สื่อ (Media Analysis) และการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเมือง โดยใช้ผลการสำรวจ (โพล) ประกอบการวิเคราะห์ เพื่อคาดการณ์จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส) รวมแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง ผลการวิเคราะห์ค้นพบ
related