svasdssvasds

เตือนภัย! สูดดม "ก๊าซพิษ" สายหมูจุ่ม-ปิ้งย่างต้องรู้ เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

เตือนภัย! สูดดม "ก๊าซพิษ" สายหมูจุ่ม-ปิ้งย่างต้องรู้ เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

เตือนภัย! สายหมูจุ่มปิ้งย่าง เสี่ยงสูดดม "ก๊าซพิษ" ควันจากเตาถ่าน ทำให้เกิดควันไฟ ซึ่งมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ CO กระจายออกมา เมื่อสูดหายใจเข้าไป อาจทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน หมดสติ หรือเสียชีวิตได้

 อาหารประเภทปิ้งย่างอย่างหมูจุ่ม หรือแม้แต่เนื้อกระทะเป็นอาหารที่โดนใจของหลายๆ คน ถึงขนาดไปกินได้ทุกสัปดาห์ แต่รู้หรือไม่ว่า อันตรายจากหมูจุ่มและอาหารปิ้งย่างก็เกิดได้เช่นกัน โดยเฉพาะควันจากเตาถ่าน 

 ล่าสุดเพจเฟซบุ๊ก กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ได้แจ้งเตือนภัย สายหมูจุ่มปิ้งย่าง เสี่ยงสูดดมก๊าซพิษ อาจเสียชีวิตได้ โดยระบุว่า 

 รู้หรือไม่ ควันจากเตาถ่านที่ประกอบอาหาร หลังจากเกิดการเผาไหม้ ทำให้เกิดควันไฟ ซึ่งมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ CO กระจายออกมาได้

ก๊าซชนิดนี้ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เกิดขึ้นจากการเผาไหม้คาร์บอนที่ไม่สมบูรณ์ในเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ไม้ ถ่านชาร์โคล หรือเชื้อเพลิงอื่น ๆ

 หากเรากินเมนูหมูจุ่ม หรือปิ้งย่างด้วยเตาถ่านในพื้นที่ปิด เช่น ห้องที่จำกัด ห้องแอร์ หรือห้องที่อับทึบ การระบายอากาศไม่ดี ทำให้เกิดควันไฟ เมื่อสูดหายใจเอาก๊าซ 2 ชนิดนี้เข้าไป อาจทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน หมดสติ หรือเสียชีวิตได้ ซึ่งเป็นอันตราย ไม่ต่างจากการรมควันในรถยนต์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• 10 คนดัง ปล่อยคาร์บอน Co2 สร้างมลพิษสูงสุดใช้เครื่องบินเจ็ตส่วนตัว ปี 2022

• สั่งอพยพชาวฮาวายต่อเนื่อง หวั่นก๊าซพิษจากภูเขาไฟเป็นอันตรายถึงชีวิต

• บรรลุข้อตกลง! บริษัทรถเยอรมนีลดปล่อย "ก๊าซพิษ" สู่ชั้นบรรยากาศ

เตือนภัย! สูดดม "ก๊าซพิษ" สายหมูจุ่มปิ้งย่างระวัง เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

ผลกระทบต่อสุขภาพของ คาร์บอนไดออกไซด์ CO2 และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ CO มีตั้งแต่ระดับเบาไปถึงระดับรุนแรง ดังนี้

• ปวดหัว วิงเวียน หน้ามืด

• คลื่นไส้ อาเจียน

• เจ็บหน้าอก หายใจไม่สะดวก

• เหนื่อย เพลีย อ่อนแรง

• ชักเกร็ง ตาพร่ามัว

• หมดสติ และเสียชีวิต

* ผู้ที่มีโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะมีความเสี่ยงกับการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ง่ายกว่าคนปกติ

.

วิธีเลือกร้านอาหารประเภทจิ้มจุ่ม-ปิ้งย่าง “การระบายอากาศที่ดี” เป็นสิ่งสำคัญ ดังนี้

• หลีกเลี่ยงการใช้เตาถ่านในพื้นที่ปิด เช่น ห้อง indoor ห้องอับทึบ ร้านอาหารห้องแอร์ หรือเต้นท์ที่พัก

• ห้องอาหารควรมีช่องระบายอากาศหรือพัดลมระบายอากาศที่เพียงพอ ป้องกันการสะสมของควันพิษ

• การใช้เตาถ่านในการประกอบอาหาร ควรอยู่ในที่โล่ง อากาศถ่ายเทสะดวก ลดปริมาณควันพิษบริเวณรอบๆ ตัว

 นอกจากรสชาติที่อร่อย ราคาคุ้มค่า ความสะอาดและสุขอนามัยแล้ว ขอให้เพิ่มข้อพิจารณาเรื่องการระบายอากาศที่ดี เพราะแค่ควันจากเมนูปิ้งย่าง ก็มีอันตรายต่อสุขภาพได้เช่นกัน 

ที่มา : กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม

related