svasdssvasds

"หมายเรียก-หมายจับ-หมายค้น" คืออะไร ใครมีอำนาจออกหมาย ถ้าได้รับต้องทำไง

"หมายเรียก-หมายจับ-หมายค้น" คืออะไร ใครมีอำนาจออกหมาย ถ้าได้รับต้องทำไง

หมายเรียก หมายจับ หมายค้น คืออะไร ใครบ้างที่มีอำนาจออกหมายเหล่านี้ เพราะสาเหตุใดถึงต้องออกหมาย และหากได้รับหมายต้องปฏิบัติอย่างไร  

เคยสงสัยกันบ้างหรือไม่ ตอนที่ดูข่าวเกี่ยวกับคดีอาชญากรรม คดีฆาตกรรม มักจะมีบุคคลที่เกี่ยวข้องเช่น ตำรวจ คนร้าย ผู้ต้องสงสัย ผู้ต้องหา ฯลฯ โดยมักจะมีคำที่เราจะได้ยินกันบ่อยๆ เช่น หมายเรียก หมายจับ หมายค้น

ใครบ้างที่มีอำนาจออก หมายเรียก หมายจับ หมายค้น และเพราะเหตุใด? ต้องออกหมาย และต้องปฏิบัติอย่างไร 

“หมายเรียก” คืออะไร 

หมายเรียก” ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กล่าวคือ “การที่จะให้บุคคลใดมาที่พนักงานสอบสวน หรือมาที่พนักงานฝ่ายปกครอง,ตำรวจ, หรือมาศาล เนื่องในการสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณาคดี หรือการอย่างอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ จักต้องมีหมายเรียกของพนักงานสอบสวน หรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือของศาลแล้วแต่กรณี

คดีอาญา มีกระบวนการเบื้องต้น ได้แก่ การสอบสวนของตำรวจ การไต่สวนมูลฟ้องของศาล และการพิจารณาคดีของศาล เพราะฉะนั้นโดยในขั้นตอนการสอบสวนของตำรวจ เจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีอำนาจในการเรียกผู้ต้องหามาสอบสวนได้ทันที โดยไม่ต้องขออนุมัติจากศาล

"หมายเรียก-หมายจับ-หมายค้น" คืออะไร ใครมีอำนาจออกหมาย ถ้าได้รับต้องทำไง

หากบุคคลที่ถูกหมายเรียกไม่มาตามหมายเรียก ต้องแจ้ง “เหตุอันควร” เหตุผลที่ไม่สามารถมาตามหมายเรียกนั้นได้ต่อเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นจะถือว่าท่านมีเจตนาจะหลบหนี และอาจถูกออกหมายจับได้

เหตุที่จะออกหมายเรียกได้

  1. เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญา ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปี
  2. เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญา และมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือ จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือ ก่อเหตุอันตรายประการอื่น

 

เมื่อได้รับ "หมายเรียก" ควรทำอย่างไร ?

  1. เมื่อได้รับหมายเรียกควรอ่านหมายให้ละเอียด ว่าเป็นหมายเรียกครั้งที่เท่าไร เป็นหมายเรียกผู้ต้องหาให้ไปรับทราบข้อกล่าวหา หรือเป็นหมายเรียกพยาน หากมีข้อสงสัยให้โทรศัพท์สอบถามตามเบอร์โทรศัพท์ของพนักงานสอบสวนที่ระบุไว้ในหมาย ในหมายเรียกจะระบุวันที่ที่เรียกให้ท่านไปพบ หากไม่สามารถไปตามหมายได้ ให้โทรศัพท์แจ้งพนักงานสอบสวนและส่งหนังสือแจ้งขอเลื่อนนัดก่อนวันที่ที่ระบุในหมาย
  2. ควรปรึกษาทนายความ และไปพบพนักงานสอบสวนพร้อมทนายความหรือบุคคลที่ไว้ใจ
  3. หากได้รับหมายเรียกครั้งที่ 1 แล้วไม่ไปตามหมาย พนักงานสอบสวนจะออกหมายเรียกครั้งที่ 2 และหากไม่ไปตามหมายเรียกครั้งที่ 2 อาจถูกออกหมายจับได้
  4. กรณีมีหมายเรียก พนักงานตำรวจไม่มีอำนาจควบคุมตัว

“หมายจับ” คืออะไร 

หมายจับ” คือ หนังสือที่ศาลอนุญาตให้จับผู้ต้องหาหรือจำเลย ผู้ที่มีอำนาจออกหมายจับคือ ศาล ดังนั้น หากพนักงานสอบสวนต้องการหมายจับผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนหรือพนักงานฝ่ายปกครองต้องขอหมายจับจากศาลก่อน ในกรณีที่ผู้ถูกออกหมายเรียกประวิงเวลา ไม่มาตามหมายเรียกโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือ ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแห่ง ก็อาจถูกออกหมายจับได้เช่นเดียวกัน

"หมายเรียก-หมายจับ-หมายค้น" คืออะไร ใครมีอำนาจออกหมาย ถ้าได้รับต้องทำไง

เหตุที่จะออกหมายจับได้

  • เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ
  • เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น
  • ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี
  • มาตรา 67  จะออกหมายจับบุคคลที่ยังไม่รู้จักชื่อก็ได้แต่ต้องบอกรูปพรรณของผู้นั้นให้ละเอียดเท่าที่จะทำได้
  • มาตรา 68  หมายจับคงใช้ได้อยู่จนกว่าจะจับได้ เว้นแต่ความผิดอาญาตามหมายนั้นขาดอายุความหรือศาลซึ่งออกหมายนั้นได้ถอนหมายคืน

"หมายค้น” คืออะไร 

"หมายค้น” เป็นหนังสือในการดำเนินคดีอาญาของเจ้าพนักงานและศาล โดยต้องขออนุมัติจากศาลก่อน มีความจำเป็นสำหรับ “การค้นในที่รโหฐาน ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะเข้าตรวจค้น ต้องแสดงหมายค้นและตรวจค้นต่อหน้าเจ้าของอีกทั้ง เวลาที่เข้าทำการตรวจค้น ต้องเป็นเวลากลางวัน (ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้น ถึง พระอาทิตย์ตก)

"หมายเรียก-หมายจับ-หมายค้น" คืออะไร ใครมีอำนาจออกหมาย ถ้าได้รับต้องทำไง

เหตุที่สามารถออกหมายค้นได้

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 69 เหตุที่จะออกหมายค้นได้มีดังต่อไปนี้

  1. เพื่อพบและยึดสิ่งของซึ่งจะเป็นพยานหลักฐานประกอบการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา
  2. เพื่อพบและยึดสิ่งของซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยผิดกฎหมาย หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้หรือตั้งใจจะใช้ในการกระทำความผิด
  3. เพื่อพบและช่วยบุคคลซึ่งได้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
  4.  เพื่อพบบุคคลซึ่งมีหมายให้จับ
  5. เพื่อพบและยึดสิ่งของตามคำพิพากษาหรือตามคำสั่งศาล ในกรณีที่จะพบหรือจะยึดโดยวิธีอื่นไม่ได้แล้ว

วัตถุประสงค์ของการออกหมายค้น

จากรายละเอียดของ มาตรา 69 การตรวจค้นสถานที่ซึ่งเป็นที่รโหฐาน เป็นการกระทำที่กระทบต่อสิทธิ์และเสรีภาพของบุคคล จึงสรุปวัตถุประสงค์ของการออกหมายค้นได้ 3 ประการ คือ

  1. การค้นเพื่อพบและยึดสิ่งของ
  2. การค้นเพื่อช่วยเหลือบุคคล
  3. การค้นเพื่อจับกุมผู้มีหมายจับ

บุคคลใดมีอำนาจออกหมายค้น?

ผู้มีอำนาจออกหมายค้นคือ ศาล โดยศาลจะออกหมายค้นตามที่ศาลเห็นสมควร หรือตามที่มีผู้ร้องขอ ซึ่งการออกหมายค้นนี้เป็นไปเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมอันก่อให้เกิดความยุติธรรมกับบุคคลทุกๆ ฝ่าย

หมายค้น ต้องมีรายละเอียดอะไรบ้าง?

กรณีที่มีการออกหมายค้น จะต้องทำเป็นหนังสือและมีข้อความดังต่อไปนี้

  1. สถานที่ที่ออกหมาย
  2. วันเดือนปีที่ออกหมาย
  3.  เหตุที่ต้องออกหมาย
  4. ระบุสถานที่ที่จะค้น ชื่อหรือรูปพรรณบุคคล หรือลักษณะสิ่งของที่ต้องการค้น กำหนดวันเวลาที่จะทำการค้น และชื่อกับตำแหน่งของเจ้าพนักงานผู้จะทำการค้น
  5. ระบุความผิด หรือวิธีการเพื่อความปลอดภัย
  6. ลายมือชื่อและประทับตราของศาล

ควรทำอย่างไรเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจนำหมายค้นมาที่บ้าน

  1. การค้นต้องอยู่ในช่วงเวลากลางวันและมีตำรวจยศตั้งแต่ชั้นร้อยตำรวจตรีขึ้นไปควบคุมการค้น
  2. ขอดูหมายค้น และตรวจรายละเอียดต่างๆ ในหมายค้น
  3.  สอบถามชื่อ ตำแหน่ง สังกัดของเจ้าหน้าที่ พร้อมจดรายละเอียด บุคลิกลักษณะเด่น และจำนวนเจ้าหน้าที่ที่เข้าตรวจค้น
  4. อย่าปล่อยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจค้นตามใจชอบ ให้คอยสอดส่องประกบดูแลอย่างใกล้ชิด และตรวจค้นไปทีละห้อง
  5. ถ่ายรูปเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้เพื่อเช็กการเป็นเจ้าหน้าที่จริง หรือเป็นหลักฐานว่ามีบุคคลนั้นเข้ามาตรวจค้น
  6. หากถ่ายวิดีโอขณะเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นไว้ได้ก็ยิ่งดี
  7. เมื่อการตรวจค้นสิ้นสุด ควรให้เจ้าหน้าที่ลงชื่อในบันทึกการค้นไว้เป็นหลักฐาน
  8. หากมีข้าวของเสียหายจากการตรวจค้นโดยเจ้าหน้าที่ สามารถฟ้องทางแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายได้

ที่มา : กระทรวงยุติธรรม , สื่อศาล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related