svasdssvasds

กางรายชื่อผู้คัดค้าน รัฐแจก “เงินดิจิทัล” 1 หมื่นบาท ชี้ได้ไม่คุ้มเสีย

กางรายชื่อผู้คัดค้าน รัฐแจก “เงินดิจิทัล” 1 หมื่นบาท ชี้ได้ไม่คุ้มเสีย

นโยบายเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท ยังเป็นประเด็นถกเถียงกันในสังคม ล่าสุดนักวิชาการ-คณาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ นำทีมลงนามในแถลงการณ์ 99 นักวิชาการ ลงชื่อเรียกร้องให้ยกเลิกนโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท พร้อมความคิดเห็น 7 ข้อ

นโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่รัฐบาลกำลังเดินหน้า เป้าหมายเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อ เพิ่มการจับจ่ายของประชาชน แต่…ก็มีทั้งเสียงเห็นด้วย และไม่เห็นด้วยจากภาคประชาชน และนักวิชาการ ต่างฝ่ายต่างมองหลายเห็นผลที่แตกต่างกันออกไป บางฝ่ายมองว่าดี บางฝ่ายมองว่าไม่ดี ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวเรื่องการลงชื่อค้าน แจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต

โดยมีนักวิชาการ-คณาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ นำทีมลงนามในแถลงการณ์ 99 ลงชื่อเรียกร้องให้ยกเลิกนโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท หนึ่งในผู้ที่มาลงชื่อลงชื่อค้าน มีนาย นายวิรไท สันติประภพ และนางธาริษา วัฒนเกส สองอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมลงชื่อพร้อมออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิก "นโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท" เนื่องจากเป็นนโยบายที่ได้ไม่คุ้มเสีย จึงเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท แก่ผู้ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป เพราะประโยชน์ที่ประเทศจะได้นั้นน้อยกว่าต้นทุนที่เสียไป และสร้างบรรทัดฐานให้มีการแจกเงินเพื่อกระตุ้นให้คนจับจ่ายใช้สอยระยะสั้นๆ โดยไม่คำนึงถึงวินัยและเสถียรภาพทางการคลังในระยะยาว และควรทำแบบเฉพาะเจาะจง เช่น ผู้มีรายได้น้อย

พร้อมกันนี้มีนักวิชาการและคณาจารณ์คณะเศรษฐศาสตร์ 99 คนร่วมด้วย พร้อมผู้ร่วมลงชื่ออื่นๆ เช่น รศ.ดร.อัจนา ไวความดี อดีตรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย, รศ.ดร.สิริลักษณา คอมันตร์ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์, ดร.บัณฑิต นิจถาวร อดีตรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย, รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์, ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์, ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ทีดีอาร์ไอ

นอกจากนี้ยังมีรายชื่อคนอื่นๆ ดังนี้

ส่องรายชื่่อผู้คัดค้าน

กางรายชื่อผู้คัดค้าน รัฐแจก “เงินดิจิทัล” 1 หมื่นบาท ชี้ได้ไม่คุ้มเสีย

กางรายชื่อผู้คัดค้าน รัฐแจก “เงินดิจิทัล” 1 หมื่นบาท ชี้ได้ไม่คุ้มเสีย

ทั้งนี้ได้มีการชี้แจง 7 ประการ ดังนี้

  • เศรษฐกิจกำลังอยู่ในภาวะฟื้นตัว โดยสำนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.8 ในปี 66 และขยายตัวร้อยละ 3.5 ในปี 67 จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมากเพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ
  • เงินงบประมาณของรัฐมีจำกัด จะมีค่าเสียโอกาส การใช้เงินจำนวน 560,000 ล้านบาท อาจทำให้รัฐเสียโอกาสการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในการสร้าง digital infrastructure หรือการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • การกระตุ้นเศรษฐกิจให้รายได้ประชาชาติ (GDP) ขยายตัว โดยรัฐแจกเงิน 560,000 ล้านบาท เข้าไปในระบบ เป็นการคาดหวังเกิน เพราะงานวิจัยทำให้นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า ตัวทวีคูณทางการคลังที่เกิดจากการใช้จ่ายของรัฐในลักษณะเงินโอนหรือการแจกเงิน มีค่าต่ำกว่า 1 และต่ำกว่าตัวทวีคูณทางการคลัง สำหรับการใช้จ่ายโดยตรงและการลงทุนของภาครัฐ
  • ดอกเบี้ยขาขึ้น เริ่มตั้งแต่ปี 2565 เพราะเงินเฟ้อสูงขึ้นมาก การก่อหนี้จำนวนมาก รัฐต้องมีภาระจ่ายดอกเบี้ยสูงขึ้นในยามที่ต้องชำระคืนหรือกู้ใหม่ จึงมีผลต่อภาระเงินงบประมาณของรัฐในแต่ละปี โดยยังไม่นับเงินค่าดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากการแจกเงินดิจิทัล คนละ 10,000 บาท
  • โลกเผชิญกับวิกฤติโรคระบาดและภาวะเศรษฐกิจถดถอย รัฐบาลแทบทุกประเทศต่างจำเป็นต้องการขาดดุลการคลังและสร้างหนี้จำนวนมาก ต้องลดการขาดดุลภาครัฐและหนี้สาธารณะลง (fiscal consolidation) เพื่อสร้าง ‘พื้นที่ว่างทางการคลัง’เอาไว้รองรับวิกฤติเศรษฐกิจในอนาคต
  • การแจกเงินคนละ 10,000 บาท ให้ทุกคนที่อายุเกิน 16 ปี เป็นนโยบายที่ไม่เป็นธรรม เพราะเศรษฐีและมหาเศรษฐี ที่อายุเกิน 16 ปี จะได้รับเงินช่วยเหลือนี้ด้วยทั้งที่ไม่จำเป็น
  • ประเทศเข้าสู่สังคมสูงวัยเช่นประเทศไทย การเตรียมตัวทางด้านการคลังเป็นสิ่งจำเป็น รัฐควรใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า และรักษาวินัยและเสถียรภาพทางด้านการคลังอย่างเคร่งครัด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related