svasdssvasds

เส้นแบ่งความยากจน คืออะไร ? ต้องมีเงินเดือนเท่าไร ถึงเรียกว่ารวย ?

เส้นแบ่งความยากจน คืออะไร ? ต้องมีเงินเดือนเท่าไร ถึงเรียกว่ารวย ?

เส้นแบ่งความยากจน คืออะไร ? ต้องมีเงินเดือนเท่าไร ถึงเรียกว่ารวย ? แล้วเงินดิจิทัล 10,000 บาท ใครจะได้บ้าง เพราะในความเป็นจริงแล้ว จน-รวย มันเป็นเรื่องความรู้สึก จะใช้เกณฑ์อะไรวัดความจนความรวยกันได้

ประเด็นความรวย ความจน ถือเป็นเรื่องนามธรรมที่วัดได้ยาก เพราะเป็นเรื่องความรู้สึกความพึ่งพอใจ อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องความรวย-จน กลับมาอยู่ในแสงสปอร์ตไลท์ของสังคมอีกครั้ง เพราะเรื่องเงินดิจิทัล 10,000 นโยบายหลักของพรรคเพื่อไทย แกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ที่ดูเหมือนจะมีการปรับเปลี่ยน และ จะคัด "คนรวย" ออก ไม่ให้ได้สิทธิ์ตรงจุดนี้ 

อย่างไรก็ตาม ประเด็น คัดคนรวยออก นั้นถือว่า ยังไม่มีการฟันธง , แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อประเด็น ความจน-ความรวย ถูกจุดขึ้นมาอีกแล้ว , SPRiNG จะไม่ปล่อยให้มันผ่านไป เหมือน "พลุตะไล" ในงานศพ ที่สร้างแสงและดัง เพียงแค่ "วูบ" เดียว 

ดังนั้น จึงอยากชวนมาลองดู หลักเกณฑ์ เทียบเส้นแบ่งความยากจน คนรวยคืออะไร ? คนจนคืออะไร ? ต้องมีเงินเดือนมากเท่าไหร่ถึงเรียกได้ว่ารวยได้ ในประเทศไทย 

ในช่วงที่ผ่านมา เรื่อง เส้นแบ่ง ความยากจน คืออะไร ? ถูกกลับมาพูดถึง เพราะว่า ที่ประชุมอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท มีแนวคิดอาจจะมีการตัดกลุ่มคนรวยออกจากกลุ่มเป้าหมายโครงการ โดยมีข้อเสนอ 3 เงื่อนไข คือ 1.ตัดกลุ่มที่มีรายได้เกิน 25,000 บาทต่อเดือน และหรือมีเงินฝากบัญชี เกิน 100,000 บาท 2.ตัดกลุ่มรายได้เกิน 50,000 บาทต่อเดือน และหรือมีเงินฝากบัญชี เกิน 500,000 บาท 3. ให้เฉพาะกลุ่มยากไร้ 15-16 ล้านคน

จากประเด็นที่ผุดออกมานี้ ทำให้สังคมเกิดคำถามเรื่อง “รวย-จน” อะไรคือความหมายที่แท้จริง โดยเฉพาะนิยามคำว่า “คนรวย” ควรจะมีเงินเดือนมากเท่าใดกันแน่ ?

โดยข้อมูลจากหน่วยงานรัฐ ที่พอจะนำมาเทียบเคียงการนิยาม “รวย-จน” ได้มากที่สุด คือ ข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่มีการวิเคราะห์หลายมิติ โดยสรุปได้ว่า ในปี 2564 ประเทศไทยมีคนจนอยู่ที่ 4,404,616 ล้านคน คิดเป็น 6.32 % ของประชากรทั้งประเทศ

เส้นแบ่งความยากจน คืออะไร ? ต้องมีเงินเดือนเท่าไร ถึงเรียกว่ารวย ?

ส่องบัญชีเงินฝากคนไทย ส่วนใหญ่ไม่ถึง 5 หมื่น แต่เงินดิจิทัล 10,000 ต้องลุ้น

สำหรับเกณฑ์ตัดสินว่าบุคคลนั้นเข้าข่ายจนหรือไม่จน ในปี 2564 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้กำหนดฐานการคิดจากรายได้ต่อเดือนที่ต้องได้ต่ำกว่า 2,802 บาทต่อคนต่อเดือน หรือ 33,624 บาทต่อคนต่อปี

ขณะที่ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้มีการเผยแพร่ สถิติด้านความยากจนและการกระจายรายได้ ซึ่งมีตัวเลขที่น่าสนใจคือ เส้นแบ่งความยากจน (Poverty Line) ปี 2564 ค่าเฉลี่ยทั่วประเทศ 2,803 บาท ต่อคนต่อเดือน

โดยสำหรับข้อมูลสัดส่วนจำนวนคนจนในแต่ละจังหวัดนั้น วัดมาจาก เส้นความยากจน (Poverty Line) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการใช้วัดภาวะความยากจนในประเทศ โดยคำนวณจากต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายของปัจเจกบุคคลในการได้มาซึ่งอาหารและสินค้าบริการที่จำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต

โดยเส้นความยากจนปี 2564 อยู่ที่ 2,803 บาทต่อเดือน ทำให้บุคคลที่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 2,803 บาท ถูกนับว่าเป็นคนจนทันทีตามข้อมูลนี้

โดยจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่
1. จังหวัดปัตตานี มีสัดส่วนคนจนอยู่ที่ 31% ต่อจำนวนประชากรทั้งหมดในจังหวัด
2. จังหวัดกาฬสินธุ์ มีสัดส่วนคนจนอยู่ที่ 25% ต่อจำนวนประชากรทั้งหมดในจังหวัด
3. จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีสัดส่วนคนจนอยู่ที่ 25% ต่อจำนวนประชากรทั้งหมดในจังหวัด

แต่หากจะ จำแนกตามจังหวัด จะแบ่งได้เป็น 

•  กรุงเทพมหานคร ค่าเฉลี่ย 3,308 ต่อคนต่อเดือน

• ภาคกลาง ค่าเฉลี่ย 2,965 ต่อคนต่อเดือน

นครปฐม 2,986 บาท ต่อคนต่อเดือน
นนทบุรี 2,994 บาท ต่อคนต่อเดือน
ปทุมธานี 2,942 บาท ต่อคนต่อเดือน
สมุทรปราการ 2,993 บาท ต่อคนต่อเดือน
สมุทรสาคร 2,983 บาท ต่อคนต่อเดือน
ชัยนาท 2,984 บาท ต่อคนต่อเดือน
พระนครศรีอยุธยา 2,837 บาท ต่อคนต่อเดือน
ลพบุรี 2,904 บาท ต่อคนต่อเดือน
สระบุรี 2,777 บาท ต่อคนต่อเดือน
สิงห์บุรี 2,782 บาท ต่อคนต่อเดือน
อ่างทอง 2,889 บาท ต่อคนต่อเดือน
จันทบุรี 2,995 บาท ต่อคนต่อเดือน
ฉะเชิงเทรา 3,110 บาท ต่อคนต่อเดือน
ชลบุรี 2,994 บาท ต่อคนต่อเดือน
ตราด 2,878 บาท ต่อคนต่อเดือน
นครนายก 2,703 บาท ต่อคนต่อเดือน
ปราจีนบุรี 2,816 บาท ต่อคนต่อเดือน
ระยอง 3,224 บาท ต่อคนต่อเดือน
สระแก้ว 2,817 บาท ต่อคนต่อเดือน
ราชบุรี 2,867 บาท ต่อคนต่อเดือน
กาญจนบุรี 2,872 บาท ต่อคนต่อเดือน
สุพรรณบุรี 2,928 บาท ต่อคนต่อเดือน
สมุทรสงคราม 2,773 บาท ต่อคนต่อเดือน
เพชรบุรี 2,843 บาท ต่อคนต่อเดือน
ประจวบคีรีขันธ์ 2,882 บาท ต่อคนต่อเดือน

• ภาคเหนือ ค่าเฉลี่ย 2,510 ต่อคนต่อเดือน

เชียงใหม่ 2,646 บาท ต่อคนต่อเดือน
ลำพูน 2,644 บาท ต่อคนต่อเดือน
ลำปาง 2,572 บาท ต่อคนต่อเดือน
อุตรดิตถ์ 2,470 บาท ต่อคนต่อเดือน
แพร่ 2,522 บาท ต่อคนต่อเดือน
น่าน 2,462 บาท ต่อคนต่อเดือน
พะเยา 2,652 บาท ต่อคนต่อเดือน
เชียงราย 2,620 บาท ต่อคนต่อเดือน
แม่ฮ่องสอน 2,465 บาท ต่อคนต่อเดือน
นครสวรรค์ 2,482 บาท ต่อคนต่อเดือน
อุทัยธานี 2,407 บาท ต่อคนต่อเดือน
กำแพงเพชร 2,426 บาท ต่อคนต่อเดือน
ตาก 2,432 บาท ต่อคนต่อเดือน
สุโขทัย 2,454 บาท ต่อคนต่อเดือน
พิษณุโลก 2,384 บาท ต่อคนต่อเดือน
พิจิตร 2,431 บาท ต่อคนต่อเดือน
เพชรบูรณ์ 2,376 บาท ต่อคนต่อเดือน

•  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ค่าเฉลี่ย 2,526 ต่อคนต่อเดือน

นครราชสีมา 2,414 บาท ต่อคนต่อเดือน
บุรีรัมย์ 2,514 บาท ต่อคนต่อเดือน
สุรินทร์ 2,430 บาท ต่อคนต่อเดือน
ศรีสะเกษ 2,481 บาท ต่อคนต่อเดือน
อุบลราชธานี 2,494 บาท ต่อคนต่อเดือน
ยโสธร 2,636 บาท ต่อคนต่อเดือน
ชัยภูมิ 2,444 บาท ต่อคนต่อเดือน
อำนาจเจริญ 2,478 บาท ต่อคนต่อเดือน
บึงกาฬ 2,442 บาท ต่อคนต่อเดือน
หนองบัวลำภู 2,504 บาท ต่อคนต่อเดือน
ขอนแก่น 2,775 บาท ต่อคนต่อเดือน
อุดรธานี 2,469 บาท ต่อคนต่อเดือน
เลย 2,479 บาท ต่อคนต่อเดือน
หนองคาย 2,490 บาท ต่อคนต่อเดือน
มหาสารคาม 2,474 บาท ต่อคนต่อเดือน
ร้อยเอ็ด 2,698 บาท ต่อคนต่อเดือน
กาฬสินธ์ 2,537 บาท ต่อคนต่อเดือน
สกลนคร 2,629 บาท ต่อคนต่อเดือน
นครพนม 2,460 บาท ต่อคนต่อเดือน
มุกดาหาร 2,632 บาท ต่อคนต่อเดือน

• ภาคใต้ ค่าเฉลี่ย 2,840 ต่อคนต่อเดือน

นครศรีธรรมราช 2,664 บาท ต่อคนต่อเดือน
กระบี่ 2,700 บาท ต่อคนต่อเดือน
พังงา 2,767 บาท ต่อคนต่อเดือน
ภูเก็ต 3,120 บาท ต่อคนต่อเดือน
สุราษฎ์ธานี 2,898 บาท ต่อคนต่อเดือน
ระนอง 2,948 บาท ต่อคนต่อเดือน
ชุมพร 2,883 บาท ต่อคนต่อเดือน
สงขลา 3,106 บาท ต่อคนต่อเดือน
สตูล 2,672 บาท ต่อคนต่อเดือน
ตรัง 2,776 บาท ต่อคนต่อเดือน
พัทลุง 3,021 บาท ต่อคนต่อเดือน
ปัตตานี 2,572 บาท ต่อคนต่อเดือน
ยะลา 2,733 บาท ต่อคนต่อเดือน
นราธิวาส 2,619 บาท ต่อคนต่อเดือน

ที่มา :  รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย nesdc.go.th

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related