svasdssvasds

ฟอสซิลเก่า 130 ล้านปี บ่งชี้ 'ยุงตัวผู้' อาจดูดเลือดในสมัยโบราณ

ฟอสซิลเก่า 130 ล้านปี บ่งชี้ 'ยุงตัวผู้' อาจดูดเลือดในสมัยโบราณ

ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติเผย ฟอสซิลที่มีอายุเก่าแก่ประมาณ 130 ล้านปี บ่งชี้ว่า ยุงตัวผู้ อาจเคยดูดเลือดกินเป็นอาหารในสมัยโบราณ

เราพอจะทราบกันมาบ้างแล้วว่ายุงตัวเมียเท่านั้นที่จะกัดเรา และรู้หรือไม่ว่ายุงตัวเมียจริงๆ แล้วไม่ได้กินเลือดเป็นอาหารแต่พวกมันต้องการโปรตีนในเลือดไปช่วยฟักไข่ให้เป็นตัวอ่อนหลังจากตัวเมียผสมพันธุ์กับยุงตัวผู้ มันถึงจะเริ่มหาแหล่งเลือดหลังจากดูดเลือดประมาณ 5 วัน มันก็จะวางไข่ปริมาณไข่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณเลือดที่ดูดได้ ซึ่งจริงแล้วๆทั้งยุงตัวผู้และยุงตัวเมีย ดูดอาหารจากดอกไม้ พืชผักผลไม้ ขนมและอาหารที่เรากินทั้งหลาย

ล่าสุดได้ค้นพบหลักฐานใหม่ เมื่อทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติระบุว่าฟอสซิลที่มีอายุเก่าแก่ประมาณ 130 ล้านปี บ่งชี้ว่ายุงตัวผู้น่าจะดูดเลือดกินเป็นอาหารในสมัยโบราณ

ปัจจุบันมีเพียงยุงตัวเมียเท่านั้นที่ดูดเลือด โดยใช้ส่วนปากที่มีลักษณะแบบเจาะดูดกินเลือดของมนุษย์และสัตว์อื่นๆ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการกินเลือดของแมลง (insect hematophagy) วิวัฒนาการมาจากส่วนปากแบบเจาะดูดซึ่งใช้สกัดของเหลวจากพืช ทว่าพบปัญหาในการศึกษาวิวัฒนาการนี้เนื่องจากขาดบันทึกฟอสซิลของแมลง

ฟอสซิลเก่า 130 ล้านปี บ่งชี้ \'ยุงตัวผู้\' อาจดูดเลือดในสมัยโบราณ

คณะนักวิทยาศาสตร์จากจีน เลบานอน ฝรั่งเศส และสหรัฐฯ พบว่าส่วนปากแบบเจาะดูดของยุงตัวผู้สองตัวที่มีร่างอยู่ในสภาพดี ในอำพันเลบานอนยุคครีเทเชียสตอนต้นจากเลบานอน มีกรามสามเหลี่ยมแหลมเป็นพิเศษและโครงสร้างยื่นยาว พร้อมด้วยเกล็ดที่มีลักษณะคล้ายฟันซี่เล็ก (denticles) ซึ่งบ่งชี้ว่าพวกมันดูดกินเลือด การค้นพบใหม่ข้างต้นซึ่งเผยแพร่ออนไลน์ในวารสารเคอร์เรนต์ ไบโอโลจี (Current Biology) อาจส่งมอบหลักฐานชิ้นใหม่สำหรับการศึกษาวิวัฒนาการของยุง

ดานี อาซาร์ ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาหนานจิง สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน และมหาวิทยาลัยเลบานอน กล่าวว่าอำพันเลบานอน เป็นอำพันเก่าแก่ที่สุดซึ่งมีการปะปนทางชีวภาพอย่างเข้มข้น และเป็นวัสดุที่สำคัญมากเนื่องจากการก่อตัวของมันเกิดขึ้นในสมัยเดียวกับจุดเริ่มต้นของการแผ่รังสีของพืชดอก ซึ่งตามมาด้วยวิวัฒนาการร่วมระหว่างแมลงผสมเกสรและพืชดอก

การค้นพบครั้งใหม่นี้ขยายขอบเขตการปรากฎขึ้นของตระกูลยุงไปจนถึงช่วงยุคครีเทเชียสตอนต้น ส่วนยุงตัวผู้ที่ดูดเลือด ชี้ให้เห็นว่าวิวัฒนาการของสัตว์กินเลือดมีความซับซ้อนมากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้

อันเดร เนล ผู้เชี่ยวชาญจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติในกรุงปารีส ระบุว่านักวิทยาศาสตร์กำลังจะศึกษา "ประโยชน์" ของลักษณะการกินเลือดในยุงตัวผู้โบราณ และสาเหตุที่มันหยุดดูดกินเลือดในเวลาต่อมา

ยุงตัวผู้มีอายุสั้นกว่ายุงตัวเมีย 

  • ยุงตัวผู้มีอายุประมาณ 1 สัปดาห์ ยกเว้นในกรณีที่เลี้ยงดูด้วยอาหารสมบูรณ์และมีความชื้นเหมาะสมจะมีอายุอยู่ได้เป็นเดือน 
  • ยุงตัวเมียมีอายุ 1-5 เดือนอายุของยุงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ในฤดูร้อน ยุงมีกิจกรรมมากทำให้อายุสั้นเฉลี่ยประมาณ 2 สัปดาห์ ในฤดูหนาวยุงมีกิจกรรมน้อย จึงอายุยืน ในบางพื้นที่ยุงสามารถจำศีลตลอดฤดูหนาว

ข้อมูลจาก : Xinhua 

related