svasdssvasds

ย้อนดู “The Great Depression” วิกฤตเศรษฐกิจ ครั้งรุนแรงที่สุดในโลก

ย้อนดู “The Great Depression” วิกฤตเศรษฐกิจ ครั้งรุนแรงที่สุดในโลก

ทำความรู้จัก และเข้าใจ วิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งใหญ่ The Great Depression ซึ่งเกิดขึ้นกับโลกของเรา เมื่อเกือบๆ 100 ปีที่แล้ว แต่มันรุนแรงกว่าครั้งไหนๆ

ย้อนวิกฤตเศรษฐกิจ  ครั้งรุนแรงที่สุดในโลก  “The Great Depression” Credit ภาพ REUTERS

ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา คำว่า วิกฤตเศรษฐกิจ ถูกกลับมาพูดถึงอีกครั้ง ถูกนำมากล่าวถึงกันมากขึ้นจาก การที่มีคำแนะนำรัฐบาลเพื่อไทย เรียก กระทรวงการคลัง-สภาพัฒน์ฯ-คณะกรรมการกฤษฎีกา วินัยการเงินฯ ตีความ "วิกฤติเศรษฐกิจ" กันเลยทีเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว สภาพความเป็นอยู่ สภาพเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ตอนนี้ ไม่สามารถเททียบเท่ากับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีตเลย 

รู้หรือไม่ โลกของเรา เคยเกิด วิกฤตทางเศรษฐกิจ มาแล้วหลายครั้ง แต่ไม่เคยมีครั้งไหน รุนแรงหนักหนาสาหัสเท่ากับ  เหตุการณ์ “The Great Depression” เศรษฐกิจ​ตกต่ำครั้งใหญ่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี 1929  ซึ่งหากดูกันจริงๆแล้ว เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเกือบ 100 ปีแล้ว แต่ก็มักจะถูกนำกลับมาพูดถึงอยู่เสมอๆ เพราะมันรุนแรงเหลือเกิน และหากเอาวิกฤตครั้งใหม่ๆ อาทิ วิกฤตต้มยำกุ้ง วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ไปเทียบเคียง ก็ไม่อาจวัดรอยบาดแผลกันได้เลย 

ย้อน วิกฤตเศรษฐกิจ  ครั้งรุนแรงที่สุดในโลก  “The Great Depression” Credit ภาพ REUTERS

“The Great Depression”  หรือเศรษฐกิจ​ตกต่ำครั้งใหญ่ เกิดขึ้นเมื่อไร 

เหตุการณ์เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เกิดขึ้นในช่วงปลายปี 1929 ในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป ซึ่งถือเป็นสองภูมิภาคใหญ่ของโลก

โดย จุดเปลี่ยนเริ่มต้นจาก 24 ตุลาคม 1929 เกิดเหตุการณ์ “Black Thursday” ตลาดหุ้นลดลง -11% จากราคาปิดวันก่อนหน้า เนื่องจากนักลงทุนสถาบันและสถาบันการเงินต่างกังวลว่าราคาหุ้นที่เริ่มสูงเกินกว่ามูลค่าพื้นฐานของหุ้น และส่งผลกระทบครั้งใหญ่กับตลาดดาวโจนส์ใน 2 วันถัดมา ที่ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงซ้ำอีกครั้ง

 โดยในวันจันทร์ถัดมา Black Monday ลดลง ไปถึง 13% และวันอังคาร Black Tuesday ปรับตัวลดลงอีก 12% ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ ซึ่งเกิดผลกระทบอย่างมากกับบัญชีมาร์จิ้นที่ต้องถูก Force Sell จากราคาหุ้นที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ด้านโบรคเกอร์ก็เกิดหนี้สูญเนื่องจากลูกค้าไม่สามารถชำระหนี้ได้ จนกระทั่งดัชนี Dow Jones (DJIA) ไปถึงจุดต่ำสุดที่ 41.22 จุด ในวันที่ 8 กรกฎาคม 1932 (ลดลง 89.19% จากจุดสูงสุด)

ย้อนวิกฤตเศรษฐกิจ  ครั้งรุนแรงที่สุดในโลก  “The Great Depression” Credit ภาพ REUTERS

“The Great Depression”​ มี ผลกระทบอย่างไรบ้าง 

“The Great Depression”​ เศรษฐกิจ​ตกต่ำครั้งใหญ่ ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐ ฯ ดาวโจนส์​ปรับตัวลดลง 89.2% ภายในระยะเวลา 3 ปี และไม่สามารถกลับไปยังจุดสูงสุดเดิมได้เลยจนกระทั่ง​ปี 1954 นั่นหมายความว่า กินเวลาเกือบ 25 ปีกว่าที่ เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะฟื้นตัวได้ หลังจากที่โดนพายุมรสุมพิษเศรษฐกิจครั้งนี้ (ช่วงเวลาที่อาการสาหัสคือ 10 ปี ค.ศ.1929-1939) 

สาเหตุหลัก ๆ ในการเกิด “The Great Depression” สืบเนื่องมาจากการที่เพิ่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 (สงครามโลกครั้งที่ 1 กินเวลา 4 ปี ในช่วงปี 1914-1918) และหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จบลง ทำให้ทหารปลดประจำการหลั่งไหลไปเป็นแรงงานในภาคเกษตรกรรม​จนทำให้ค่าแรงตก ผลผลิตทางการเกษตรราคาต่ำและมีการปล่อยกู้มาก สุดท้ายจึงเกิดฟองสบู่แตกในทั้งระบบเศรษฐกิจ​และตลาดหุ้น

ในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของโลกตอนนั้น คนในสหรัฐฯ จากสถิติแล้ว มี 20% ที่ต้องตกงาน และหากจะให้เห็นภาพเปรียบเทียบชัดๆ ก็คือ ถ้าเดินสวนกับคนอเมริกัน 5 คนบนท้องถนน เราจะเจอคนตกงาน 1 คนจากใน 5 คนนั้น 

ย้อน วิกฤตเศรษฐกิจ  ครั้งรุนแรงที่สุดในโลก  “The Great Depression”

“The Great Depression”  สาเหตุเกิดจากอะไร ?

ในยุค 1930s ช่วงเวลาของวิกฤตภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่มีสาเหตุมาจาก การผูกขาดของภาคการผลิต การขาดกฎระเบียบและวิกฤตของภาคการผลิตที่เกินกำลังเมื่อสินค้าที่ผลิตไม่สอดรับกับอุปสงค์ เนื่องจากรายได้ของครัวเรือนอยู่ในระดับต่ำ

สาเหตุของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ จึงเป็นเรื่องที่มีการสนทนาอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับบทบาทของนโยบายภาครัฐและกิจกรรมที่เป็นธุรกิจส่วนตัว

สาเหตุหลัก หรือ สาเหตุประการแรก ของวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ “The Great Depression” คือ ระบบทุนนิยม หยุดที่จะทำระบบการกำกับด้วยตนเอง มันเป็นวิกฤตการณ์ของการผลิตสินค้าเกินกำลังจำนวนมาก ซึ่งมาในช่วงเวลาแห่งความเจริญรุ่งเรืองและการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐ

การพัฒนาตลาดที่ไร้การจัดตั้งและการมีเงินทุนจำนวนมากซึ่งดำเนินการภายใต้กรอบของกฎระเบียบแห่งชาตินำไปสู่ความจริงที่ว่า สินค้าจำนวนมากรวมทั้งอาหาร ได้รับการผลิตขึ้นในตลาดที่ไม่สามารถสร้างกำลังซื้อจากประชากรได้ จึงไม่ตรงกับปริมาณของสินค้าที่ผลิตและความต้องการในตลาด ส่งผลให้ตลาดล้มเหลว

เหตุผลที่สองคือ การเก็งกำไรทางการเงิน มันเป็นช่วงเวลาที่ตลาดการเงินกำลังพัฒนาเมื่อการซื้อขายหุ้นเติบโต แต่กระบวนการนี้เกิดขึ้นนอกเหนือการควบคุมใดๆ อันเป็นผลมาจากฟองสบู่ทางการเงินจำนวนมากที่พองตัวจากการเก็งกำไรบริษัท ทั้งๆ ที่การเก็งกำไรที่สมมติขึ้นนั้น ถูกสร้างขึ้นและมีการฉ้อโกงจำนวนมาก และยังมีการแบ่งปันหุ้นทั้งหมด

สิ่งนี้ยังนำไปสู่ฟองสบู่ทางการเงินที่เพิ่มขึ้นและราคาหุ้นที่ตกลงอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นแรงผลักดันสำคัญอีกครั้งสำหรับการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ

ความถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่มาก โดยส่วนใหญ่อยู่ในภาคการเงิน และบางภาคส่วนอยู่ในสถานการณ์ภัยพิบัติ

ในช่วงต้นปี 1933 ระบบการเงินทั้งหมดเริ่มหยุด ธนาคารในประเทศเริ่มปิดตัวลง วิกฤตหนี้กลับกลายเป็นว่ารุนแรงมาก ราคาหุ้นตกต่ำเป็นอย่างมาก และนักลงทุน บริษัทเอกชนพยายามที่จะถอนเงินออกจากธนาคาร ซึ่งนำไปสู่การล่มสลายของระบบธนาคารทั้งหมด ทำให้บริษัทถูกบล็อกและหยุดทำงานไปโดยปริยาย

ภาคอุตสาหกรรมการผลิตก็กำลังลดลงเข้าใกล้ 50% และในบางภาคการผลิตก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ภาคการเกษตรได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกษตรกรที่ไม่สามารถขายผลิตภัณฑ์ของตนได้ต้องล้มละลาย และมีฟาร์มกว่า 600,000 แห่ง ที่ต้องล่มสลายในช่วงนี้

ภัยคุกคามเรื่องความหิวโหยในสหรัฐจึงเป็นเรื่องจริงแท้แน่นอน

ภัยคุกคามนี้แพร่กระจายในศูนย์อุตสาหกรรมขนาดใหญ่เหนือพื้นที่การเกษตรสำคัญ เนื่องจากประมาณ 10 รัฐ ที่มีผลผลิตทางการเกษตรลดลงแล้ว นอกเหนือจากนั้นยังได้รับผลกระทบจากภัยแล้งที่รุนแรง เป็นผลให้ประชาชนไม่สามารถที่จะอาศัยอยู่ในรัฐที่ไม่ได้ผลิตสินค้าเกษตรอีกต่อไป ประชากรจึงย้ายไปยังพื้นที่ที่มีโอกาสในการบริโภคมากขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related