svasdssvasds

"โอมิครอนสายพันธุ์ JN.1" ระบาดเพิ่มในไทย พบผู้ติดเชื้อแล้ว 40 คน

"โอมิครอนสายพันธุ์ JN.1" ระบาดเพิ่มในไทย พบผู้ติดเชื้อแล้ว 40 คน

กรมวิทย์ฯ เผยโควิดสายพันธุ์ JN.1 มีแนวโน้มพบมากขึ้นทั่วโลก ส่วนในประเทศไทยพบแล้ว 40 ราย แต่ยังไม่ใช่ชนิดกลายพันธุ์สองตำแหน่ง คาดเป็นสายพันธุ์หลักแทน XBB

โอมิครอน เป็นสายพันธุ์หลักที่แพร่กระจายในประเทศไทย

จากการติดตามสถานการณ์สายพันธุ์เชื้อไวรัสโควิดในประเทศไทย ปัจจุบันสายพันธุ์โอมิครอน เป็นสายพันธุ์หลักที่แพร่กระจายในประเทศ นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ยังคงให้ความสำคัญกับการติดตามโอมิครอน 10 สายพันธุ์

สายพันธุ์ที่เฝ้าระวัง 5 สายพันธุ์ ได้แก่

  1. XBB.1.5*
  2. XBB.1.16*
  3. EG.5
  4. BA.2.86
  5. JN.1*

สายพันธุ์ที่ต้องจับตามอง 5 สายพันธุ์ ได้แก่

  1. DV.7
  2. XBB
  3. XBB.1.9.1
  4. XBB.1.9.2
  5. XBB.2.3*

ขณะที่ สายพันธุ์ JN.1 ถือเป็นสายพันธุ์ย่อยของ BA.2.86* เพิ่มความสามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยช่วงต้นปี 2567 มีรายงานผู้ติดเชื้อ JN.1* ชนิดกลายพันธุ์สองตำแหน่งรายแรกในฝรั่งเศส ขณะนี้พบทั่วโลกจำนวน 41 คน 

สำหรับประเทศไทย โควิดสายพันธุ์ JN.1 เริ่มพบตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 และพบเพิ่มมากขึ้นในเดือนธันวาคม 2566 ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะกลายเป็นสายพันธุ์ระบาดหลักแทนที่ XBB.1.9.2* โดยผู้ติดเชื้อ มีอาการระบบทางเดินหายใจทั่วไป เช่น ไข้ ไอ เสมหะ และยังไม่พบรายงานผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อสายพันธุ์ JN.1 ปัจจุบันพบผู้ติดเชื้อ 40 คน  ซึ่งยังไม่มีชนิดกลายพันธุ์สองตำแหน่ง

 

ทั้งนี้ ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2566 สายพันธุ์ลูกผสม XBB.1.16* เป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในประเทศไทย จนกระทั่งเดือนกันยายนเริ่มมีแนวโน้มลดลง และพบสายพันธุ์ XBB.1.9.2* มาแทนที่

ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ลูกผสม XBB.1.9.2* ลด สัดส่วนของ JN.1* เพิ่มมากขึ้น

ล่าสุดผลการถอดรหัสพันธุกรรม เชื้อก่อโรคโควิด 19 ทางห้องปฏิบัติการ ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 ถึง 15 มกราคม 2567 พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ลูกผสม XBB.1.9.2* ลดลง ในขณะที่สัดส่วนของ JN.1* เพิ่มมากขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related