svasdssvasds

ความรุนแรงในโรงเรียน คืออะไร แนวทางป้องกัน-แก้ไข ก่อนเกิดเหตุไม่คาดคิด

ความรุนแรงในโรงเรียน คืออะไร แนวทางป้องกัน-แก้ไข ก่อนเกิดเหตุไม่คาดคิด

ความรุนแรงในโรงเรียน เป็นปัญหาสังคมที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ถือเป็นปัญหาสำคัญของระบบการศึกษาไทยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อตัวนักเรียน

"โรงเรียน" ถือเป็นสถานที่สำคัญเพื่อพัฒนาทักษะของเด็กและเยาวชนในหลากหลายด้าน เช่น ความรู้ การเรียนรู้ การเข้าใจตนเองและผู้อื่น ความเป็นผู้นำ คนทั่วไปอาจมองว่าโรงเรียนเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับเด็กๆ แต่เหตุการณ์ความรุนแรงทั้งทางตรงและทางอ้อม อาจเกิดขึ้นภายในพื้นที่แห่งนี้ได้ง่ายกว่าที่คิดอย่างคาดไม่ถึง

ความรุนแรงในโรงเรียน คืออะไร

ความรุนแรงในโรงเรียน หมายถึงการกระทำใดๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อนักเรียนทั้งทางร่างกายหรือจิตใจ ไม่ว่าจะกระทำภายในโรงเรียนหรือข้างนอก รวมถึงความเสียหายต่อทรัพย์สินโดยการทำร้ายร่างกาย ข่มขู่ กักขัง ลักพาตัว การใส่ร้ายป้ายสีดูถูก กรรโชกทรัพย์ บังคับขู่เข็ญ การใช้ความรุนแรงทางเพศ กลั่นแกล้งหรือการกลั่นแกล้งบนอินเทอร์เน็ต รวมถึงการเผยแพร่ข้อมูลที่หยาบคายหรือรุนแรงผ่านเครือข่ายข้อมูลและการสื่อสาร

 

ประเภทความรุนแรงในโรงเรียน

ความรุนแรงในโรงเรียนมีหลายรูปแบบโดยอาจแบ่งเป็นประเภทได้ ดังนี้

  • การกลั่นแกล้ง อาจเกิดขึ้นได้ทั้งทางร่างกาย จิตใจ หรือการคุกคามทางเพศ โดยมีลักษณะของพฤติกรรมก้าวร้าวซ้ำ ๆ และจงใจกระทำต่อบุคคลอื่น
  • การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงการล่วงละเมิดทางเพศ หรือทางจิตใจผ่านทางโซเชียลมีเดียช่องทางต่างๆ เช่น การโพสต์ข้อมูลเท็จ ความคิดเห็นที่ทำร้ายจิตใจ ข่าวลือที่เป็นอันตราย ลงรูปภาพหรือวิดีโอที่น่าอับอายในโซเชียลมีเดีย
  • ความรุนแรงทางร่างกาย เป็นความก้าวร้าวทางร่างกายทุกประเภท เช่น การใช้อาวุธ การโจรกรรม การลอบวางเพลิง
  • ความรุนแรงทางจิตใจ รวมถึงการล่วงละเมิดทางอารมณ์และทางวาจา เช่น การดูถูก การคุกคาม การเมินเฉย การปล่อยให้โดดเดี่ยว การปฏิเสธ การประนาม การเยาะเย้ย การปล่อยข่าวลือ การพูดโกหก ทำให้ผู้อื่นอับอาย หรือลงโทษบุคคลอื่นโดยไม่ยุติธรรม
  • ความรุนแรงทางเพศ เป็นการคุกคามทางเพศ การข่มขู่ทางเพศ การสัมผัสที่อีกฝ่ายไม่ต้องการหรือไม่อนุญาต การบังคับทางเพศ และการข่มขืน

สัญญาณที่บ่งบอกถึงความรุนแรงในโรงเรียน

1) คอยสังเกตเด็กๆให้ดีหากมีสัญญาณที่บ่งบอกความรุนแรงในโรงเรียน ดังนี้

แม้ว่าลูกของคุณอาจแสดงอาการใดๆ ก็ตาม แต่ก็ไม่ควรสรุปในทันทีว่าพวกเขาเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้กระทำ เรื่องรุนแรงในโรงเรียน การพิจารณาต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง

สัญญาณของนักเรียนที่เป็นผู้ถูกกระทำ

  • มีท่าทีหวันไหวขึ้นมาเมื่อคุณพยายามจะคุยกับพวกเขาเรื่องชีวิตในโรงเรียนกับเพื่อน ๆ
  • ดูเหม่อลอยและสติหลุด พูดเรืองการย้ายโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา
  • ขอเงินค่าขนมเพิม หรือบิลค่าโทรศัพท์สูงผิดปกติ
  • ไม่อยากไปร่วมกิจกรรมกลุ่ม เช่น ทัศนศึกษาหรือกิจกรรมอาสาสมัคร

สัญญาณของนักเรียนที่เป็นผู้กระทำรุนแรง

  • ถูกพบว่ากำลังตีเพื่อนหรือแกล้งสัตว์บ่อยครั้ง 
  • เป็นคนใจร้อน หุนหันพลันแล่น และก้าวร้าว
  • ไม่สามารถแยกแยะระหว่างความรุนแรงกับการล้อเล่นทั่วไปได้ และมักจะเผชิญกับสถานการณ์ความขัดแย้ง
  • มักสบถหรือแสดงท่าทางดูหมินนักเรียนคนอื่น พูดจาดูถูกหรือโจมตีคนอื่นโดยไม่ลังเลในสื่อสังคมออนไลน์

การป้องกันเหตุรุนแรงในโรงเรียน

ป้องกันไม่ให้ลูกของคุณเข้าไปมีส่วนร่วมกับความรุนแรงในโรงเรียนได้โดยปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้

  1. สอนให้ลูกรู้ว่าการล้อเลียนคนอื่น การแกล้งหรือกีดกัดเพื่อนเป็นความรุนแรงในโรงเรียน
  2. ขอให้ลูกของคุณบอกครูหรือผู้ปกครองเมือพบเห็นหรือรู้สึกว่าเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในโรงเรียนขึ้น 
  3. ให้ข้อมูลเกียวกับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในโรงเรียนแก่ลูกของคุณ
  4. กระตือรือร้นในการมีส่วนร่วมกับโครงการด้านการศึกษาสำหรับผู้ปกครองเพื่อป้องกันความรุนแรงในโรงเรียน
  5. เอาใจใส่ชีวิตในโรงเรียนของลูกโดยปรึกษากับครูประจำชั้นของเด็กเป็นประจำ

การแก้ไขและป้องกันความรุนแรงในโรงเรียน ถือเป็นหน้าที่ของทุกคนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง รวมไปถึงสังคม การสร้างการเรียนรู้ที่เน้นความเข้าใจตนเองและผู้อื่น การส่งเสริมทักษะด้านอารมณ์และการจัดการความขัดแย้ง อาจเป็นวิธีการสำคัญที่ช่วยลดปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนได้

ที่มา : กระทรวงศึกษาธิการhellokhunmor 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related