svasdssvasds

กฎหมายจราจรใหม่ เมาแล้วขับ ตำรวจสันนิษฐานผู้ขับขี่เมาสุราเกินค่ากำหนดได้

กฎหมายจราจรใหม่ เมาแล้วขับ ตำรวจสันนิษฐานผู้ขับขี่เมาสุราเกินค่ากำหนดได้

ครม.ไฟเขียวกฎหมายจราจรใหม่ ให้อำนาจ ตำรวจสันนิษฐานผู้ขับขี่เมาสุราเกินค่ากำหนดได้ และสามารถตรวจได้เพิ่มเติมจากของเสียอื่นๆ จากร่างกายได้ เช่น ปัสสาวะ

เมาแล้วขับเป็นเรื่องที่รณรงค์กันมายาวนาน แม้กฏหมายจะแรงแค่ไหนก็ยังคงมีเหตุให้เห็นตามข่าวบางเคสรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงมีการตั้งด่านตรวจเป่าแอลกอฮอล์ยามค่ำคืน เพื่อลดอุบัติเหตุและเอาผิดกับพวกนักดื่มที่ไม่มีความรับผิดชอบ แต่กระนั้นแล้วก็ยังมีพวกหัวหมอไม่ยอมเป่าแอลกอฮอล์ ซึ่งผู้ขับขี่ที่ฝ่าฝืนไม่ยอมเป่าแอลกอฮอล์จะถูกสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นขับขี่รถในขณะเมาสุรา แม้ไม่ยอมทดสอบก็ตาม

ล่าสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เสนอคณะรัฐมนตรี เห็นชอบร่างกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก อุบัติเหตุที่เกิดจากการดื่มสุรา ซึ่งเดิมต้องใช้วิธีการเป่า หรือให้ผู้ขับขี่ยินยอมในการตรวจเลือด ซึ่งร่างกฎกระทรวงนี้ ได้เปลี่ยนหลักการใหม่ ให้สามารถตรวจได้เพิ่มเติมจากของเสียอื่น ๆ จากร่างกายได้ เช่น ปัสสาวะ และในกรณีที่ผู้ขับขี่มีพฤติการณ์เชื่อได้ว่าดื่มสุรา และมีปริมาณแอลกอฮอลเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารใช้อำนาจเข้าข้อสัณนิษฐานได้ในการดำเนินคดี และเมื่อมีการจับกุมผู้ขับขี่ เจ้าหน้าที่จะต้องรับส่งผู้ขับขี่ไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจพิสูจน์ปริมาณแอลกอฮอลภายใน 3 ชั่วโมง เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริง โดยคณะรัฐมนตรี ได้เห็นชอบ และกฤษฎีกา ตรวจสอบความถูกต้องก่อนบังคับใช้

เมาแล้วขับ

 

กฎหมายเมาแล้วขับ 2567 

  • เมาแล้วขับมีโทษ คือ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000 - 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่ต่ำกว่า 6 เดือน สำหรับผู้ที่ปริมาณเแอลกอฮอล์ในเลือด 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
  • เมาแล้วขับ แล้วปฏิเสธการเป่า จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 10,000 – 20,000 บาท ระงับใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน และศาลสามารถสั่งพักใบอนุญาตขับรถ หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ และสามารถยึดรถไว้ไม่เกิน 7 วัน

โทษเมาแล้วขับจนทำให้เกิดอุบัติเหตุ

  1. กรณีเมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น “บาดเจ็บ” จำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี ปรับ 20,000-100,000 บาท และถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ
  2. กรณีเมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น “บาดเจ็บสาหัส” จำคุก 2-6 ปี ปรับ 40,000-120,000 บาท ระงับใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 2 ปี
  3. กรณีเมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น “ถึงแก่ความตาย” จำคุก 3-10 ปี ปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บาท และเพิกถอนใบอนุญาตขับรถทันที

ข้อมูลจาก : กรมการขนส่งทางบก

related