svasdssvasds

ผู้ปกครองรู้ไว้ ! ลูกกลั่นแกล้ง บูลลี่เพื่อน มีความผิดด้วย

ผู้ปกครองรู้ไว้ ! ลูกกลั่นแกล้ง บูลลี่เพื่อน มีความผิดด้วย

ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า โรงเรียนจะไม่เป็นเซฟโซนที่ดีอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นครูที่โดนทำร้าย หรือนักเรียนทำร้ายนักเรียน จากหลายๆเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ชาวเน็ตตั้งคำถามต่อกฎหมายเด็กและเยาวชน ว่ากฎหมายกำลังลงโทษหรือคุ้มครองเด็กกันแน่

กฎหมายลงโทษหรือคุ้มครองเด็กกันแน่ 

ต้องเล่าก่อนว่ากฎหมายประเทศไทย เคยกำหนดอายุเด็กที่ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ต่ำสุดที่ 7 ปีมาก่อน แต่มีการปรับเปลี่ยนภายหลังปี 2551 โดยปรับเพิ่มอายุขึ้นมาเป็น 10 ปี จากนั้นก็ปรับเพิ่มอายุอีกครั้งในปี 2565 ซึ่งปรับขึ้นมาที่ 12 ปี และคดีในเด็กและเยาวชนจะถูกพิจารณาในศาลเยาวชนและครอบครัว

ถึงแม้ว่าเด็กและเยาวชนทำผิดถึงขั้น ก่ออาชญากรรมก็จะไม่ได้รับโทษเท่ากับผู้ใหญ่ แต่ก็มีมาตรการและการจัดการแตกต่างกันไปตาม พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2565

 

ผู้ปกครองผิดมาตรา 429 กฎหมายแพ่ง

พ่อแม่ ผู้ปกครองอย่างไรก็ต้องรับผิดชอบในความผิดทางแพ่ง ในความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดของเด็กหรือเยาวชนด้วย ยกเว้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่แล้ว ดังนั้น การที่เด็ก หรือเยาวชนกระทำความผิดทางอาญา พ่อแม่ ผู้ปกครองไม่ต้องรับผิดทางอาญาด้วย แต่ต้องรับผิดชอบในความผิดทางแพ่ง ในความผิดที่เด็ก หรือเยาวชนนั้นได้ก่อขึ้น

ความรุนแรงภายในโรงเรียนสร้างบาดแผลระยะยาว

ต้องบอกก่อนว่าปัญหาเรื่องการใช้ ความรุนแรงในโรงเรียน เกิดขึ้นในหลายประเทศ และในประเทศไทยเราก็ไม่แพ้ชาติใดในโลกเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น การบูลลี่ หรือ ทำร้ายร่างกาย ทำร้ายทางคำพูด และอีกมากมาย 

จากผลการสำรวจ Global School-based Student Health Survey ขององค์การอนามัยโลก พบว่า หนึ่งในสี่ (หรือ 25%) ของเด็กไทยอายุ 13-17 ปี มีประสบการณ์การถูกกระทำจากการใช้กำลังทางกายในรอบหนึ่งปี และหากเป็นเด็กผู้ชายอัตราดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 35% 

ความสำคัญของปัญหาการใช้ความรุนแรงไม่ได้ส่งผลเฉพาะในช่วงเวลาที่เกิดเหตุเท่านั้น แต่การศึกษาจำนวนมากพบว่า การใช้ความรุนแรงในโรงเรียนจะสร้างบาดแผลระยะยาว ทั้งทางร่ายกาย และโดยเฉพาะทางจิตใจของผู้ที่ถูกกระทำ ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิต สุขภาพจิต และสุขภาพกายของผู้ถูกกระทำในระยะยาว

ควรรับมือและแก้ไข ความรุนแรงในโรงเรียนอย่างไร

ทาง Spring รวบรวมแนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในโรงเรียนจากหลากหลายประเทศ พบว่า นโยบายที่ควรนำมาปรับใช้กับประเทศไทยมี 6 ข้อด้วยกัน คือ

1.สนับสนุนสวัสดิการในการเข้าถึงการดูแลในช่วงปฐมวัยที่มีคุณภาพ และการไม่ใช้ความรุนแรงในการเลี้ยงดูและไม่ใช้ความรุนแรงในครอบครัว
2.ลดการใช้วัฒนธรรมอำนาจนิยมในโรงเรียน และการส่งเสริมหลักสิทธิของการอยู่ร่วมกันและการเคารพในสิทธิของคนอื่นและทักษะของการอยู่ร่วมกันแบบพหุวัฒนธรรม
3.ให้ความสำคัญกับรูปแบบการศึกษา/เรียนรู้ที่เน้นทักษะทางสังคม และทักษะทางอารมณ์ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทางร่างกาย และทางวิชาการ
4.สนับสนุนให้โรงเรียนปรับสภาพแวดล้อมให้มีบรรยากาศที่เป็นมิตร ไม่มีพื้นที่อับสายตาหรือทรุดโทรม และมีกิจกรรมนันทนาการหลากหลายรูปแบบให้สอดคล้องกับความสนใจและพัฒนาการของนักเรียน
5.จัดทำแนวทางในการจัดการกรณีการใช้ความรุนแรงในโรงเรียนให้ชัดเจน และทำความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อให้เกิดการปฏิบัติที่ทันท่วงที เป็นธรรม และสามารถระงับเหตุได้
6.ใส่ใจในการเยียวยาและการฟื้นฟูผู้ถูกกระทำอย่างต่อเนื่อง จนกว่าบาดแผลในจิตใจจะดีขึ้น และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นสุข
 

ที่มา : สำนักงานกิจการยุติธรรม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

related