svasdssvasds

เปิดมาตรการป้องกันฝุ่น PM2.5 ในกทม.สูง "ปิดโรงเรียน-ทำงานที่บ้าน"

เปิดมาตรการป้องกันฝุ่น PM2.5 ในกทม.สูง "ปิดโรงเรียน-ทำงานที่บ้าน"

กทม. เปิดมาตรการป้องกัน-รับมือค่าฝุ่น PM2.5 สูงในพื้นที่กรุงเทพฯ หาก PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานระดับสีแดง 3 วันติด “สั่งปิดโรงเรียนโรงเรียน - WFH”

มาตรการป้องกัน-รับมือค่าฝุ่น PM2.5 สูงในกทม.

นายเอกวรัญญู  อัมระปาล โฆษกของกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงมาตรการป้องกันประชาชน กรณีมีการคาดการณ์ว่าจะมีค่าฝุ่น PM2.5 สูงในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่าในส่วนของการปิดโรงเรียน และการทำงานที่บ้าน กรณีมีการคาดการณ์ว่าจะมีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงในพื้นที่กรุงเทพฯ มีดังนี้

การปิดโรงเรียน

  • กรณีมีการคาดการณ์ว่าจะมีค่าฝุ่น PM2.5 เพิ่มขึ้นเกิน 37.5 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร อยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ต่อเนื่องเป็นเวลา 3 วัน ให้งดทำกิจกรรมกลางแจ้งและปรับรูปแบบการเรียนการสอน โดยผู้อำนวยการโรงเรียน หรือผู้อำนวยการเขต มีอำนาจ สั่งปิดการเรียนการสอน เป็นเวลา 3 - 7 วัน
  • หากมีการคาดการณ์จะมีค่าฝุ่น PM2.5 เพิ่มขึ้นเกิน 75 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (ระดับสีแดง) ต่อเนื่องเป็นเวลา 3 วัน ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา สามารถสั่งปิดโรงเรียน 15 วัน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สามารถสั่งปิดได้ไม่จำกัดระยะเวลา

การทำงานที่บ้าน (WORK FROM HOME)

สำหรับการขอความร่วมมือ WORK FROM HOME (WFH)  จะดำเนินการเมื่อมีการคาดการณ์สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ  มีแนวโน้มสูงขึ้นเกิน 75 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์ อยู่ในระดับสีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพ ต่อเนื่อง 3 วัน ในพื้นที่ 15 เขต หรือ 7 ใน 9 เขตในกลุ่มกรุงเทพตะวันออก ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะประกาศขอความร่วมมือเครือข่าย WFH ให้ปฏิบัติงานจากที่พัก

คาดการณ์ฝุ่น 

  • คาดการณ์ฝุ่น 7 วัน วันที่ 31 ม.ค. - 6 ก.พ. 67 คุณภาพอากาศ "เริ่มกระทบสุขภาพ"
  • พื้นที่เฝ้าระวัง วันที่ 31 ม.ค. 67 ค่า PM 2.5 เกินมาตรฐานในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 17 พื้นที่ หลักสี่ / จตุจักร / คลองเตย / พระโขนง / บางนา / พญาไท / ดินแดง / ห้วยขวาง /คลองสามวา / มีนบุรี / สะพานสูง / ตลิ่งชัน / บางกอกน้อย / ทวีวัฒนา / บางแค / หนองแขม /บางบอน

 

 

ข้อแนะนำสุขภาพ ระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

  • สำหรับบุคคลทั่วไป

ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น          

  • ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ

ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง หากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลียควรปรึกษาแพทย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

related