svasdssvasds

แพทย์ไทยล้ำไปอีกขั้น มี "Northern Sky Doctor" ช่วยให้รอดชีวิต !

แพทย์ไทยล้ำไปอีกขั้น มี "Northern Sky Doctor" ช่วยให้รอดชีวิต !

กว่า 10 ปีของการลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศ ให้ผู้ที่อาศัยอยู่พื้นที่ห่างไกลทุรกันดารในประเทศไทยให้รอดชีวิต โครงการ Northern Sky Doctor ได้ทำให้ชีวิตของผู้อาศัยระแวกภูเขาใช้ชีวิตได้ง่ายยิ่งขึ้น

เพราะทุกวินาทีมีค่า ต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต

ผศ.นพ.นเรนทร์ โชติรสนิรมิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ กล่าวว่า “โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ตั้งอยู่ภาคเหนือตอนบน ยากต่อการเดินทางของผู้เจ็บป่วยที่แวดล้อมด้วยภูเขา ส่งผลให้การเดินทางเข้ารับการรักษาเป็นไป ด้วยอย่างความยากลำบาก จึงมีโครงการ Northern Sky Doctor" ขึ้นมา

“เพราะทุกวินาทีมีค่า ต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต” ภารกิจทีมแพทย์ฉุกเฉินทางอากาศ หรือ Sky Doctor เป็นการทำงานร่วมกันหลายหน่วยงาน ที่ประสานกับเครือข่ายและสถานพยาบาลระดับสูง เพื่อพร้อมช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยทุกชีวิต ที่อาศัยอยู่พื้นที่ห่างไกลทุรกันดารในประเทศไทยให้รอดชีวิต
 

แพทย์ไทยล้ำไปอีกขั้น มี "Northern Sky Doctor" ช่วยให้รอดชีวิต !

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศ นับจากสถิติในปีก่อนๆโรงพยาบาลมหาราช นครเชียงใหม่ ร่วมกับโรงพยาบาลนครพิงค์และโรงพยาบาลศรีสังวาลย์ ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้นำส่งผู้ป่วยและบาดเจ็บฉุกเฉินเป็นจำนวนมาก กว่า 162 ราย โรงพยาบาลนครพิงค์และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ มีการประสานความร่วมมือ โดยมีแพทย์ พยาบาล นักปฎิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ที่มีความสามารถใน การบินนำส่งผู้ป่วยทุกวัน และในปีที่ผ่านมา ได้รับการรับรองเป็นหน่วยปฏิบัติการแพทย์ระดับเฉพาะทางฉุกเฉินทางการแพทย์ ทางอากาศจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยบริการที่มีประสบการณ์สูงที่สุด ในการนำส่งผู้ป่วยและบาดเจ็บฉุกเฉินในประเทศไทย

แพทย์ไทยล้ำไปอีกขั้น มี "Northern Sky Doctor" ช่วยให้รอดชีวิต !

ช่วยผู้ป่วยได้ทันเวลาและสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติ

ทั้งนี้ปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินทางอากาศที่ผ่านมา ทีมแพทย์ฉุกเฉินทางอากาศ ช่วยลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉินในพื้นที่ห่างไกล เข้าถึงยาก ส่งต่อเข้ารักษาในโรงพยาบาลใหญ่ เพื่อได้รับการรักษาได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มโอกาสการรอดชีวิต และลดเวลาการขนส่งลำเลียงยา เวชภัณฑ์ ทางรถยนต์ที่มีความลำบาก ใช้เวลานาน สามารถลดระยะเวลาการเดินทางจากกว่า 5 ชั่วโมง หรือเป็นวันเหลือเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น ตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบัน ผู้ป่วยส่วนมากเป็นกลุ่มกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจหยุดเต้น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและผู้ป่วยบาดเจ็บทางศีรษะรุนแรงซึ่งผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา ได้รับความปลอดภัย และทำให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ

ที่มา : คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

related