svasdssvasds

สรุปดราม่า ปมร้อน ทุกคนมีเวลาเท่ากัน เรื่องนี้บอกอะไรกับสังคมไทยบ้าง ?

สรุปดราม่า ปมร้อน ทุกคนมีเวลาเท่ากัน  เรื่องนี้บอกอะไรกับสังคมไทยบ้าง ?

เรื่องราวของ "เวลา" ก็กลายเป็นประเด็นร้อนของสังคมจนได้ เมื่อมีการหยิบยกคำพูดของ ซีเค เจิง” (CK Cheong) อินฟลูเอนเซอร์ วัย อายุ 30 ปี และปัจจุบัน CEO เว็บไซต์ Fastwork เอามาพูดถึง และกลายเป็นไวรัล เรามาทำความเข้าใจเรื่องนี้กัน

"เวลา” เป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุด เพราะนี้คือสิ่งที่ทุกคนมีเท่ากัน ไม่ว่าจะยากดีมีจน เป็นคนชนชั้นไหนก็ตาม ทุกคนมี "หน่วยเวลา" เท่าๆกัน กล่าวคือ ทุกคนมี 24 ชั่วโมงในการใช้ชีวิตเท่าๆกัน อย่างไรก็ตาม เรื่องราวของ "เวลา" ก็กลายเป็นประเด็นร้อนของสังคมจนได้ เมื่อมีการหยิบยกคำพูดของ ซีเค เจิง” (CK Cheong) อินฟลูเอนเซอร์ วัย อายุ 30 ปี และปัจจุบัน CEO เว็บไซต์ Fastwork  เอามาพูดถึง 

ก่อนอื่นที่จะไปรู้ว่า ดราม่า เรื่องนี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร คงต้องไปทำความรู้จักกับ ซีเค เจิง” (CK Cheong) กันก่อน , ปัจจุบัน ซีเค CK Cheong เป็นผู้บริหารเว็บไซต์ Fastwork ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ให้คนทำงานฟรีแลนซ์ได้ลงประกาศขายงาน ขณะเดียวกันฝั่งผู้ประกอบการก็สามารถเข้ามาจ้างงานเป็นจ๊อบ ๆ ได้โดยไม่ต้องจ่ายเป็นเงินเดือน ส่วนในโลกออนไลน์นั้น CK Cheong ยังทำคอนเทนต์แนวไลฟ์โค้ชธุรกิจ มีผู้ติดตามใน Tiktok กว่า 8 แสน และใน Instagram อีกกว่า 4 แสน ซึ่งนับได้ว่า เขามีอิทธิพลในโลกออนไลน์พอสมควร

ในอดีตนั้น ก่อนที่ ซีเค CK Cheong  จะมาเป็นผู้บริหารสตาร์ตอัพ Fastwork เมื่อปี 2015 , ช่วงเวลาที่เขาอยู่ที่ต่างประเทศ ที่สหรัฐฯ  เขาเลือกที่จะใช้ชีวิตอย่างประหยัดมาก ๆ ไม่เที่ยว ไม่ดื่ม กินเซเว่นวันละมื้อ เช่าห้องที่แทบไม่เป็นห้อง เพื่อเก็บเงินทุกบาททุกสตางค์ จนถึงวันกลับไทยเขามีเงินเก็บถึง 50 ล้าน โดยเริ่มจากการยืมเงินคุณพ่อมาเทรดตั้งแต่วัยรุ่น 

ส่วนประเด็นที่เป็น ไวรัลนั้น เกิดขึ้นจาก ซีเค เจิง” (CK Cheong) พูดในคลิปว่า   “เวลาคนบอกว่าไม่มีเวลามันไร้สาระมาก เขากำลังหลอกตัวเองอยู่ คุณมีเวลาดู Netflix มีเวลาดูซีรีส์ทั้งวันทั้งคืน มีเวลาไปดื่มกับเพื่อน ใช้เวลากับสิ่งที่ไร้ความหมายในชีวิต นั่งดูหนังไปวัน ๆ เสียเวลาไป 3-4 ชม.ต่อวัน เวลาเหล่านั้นสามารถเอาไปออกกำลังกาย อ่านหนังสือ สร้างธุรกิจเล็ก ๆ หรือเป็นฟรีแลนซ์ได้ เชื่อผมเถอะ ทุกคนมีเวลา ถ้าคุณให้ค่ากับอะไร คุณจะให้เวลากับมัน”

ส่วนคลิปที่ 2 ซีเค เจิง เขียนบรรยายว่า “ทุกคนมีเวลา 24 ชม.เท่ากัน” และเล่าว่า เคยมีคนบอกเขาว่าเวลาว่างจะดู Netflix เพื่อฆ่าเวลา เขามองว่า 8 ชม.ที่ดู Netflix นั้นเอาไปศึกษาพัฒนาชีวิตตัวเองได้ ไม่ได้บอกว่าดูหนังหรือเล่นเกมผิด แต่ต้องอย่าลืมพัฒนาชีวิตก่อน แล้วค่อยเอาเวลาที่เหลือไปดู Netflix

คนไทยชอบพูดว่า “ต้นทุนชีวิตไม่เหมือนกัน” แต่สิ่งที่ทุกคนมีเหมือนกันคือ “เวลา” ทำไมไม่เอาเวลาไปศึกษาเรียนรู้ ลองผิดลองถูก แต่ถ้าเอาเวลาไปเสพซีรีส์เกาหลี พระเอกหล่อจังเลย คู่จิ้นน่ารักจัง เราก็ไปไม่ถึงไหนหรอก ดู Netflix ไม่ผิด แต่ผิดถ้ายังไม่พัฒนาตัวเอง

เมื่อสองคลิปนี้กลายเป็นไวรัลของสังคม เพราะทำให้สังคมมองเห็น 2 ฝั่ง มีทั้งเห็นด้วย กับ ไม่เห็นด้วย และสิ่งเหล่านี้ คือสิ่งที่ สังคมข้อคิด ได้จากเรื่องนี้ 

กล่าวคือ 1 คนที่เห็นด้วย แน่นอนว่า สิ่งที่  ซีเค เจิง พูดนั้น ไม่ผิดใดๆเลย เพราะนี่คือ ข้อเท็จจริง ที่สกัดออกมาแล้ว.... ไม่ผิดใดๆเลย เวลา 24 ชั่วโมง คือเวลาที่ทุกคนมีเท่ากัน  เวลาเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเสมอ ไม่เคยย้อนกลับมาได้ และทุกคนมีหน่วยเวลาเท่าๆกัน 

ขณะที่ กลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วย หรือ นั้น มองว่า ซีเค เจิง” (CK Cheong) ขาดความเข้าอกเข้าใจในการสื่อสารไปเล็กน้อย เพราะการ "ตั้งคำถาม" แรงๆ ตอกหน้าคนในสังคมไทยนั้น ส่วนหนึ่งก็อาจจะยัง "ยอมรับไม่ได้" เพราะคนไทยอาจจะยังอ่อนไหวต่อเรื่องนี้  ในอดีตที่ผ่านมา คนในสังคมไทย มีวัฒนธรรม ไม่มีใครชอบการถูก ตอกหน้าแรงๆ แต่สังคมไทย มักจะชอบ "คำแนะนำ" ที่อ่อนโยน มากกว่า  สมมุติ เปลี่ยนเป็น  "ควรจะเอาเวลา ไปทำอะไรที่เป็นประโยชน์ดูไหม ?"

ในความเป็นจริงแล้ว , คนที่บริหารเวลาไม่เป็นนั้นมีอยู่จริง แต่ก็มีคนจำนวนอีกไม่น้อยที่เขาไม่มีเวลาจริง ๆ ด้วยงานที่ทำ คุณภาพชีวิต และเงื่อนไข ปัจจัยต่างๆในการใช้ชีวิต ต้องดิ้นรนในแต่ละวันที่เขาต้องเจอ มันทำให้เขาไม่มีเวลา 

ดังนั้นเวลาได้ยินใครสักคนบอกว่าไม่มีเวลา อย่าเพิ่งสวนว่า “เราทุกคนมีเวลาเท่ากัน”  แต่ทุกคน มีปัจจัย มีเงื่อนไขในการใช้ชีวิตไม่เหมือนกัน 

และที่สำคัญ อย่าตัดสิน ใคร...

related