svasdssvasds

PM 2.5 พ่นพิษ พบผู้ป่วยปี 67 แล้วกว่า 6 แสนคน ป่วยโรคทางเดินหายใจมาอันดับ 1

PM 2.5 พ่นพิษ พบผู้ป่วยปี 67 แล้วกว่า 6 แสนคน ป่วยโรคทางเดินหายใจมาอันดับ 1

กระทรวงสาธารณสุข พบผู้ป่วยจากฝุ่นพิษ PM 2.5 ปี 67 ช่วงระยะเวลาแค่เดือนครึ่งเจอป่วยแล้วกว่า 6 แสนคน ป่วยโรคทางเดินหายใจมาอันดับ 1 ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุเกิน 60 ปี

SHORT CUT

  • พบผู้ป่วยจากฝุ่น PM 2.5 ในปี 67 แล้ว 654,398 คน

  • กลุ่มโรคทางเดินหายใจ (โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง-โรคหืดเฉียบพลัน) อันดับ 1

  • อาการจากฝุ่น PM2.5 ที่ควรระวัง 

กระทรวงสาธารณสุข พบผู้ป่วยจากฝุ่นพิษ PM 2.5 ปี 67 ช่วงระยะเวลาแค่เดือนครึ่งเจอป่วยแล้วกว่า 6 แสนคน ป่วยโรคทางเดินหายใจมาอันดับ 1 ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุเกิน 60 ปี

จากสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ต้นปีที่ผ่านมาจะพบว่าประเทศไทยตกอยู่ในสภาวะฝุ่นพิษ PM2.5 ปกคลุมมาโดยตลอดและส่งผลกระทบสุขภาพทั่วประเทศซึ่งจะมีเพียงไม่กี่วันที่สภาพอากาศปกติหรืออากาศดี 

PM 2.5 พ่นพิษ พบผู้ป่วยปี 67 แล้วกว่า 6 แสนคน ป่วยโรคทางเดินหายใจมาอันดับ 1

ล่าสุดระบบ Health Data Center ของกระทรวงสาธารณสุข รายงานตัวเลขผู้ป่วยด้วยโรคมลพิษทางอากาศ ประจำปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-18 ก.พ. 2567 พบมีผู้ป่วย หรือ ผู้ได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 สะสม 654,398 คน

จำนวนผู้ป่วยและผู้ได้รับผลกระทบจากฝุ่น

  • กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 117,739 คน
  • กลุ่มอายุ 55-59 ปี จำนวน 80,738 คน
  • กลุ่มอายุ 5-9 ปี จำนวน 69,240 คน
  • กลุ่มอายุ 50-54 ปี จำนวน 64,310 ราย

โรคกระทบจากฝุ่น PM2.5

  • กลุ่มโรคทางเดินหายใจ (โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง-โรคหืดเฉียบพลัน) 302,193 คน
  • กลุ่มโรคหัวใจหลอดเลือดและสมองอุดตัน 80,072 คน
  • กลุ่มโรคตาอักเสบ 119,684
  • กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ 144,080 คน

PM 2.5 พ่นพิษ พบผู้ป่วยปี 67 แล้วกว่า 6 แสนคน ป่วยโรคทางเดินหายใจมาอันดับ 1  

อาการจากฝุ่น PM2.5 

  • คัดจมูก มีน้ำมูก ไอแห้ง มีเสมหะ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด
  • แสบตา คันตา น้ำตาไหล ตาแดง มองภาพไม่ชัด
  • แสบจมูก แสบคอเลือดกำเดาไหล เสียงแหบ
  • คันตามร่างกาย มีผื่น
  • เท้าบวม หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย 

ทั้งนี้ ขอให้ประชาชมติดตามรายงานสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 และปฏิบัติตามมาตรการ “หลีก ปิด ใช้ เลี่ยง ลด” คือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่น โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ปิดประตู ปิดหน้าต่าง ทำความสะอาดบ้านด้วยผ้าชุบน้ำ หากจำเป็นต้องออกจากบ้าน ให้ใช้หน้ากากป้องกันฝุ่น PM2.5 เลี่ยงการออกกำลังกายหรือทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานาน ลดการก่อ PM2.5 อาทิ ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล หมั่นเช็คสภาพรถยนต์ ใช้บริการรถสาธารณะ ไม่เผาป่า หรือเผาขยะในครัวเรือน ลดการจุดธูป เทียน