svasdssvasds

ก้าวไกล – ภูมิใจไทย จ่อยุบพรรคเหมือนกัน แต่ความเร็วต่างกัน?

ก้าวไกล – ภูมิใจไทย จ่อยุบพรรคเหมือนกัน แต่ความเร็วต่างกัน?

ก้าวไกล – ภูมิใจไทย จ่อยุบพรรคเหมือนกัน แต่ กกต.ดำเนินการด้วยความเร็วต่างกัน สะท้อนตาช่างที่เอนเอียงของกระบวนการยุติธรรมไทย หรือไม่

SHORT CUT

  • กระบวนการร้องเรียนเรื่องแก้ไข ม.112 ไปจนถึง กกต. ยื่นศาล รธน. ยุบพรรคก้าวไกล ดำเนินไปตามขั้นตอนอย่างรวดเร็ว 
  • กรณียุบพรรคภูมิใจไทย แม้จะมีการยื่นเรื่องยุบพรรคมาตั้งแต่ปี 66 จนถึงศาล รธน. ฟัน ศักดิ์สยาม พ้นตำแหน่ง แต่ กกต. รวบรวมหลักฐานไม่เสร็จ
  • การยุบพรรคก้าวไกลเร็ว อาจเป็นโอกาสให้ ส.ส. ของพรรค มีเวลาเตรียมตัว และปั้นพรรคขึ้นใหม่ เพื่อเตรียมสู้ศึกเลือกตั้ง

ก้าวไกล – ภูมิใจไทย จ่อยุบพรรคเหมือนกัน แต่ กกต.ดำเนินการด้วยความเร็วต่างกัน สะท้อนตาช่างที่เอนเอียงของกระบวนการยุติธรรมไทย หรือไม่

เวลานี้ สังคมต่างจับตาดูว่า วันพุธที่ 29 มี.ค. 67 ที่จะถึงนี้ ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณารับคำร้อง “ยุบพรรคก้าวไกล” จากปมแก้ไข ม.112 ของ กกต. หรือไม่ ซึ่งถ้าผลออกมาคือรับ ก็จะทำให้ ส.ส. ของพรรคนี้ต้องมาลุ้นตัวโก่งกันอีกรอบ

จ่อยุบพรรคก้าวไกล ซ้ำรอยอนาคตใหม่?

คดี ม.112 ของพรรคก้าวไกล เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 66 เมื่อ นาย นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร อดีตทนายความของ พระพุทธะอิสระ ได้ยื่นคำร้องกับศาลรัฐธรรมนูญ ว่าการกระทำของนายพิธา และพรรคก้าวไกลที่มีการเสนอแก้ไข ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 นั้น เข้าข่ายล้มล้างการปกครองหรือไม่ ซึ่งศาลฯ ก็รับเรื่อง และมีการสอบยาน และตรวจเอกสารหลักฐานไปกว่า 37 ครั้ง ซึ่งในระหว่างรอฟังคำวินิจฉัยจากศาลฯ นั้น ทางพรรคก้าวไกลก็มีการปล่อยคลิปที่บอกว่า แก้ไข ม.112 ไม่เท่ากับล้มล้าง แต่คือหน้าที่ตามระบบประชาธิปไตยรัฐสภา เพื่อสื่อสารจุดยืนอีกด้วย

แต่ วันที่ 31. ม.ค. 67 ศาลรัฐธรรมนูญก็มีคำวินิจฉัยออกมาว่า การกระทำของนายพิธา และ พรรคก้าวไกล เข้าข่ายใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครอง พร้อมสั่งให้หยุดการกระทำดั่งกล่าวโดยทันที

แน่นอนว่าเรื่องไม่ได้จบลงแค่นั้น เพราะหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมาเพียงแค่ 1 วัน นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ และ นายธีรยุทธ สุวรรณเกสร ทนายความอิสระ ก็ได้เดินทางมายื่น เรื่องต่อ กกต. ในวันที่ 1 ก.พ. 67 โดยขอให้พิจารณาเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกลจากคดีดังกล่าว

ต่อมาวันที่ 12 มี.ค. 67 หรือเพียง 1 เดือนเศษๆ หลังจาก กกต. รับเรื่อง คณะกรรมการ กกต. ก็มีมติส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ให้พิจารณายุบพรรคก้าวไกล และตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค จากการแก้ ม.112 โดยยึดตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ระบุว่าเป็นการล้มล้างการปกครอง

ก้าวไกล – ภูมิใจไทย จ่อยุบพรรคเหมือนกัน แต่ความเร็วต่างกัน?

ท้ายที่สุด จึงต้องจับตาว่าคณะบริหารของพรรคก้าวไกลชุดนี้ จะมีชะตากรรมซ้ำรอยกับรุ่นพี่ที่บริหารพรรคอนาคตใหม่จนถูกยุบไปก่อนหน้านี้หรือไม่ และถ้าเกิดถูกยุบขึ้นมาจริง ๆ ก็อาจทำให้ 44 ส.ส. ของพรรคก้าวไกล ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าวถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองไปด้วย ซึ่งมีรายชื่อทั้งหมดดังนี้

  1. นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ในเวลานั้น)
  2. นายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  3. นายธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  4. น.ส.ญาณธิชา บัวเผื่อน ส.ส.จันทบุรี
  5. น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  6. นายกัญจน์พงศ์ จงสุทธนามณี ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  7. น.ส.เบญจา แสงจันทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  8. พ.ต.ต.ชวลิต เลาหอุดมพันธ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  9. นายนิติพล ผิวเหมาะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  10. นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ส.ส.กทม.
  11. นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.กทม.
  12. นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  13. นายปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.พิษณุโลก
  14. นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  15. นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  16. นายปริญญา ช่วยเกตุ คีรีรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  17. นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  18. นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.กทม.
  19. น.ส.ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  20. น.ส.สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา ส.ส.นครปฐม
  21. นายวรภพ วิริยะโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  22. นายคำพอง เทพาคำ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  23. นายสมเกียรติ ถนอมสินธุ์ ส.ส.กทม.
  24. นายทองแดง เบ็ญจะปัก ส.ส.สมุทรสาคร
  25. นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ส.ส.ฉะเชิงเทรา
  26. นายจรัส คุ้มไข่น้ำ ส.ส.ชลบุรี
  27. นายสุเทพ อู่อ้น ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  28. นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  29. นายอภิชาติ ศิริสุนทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  30. นายองค์การ ชัยบุตร ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  31. พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  32. นายณัฐพล สืบศักดิ์วงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  33. นายศักดินัย นุ่มหนู ส.ส.ตราด
  34. นายมานพ คีรีภูวดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  35. นายวาโย อัศวรุ่งเรือง ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  36. น.ส.วรรณวิภา ไม้สน ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  37. นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  38. นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  39. นายทวีศักดิ์ ทักษิณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  40. นายสมชาย ฝั่งชลจิตร ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  41. นายสมเกียรติ ไชยวิสุทธิกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  42. นายวุฒินันท์ บุญชู ส.ส.สมุทรปราการ
  43. นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  44. นายสุรวาท ทองบุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ

ยุบพรรคภูมิใจไทย อยู่ในขั้นตอนรวมหลักฐาน

ยุบพรรคภูมิใจไทย อยู่ในขั้นตอนรวมหลักฐาน

ไม่ได้มีแค่ฝ่ายค้านอย่างพรรคก้าวไกลเท่านั้นที่ถูกยื่นยุบพรรค เพราะถ้ามองไปที่ฝั่งของรัฐบาล ก็มีเช่นกัน โดยเป็นกรณีของพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเป็นประเด็นมาตั้งแต่ช่วง มี.ค.67 ก่อนการเลือกตั้งทั่วไป

โดยนาย ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ได้ยื่นคำร้องต่อ กกต. ให้ยุบพรรคภูมิใจไทย โดยมีเหตุผลว่า พรรคภูมิใจไทยรับเงินมาโดยไม่ชอบ ซึ่งนายศุภวัฒน์ เกษมสุทธิ์ มีพฤติกรรมเป็น “นอมินี” ถือหุ้นในหจก.บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น แทน นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม (ในเวลานั้น) และ ทั้ง นายศุภวัฒน์ หจก.บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น บริษัท ศิลาชัย บุรีรัมย์ จำกัด ได้มีการบริจาคเงินเข้าพรรคภูมิใจไทย ตั้งแต่ปี 2561-2565 รวมจำนวนหลาย 10 ล้านบาท เงินบริจาคดังกล่าว จึงอาจเข้าข่ายขัดมาตรา 72 พ.ร.ป. ที่กำหนดว่า ห้ามพรรคการเมืองรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

โดยครั้งนั้น นายชูวิทย์ย้ำว่า การตัดสิน ของกกต. และศาลรัฐธรรมนูญ ควรจะกระทำให้แล้วเสร็จก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง หากยังไม่เสร็จ ตนก็จะรณรงค์ไม่ให้เลือกพรรคภูมิใจไทย

แต่ กกต. และศาลรัฐธรรมนูญก็ยังไม่ได้ฟันธงในเรื่องนี้ จนการเลือกตั้งปี 66 ผ่านพ้นไป และในวันที่ 17 ม.ค. 67 ศาลรัฐธรรมนูญก็มีมติเสียงข้างมาก วินิจฉัย นายศักดิ์สยาม ให้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี จากรณีปมถือหุ้น “บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น” และนำ หจก.บุรีเจริญฯ มาเป็นคู่สัญญากับรัฐ รับงานในกระทรวงคมนาคมที่ตัวเองเป็น

โดยมีรายละเอียดว่า

นายศักดิ์สยาม ยังคงไว้ซึ่งหุ้นส่วน และยังคงเป็นผู้ถือหุ้น และเจ้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น อย่างแท้จริง โดยพบข้อพิรุธว่า นายศุภวัฒน์ เกษมสุข บริจาคเงินส่วนตัว เป็นทรัพย์สินประเภทงานวิจัย มูลค่า 2,770,000 บาท ในปี 2562 แต่บริษัทในนาม ห้างหุ้นส่วนจำกัด บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น บริจาค 4,800,000 บาท ปีเดียวกัน และจำนวน 6 ล้านบาท ในปี 2565 ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาภายหลังที่นายศักดิ์สยาม โอนหุ้นห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญคอนสตรัคชั่น ให้กับนายศุภวัฒน์ ในปี 2561 และไม่ปรากฏว่า ช่วงเวลาก่อนการโอนหุ้น นายศุภวัฒน์ และห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญ คอนสตรัคชั่น บริจาคเงินทรัพย์สินอื่นใดให้แก่พรรคภูมิใจไทย หรือมีความเกี่ยวข้องกับพรรคภูมิใจไทย มาก่อน

โดยนายศุภวัฒน์ เคยเบิกความว่า ก่อนหน้าที่จะรับโอนหุ้น ไม่เคยบริจาคเงินให้กับพรรคภูมิใจไทย จึงเป็นข้อพิรุธสงสัยว่า นายศุภวัฒน์ และบริษัทห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญคอนสตรัคชั่น ไม่เคยมีความเกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์ใดๆ กับพรรคภูมิใจไทย

แต่ภายหลังที่ นายศักดิ์สยาม หรือผู้ถูกร้อง โอนหุ้นให้นายศุภวัฒน์แล้ว พบว่าทั้งนายศุภวัฒน์ และห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญคอนสตรัคชั่น ได้บริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้กับพรรคการเมืองที่นายศักดิ์สยาม มีตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรครัฐมนตรี นอกจากนั้น ศาลฯ ยังพูดถึงประเด็นที่นายศุภวัฒน์ และห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญคอนสตรัคชั่น ได้บริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้กับพรรคการเมืองที่นายศักดิ์สยาม มีตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรค

ทำให้กรณีนี้ มีความคล้ายคลึงกับคดีของ นาย “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” ที่เคยบริจาคเงินให้พรรคอนาคตใหม่ จนถูกยุบพรรคในปี 62

แต่ในกรณีของพรรคภูมิใจไทย แม้จะมีการยื่นเรื่องยุบพรรคมาตั้งแต่ปี 66 จนถึงศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ นายศักดิ์สยาม พ้นจากตำแหน่งไปแล้วในปี 67 นี้ แต่จนแล้วจนรอด กกต. ก็ยัง ไม่ส่งคำร้อง “ยุบพรรคภูมิใจไทย” ที่นายชูวิทย์ยืนเรื่องเอาไว้ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด มีแต่การออกมาแถลงของประธาน กกต. ว่า ยังอยู่ในกระบวนการรวบรวม อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานอยู่

เมื่อการทำงานของ กกต. ออกมาเป็นเช่นนี้ จึงทำให้สังคมอดตั้งคำถามไม่ได้ว่า กระบวนการยุติธรรมของไทยมีความเอนเอียงไปทางฝั่งใดฝั่งหนึ่งหรือไม่ เพราะทั้ง 2 คดีก็มีคำตัดสินจากศาลรัฐธรรมนูญออกมาแล้ว แต่ทำไมถึงใช้เวลาดำเนินการ ต่างกันถึงเพียงนี้

อย่างไรก็ตาม ถ้าพรรคภูมิใจไทยถูกยุบขึ้นมาจริงๆคณะกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด 10 คน ก็อาจถูก เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไปด้วย ซึ่งได้แก่

  1. นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรค
  2. นายทรงศักดิ์ ทองศรี รองหัวหน้าพรรค คนที่ 1
  3. นายบุญลือ ประเสริฐโสภา รองหัวหน้าพรรค คนที่ 2
  4. นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รองหัวหน้าพรรค คนที่ 3
  5. นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รองหัวหน้าพรรค คนที่ 4
  6. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รองหัวหน้าพรรค คนที่ 5
  7. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เลขาธิการพรรค
  8. นายรังสิกร ทิมาตฤกะ รองเลขาธิการพรรค คนที่ 2
  9. นายศุภชัย ใจสมุทร นายทะเบียนพรรค
  10. นายสรอรรถ กลิ่นประทุม กรรมการบริหารอื่น

ยุบพรรคได้ แต่ทำให้ตายสนิทไม่ได้

ยุบพรรคได้ แต่ทำให้ตายสนิทไม่ได้

หากพรรคก้าวไกลถูกยุบขึ้นมาจริงๆ แน่นอนว่า ส.ส. ของพรรคต้องรีบหาพรรคใหม่สังกัดทันที ซึ่งกลุ่มแรกที่จะรับข้อเสนอจากพรรคอื่นจะไม่ใช่เนื้อแท้ที่มีอุดมการณ์เดียวกับ คณะกรรมการบริหารพรรค หรือพูดให้ชัดคือเป็นกลุ่มที่ไม่ขอยุ่งกับเรื่อง ม.112

โดยนักวิเคราะห์การเมืองบางคนมองว่า ส.ส. เหล่านั้นอาจไปอยู่พรรคการเมืองระดับกลาง ซึ่งจะทำให้พรรคเหล่านั้นมีพลังเพิ่มขึ้นในสภา จนสามารถต่อรองกับพรรคเพื่อไทยได้ไม่ยาก ในทางกลับกัน ส.ส. ของก้าวไกลที่ยังคงเลือดเข้มข้น และรอดจากการถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองมาได้พวกเขาก็อาจตั้งพรรคใหม่ที่เป็นการสืบทอดอุดมการณ์ของก้าวไกลขึ้นมา และถ้าพรรคใหม่นี้มีแกนนำที่ดูดี พูดเก่ง โปรไฟล์โดดเด่น ก็อาจได้คะแนนเสียงอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งรอบหน้าได้เช่นกัน

กล่าวคือ การยุบพรรคก้าวไกลเร็ว อาจเป็นโอกาสให้ ส.ส. ของพรรค มีเวลาเตรียมตัว และปั้นพรรคขึ้นใหม่ เพื่อเตรียมสู้ศึกเลือกตั้งครั้งต่อไปได้ไม่ยาก ส่วนพรรคที่ถูกยุบช้า หรือถ้าโชคร้ายสุดๆ ไปถูกยุบในช่วงก่อนเลือกตั้งพอดี ก็อาจทำให้ ส.ส. หาพรรคสังกัดใหม่ไม่ทัน หรือไม่มีเวลาตั้งพรรคการเมืองใหม่ขึ้นมาสู้ศึกเลือกตั้งก็ได้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง  

related