svasdssvasds

การเข้าถึงเครื่องปรับอากาศ อาจเป็นตัวชี้วัดความเหลื่อมล้ำในอนาคตได้ ?

การเข้าถึงเครื่องปรับอากาศ อาจเป็นตัวชี้วัดความเหลื่อมล้ำในอนาคตได้ ?

เครื่องปรับอากาศ อาจเป็นตัวชี้วัดความเหลื่อมล้ำในอนาคตได้ โดยทั่วไปครัวเรือนจะถือว่าอยู่ในภาวะยากจนด้านพลังงาน หากต้องจ่ายค่าไฟเกิน 10% ของรายได้

SHORT CUT

  • โดยทั่วไปครัวเรือนจะถือว่าอยู่ในภาวะยากจนด้านพลังงาน หากต้องจ่ายค่าไฟเกิน 10% ของรายได้ทั้งหมด
  • ภายในปี 2050 ชาวยุโรป 60 ล้านคนจะต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนโดยไม่สามารถเข้าถึงเครื่องปรับอากาศได้
  • ครัวเรือนที่ไม่ได้ใช้เครื่องปรับอากาศ คือกลุ่มหลักที่ต้องรับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน

เครื่องปรับอากาศ อาจเป็นตัวชี้วัดความเหลื่อมล้ำในอนาคตได้ โดยทั่วไปครัวเรือนจะถือว่าอยู่ในภาวะยากจนด้านพลังงาน หากต้องจ่ายค่าไฟเกิน 10% ของรายได้

เมื่อก่อน เครื่องปรับอากาศ หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า “แอร์” อาจไม่ใช่ปัจจัย 4 ที่ทุกครอบครัวต้องมี แต่เมื่ออากาศร้อนขึ้นทุกปี และผลักดันให้ผู้คนต้องหาวิธีดับร้อน การเข้าถึงเครื่องปรับอากาศ ก็อาจเป็นตัวชี้วัดความไม่เท่าเทียมของสังคมนั้นได้

เมื่อปีที่แล้ว “เดอ เซียน เอ็นริกา (Enrica De Cian)” นักวิทยาศาสตร์การวิจัย และ ศาสตราจารย์ที่ Ca' Foscari University of Venice ในอิตาลี กล่าวว่า การใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นเพื่อสร้างความเย็น เพิ่มความยากจนด้านพลังงาน กับความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศและภายในประเทศได้ 

การเข้าถึงเครื่องปรับอากาศ อาจเป็นตัวชี้วัดความเหลื่อมล้ำในอนาคตได้ ?

เพราะเครื่องปรับอากาศมีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก และมีแนวโน้มจะตอกย้ำความไม่เท่าเทียมกันระหว่างบ้านที่มีใช้ กับบ้านที่ไม่มีใช้ ซึ่ง จากการศึกษาประเทศพัฒนาแล้ว 8 ประเทศ ที่มีภูมิอากาศต่างกัน ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ สเปน สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งพบว่า ครัวเรือนที่มีเครื่องปรับอากาศ ต้องจ่ายค่าไฟฟ้ามากว่าครัวเรือนที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศสูงถึง 42 % ในแต่ละปี และคำนวณคร่าวๆ ว่า ภายในปี 2050 ชาวยุโรป 60 ล้านคนจะต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนโดยไม่สามารถเข้าถึงเครื่องปรับอากาศได้

ยิ่งไปกว่านั้น ระหว่าง 20% ถึง 30% ของครัวเรือนในบราซิล อินเดีย และอินโดนีเซีย ซึ่งเสี่ยงเจอสภาพอากาศร้อนจัดทุกปี จะไม่มีกำลังพอที่จะซื้อเครื่องปรับอากาศเช่นกัน และพวกเขาจะต้องดำเนินชีวิตประจำวันอย่างทุกข์ทรมานจากความร้อน

ส่วนในทวีปอเมริกาเหนือ แม้ประชากรส่วนใหญ่จะเข้าถึงเครื่องทำความเย็นได้ และไม่ได้มีความจำเป็นต้องใช้เท่ากับประเทศเขตร้อน แต่แต่ปัจจุบันมีเพียง 15% ของประชากร 3.5 พันล้านคนที่อาศัยอยู่ในสภาพอากาศร้อนเท่านั้นที่มีเครื่องปรับอากาศ

ดังนั้น เครื่องปรับอากาศทำให้ความแตกแยกทางสังคมภายในประเทศต่างๆ เพราะโดยทั่วไปครัวเรือนจะถือว่าอยู่ในภาวะยากจนด้านพลังงาน หากต้องจ่ายค่าไฟเกิน 10% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งในประเทศเขตหนาว คือการจ่ายค่าพลังงานเครื่องทำความร้อน แต่เวลานี้พื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเพราะภาวะโลกร้อน ดังนั้นความยากจนทางพลังงาน ย่อมหมายถึงการมีรายได้ในการซื้อและบำรุงเครื่องทำความเย็นภายในครัวเรือนด้วยเช่นกัน

การเข้าถึงเครื่องปรับอากาศ อาจเป็นตัวชี้วัดความเหลื่อมล้ำในอนาคตได้ ?

คนที่ไม่ได้ใช้แอร์ ต้องรับผลกระทบโลกร้อนมากกว่า

ในปี 2022 ฝรั่งเศสมีงานวิจัยที่พิสูจน์ว่า การที่ประชากรเมืองใช้เครื่องปรับอากาศเป็นจำนวนมาก สามารถทำให้เมืองร้อนขึ้น 2 องศา เนื่องจากเครื่องปรับอากาศทำงานเหมือนปั๊มความร้อน และระบายความร้อนภายในห้องด้วยการปล่อยออกสู่ภายนอก ซึ่งเครื่องปรับอากาศ ใช้ไฟฟ้ามากกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ และคิดเป็น 10% ของการใช้พลังงานทั้งหมดบนโลก!

นอกจากนี้ การใช้แอร์อย่างต่อเนื่อง ยังเป็นสาเหตุของการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ดังนั้น ครัวเรือนไม่ได้ใช้เครื่องปรับอากาศไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ต้องรับผลกระทบจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น มากกว่าครัวเรือนที่มีเครื่องปรับอากาศใช้อย่างเลี่ยงไม่ได้ ทั้งๆ ที่พวกเขามีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด

ที่มา : Lemon De / Climatebase

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

 

 

related