svasdssvasds

เจอรถติดอยู่กับที่เป็นเวลานาน เพิ่มความเครียด และลามสู่โรคซึมเศร้าได้!

เจอรถติดอยู่กับที่เป็นเวลานาน เพิ่มความเครียด และลามสู่โรคซึมเศร้าได้!

ใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางการจราจรหนาแน่นเป็นเวลาติดต่อกันหลายชั่วโมง เพิ่มความเครียด และลามไปเป็นโรคซึมเศร้าได้!

SHORT CUT

  • ผู้ที่เดินทางไปกลับจากที่ทำงานโดยรถยนต์ นานเกิน 60 นาที มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ที่ใช้เวลาน้อยกว่า
  • เมื่อคนคนหนึ่งติดอยู่ในการจราจรหนาแน่นเป็นเวลานาน อาจทำให้ระดับฮอร์โมในเลือดเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางอารมณ์
  • คนที่เผชิญกับรถติดในเมืองใหญ่ ยังเสี่ยงรับสารพิศจากควันรถบริเวณใกล้เคียง แม้จะปิดกระจกมิดชิดแล้วก็ตาม

ใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางการจราจรหนาแน่นเป็นเวลาติดต่อกันหลายชั่วโมง เพิ่มความเครียด และลามไปเป็นโรคซึมเศร้าได้!

ช่วงท้ายเทศกาลสงกรานต์ หลายคนน่าจะเดินทางกลับเข้ากรุงเทพเเล้วเจอกับรถติดสุดลูกหูลูกตา เพราะไม่ว่า จะอยู่ทางเหนือ อีสาน ใต้ หรือตะวันออก ทุกคนก็ต้องเดินทางกลับมาทำงานที่กรุงเทพเหมือนกัน

ยิ่งไปกว่านั้น การสิ้นสุดของเทศกาลใดๆ ก็ตาม ย่อมหมายความว่า ถนนหลายสายต่างๆ ในกรุงเทพจะกลับมาเผชิญกับปัญหารถติดเหมือนปกติ ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นปัญหาระดับชาติที่หลายฝ่ายพยายามหาทางแก้ไขกันมานาน เพราะทุกวันนี้สุขภาพกายและใจของคนกรุงเทพ กำลังพังลงเรื่อยๆ จากการที่ต้องใช้ชีวิตอยู่บนท้องถนนเป็นเวลานาน

เพราะการนั่งอยู่ในรถโดยไม่ได้ขยับไปไหน โดยที่ตายังโดนแสงไฟจากรถคันข้างๆ และหูยังได้ยินเสียงบีบแตรรถอยู่เรื่อยๆ นั้น ส่งผลร้ายต่อตัวเรามากกว่าที่คิด

ผลเสียของรถติด

ผลกระทบของรถติด 

เมื่อปีที่แล้ว Gallup บริษัทด้านการวิเคราะห์ของอเมริกัน เผยผลสำรวจว่า ผู้ที่เดินทางไปกลับจากที่ทำงานโดยรถยนต์ นานเกิน 60 นาที มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ที่ใช้เวลาน้อยกว่า (ประมาณครึ่งชั่วโมง) เพราะการเดินทางโดยใช้เวลามากนั้น จะทำให้เกิดความทุกข์ทรมานทางจิตใจและความบกพร่องทางสุขภาพจิตด้วย

เนื่องจากเมื่อคนคนหนึ่งต้องเจอรถติดนานๆ ทุกวัน จะมีเวลาว่างน้อยลงในการทำสิ่งที่รักหลังเลิกงาน ซึ่งจะทำให้ความเครียดจากการทำงานยังคงสะสมอยู่ในหัวพวกเขา นอกจากนี้คนเหล่านั้นจะมีเวลาดูแลสุขภาพของตัวเองน้อยลง

ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อคนคนหนึ่งติดอยู่ในการจราจรหนาแน่นเป็นเวลานาน อาจทำให้ระดับฮอร์โมนอะดรีนาลีนในเลือดเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางอารมณ์ รวมไปถึงทำให้ อัตราการเต้นของหัวใจและระดับความดันโลหิตสูง ซึ่งกระตุ้นให้เกิดความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า และมีปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ นอกจากนี้ คนที่เผชิญกับรถติดในเมืองใหญ่ ยังเสี่ยงรับสารพิศจากควันรถบริเวณใกล้เคียง แม้จะปิดกระจกมิดชิดแล้วก็ตาม

ผลกระทบของรถติด คืออาการซึมเศร้า

 

ส่วนเรื่องร่างกายนั้น แน่นอนหากนั่งนานๆ ย่อมต้องมีอาการ ปวดคอ กับปวดหลัง ยิ่งต้องนั่งทั้งในออฟฟิศ และในรถรวมกันหลายชั่วโมง ยิ่งสุ่มเสี่ยงต่อการเป็น โรคกล้ามเนื้อคออักเสบ ซึ่งต้องรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น นอกจากนี้หากต้องอั้นปัสสาวะนานๆ ทุกครั้งที่รถติด ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ได้ด้วย

อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหารถเรื่องติดในเมืองนั้นไม่ใช่เรื่องงาน เพราะเมื่อความเจริญกระจุก ผู้คนก็ย่อมกระจุกอยู่ที่เดียวกันไปด้วย ยิ่ง ในปี 2022 กรุงเทพฯ เคยถูกจัดให้เป็นเมืองอันดับ 2 ที่ทำให้ผู้คนเสียเวลาบนท้องถนนมากที่สุดของเอเชีย โดยคิดเป็นเวลาเฉลี่ยมากถึง 67 ชั่วโมงต่อปีของผู้ขับขี่ 1 คน ก็ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่าคนไทยสุ่มเสี่ยงมีปัญหาสุขภาพจิตมากกว่าใครบนโลก

ในเมื่อคนมีอำนาจยังแก้ปัญหาเรื่องรถติดให้เราไม่ได้ เราก็ต้องแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ดังนั้นเมื่อต้องติดอยู่กลางถนนเป็นชั่วโมง แทนที่จะกังวลมากเกินไปหรือเครียดกับเรื่องที่ควบคุมไม่ได้ ให้เปลี่ยนเป็นการเปิดเพลงเบาๆ ฟัง เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน หรือพลิกวิกฤติเป็นโอกาส ด้วยการฟังพอดแคสต์พัฒนาชีวิตไปเลย จะได้กลับบ้านไปพร้อมกับแรงบันดาลใจใหม่

หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือใช้เวลาตอนนั้น ทักไปคุยกับเพื่อนสนิทสักคน หรือครอบครัวที่ไม่ได้เจอหน้ากันนาน เพื่อให้เกิดกำลังใจในชีวิต ก็น่าสนใจไม่น้อย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

related