svasdssvasds

พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 99 ปี แห่งการครองราชย์ สู่ 100 ปี บรมราชาภิเษก

พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 99 ปี แห่งการครองราชย์ สู่ 100 ปี บรมราชาภิเษก

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ รำลึกถึง พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) 99 ปี แห่งการครองราชย์ สู่ 100 ปี พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

SHORT CUT

  • รัชสมัยของพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ของประเทศไทยอย่างมาก พระองค์ทรงแก้ไขวิกฤตด้วยการ ยึดนโยบายรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ทรงตัดลดงบประมาณ รวมถึงยุบรวมหน่วยงานต่างๆ แม้จะทำให้ข้าราชการบางส่วนไม่พอใจ แต่ก็ช่วยให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตไปได้
  • แม้จะอยู่ในช่วงวิกฤต พระองค์ยังทรงมุ่งมั่นพัฒนาประเทศในหลายด้าน ทั้งการขยายเส้นทางคมนาคม พัฒนาการศึกษา และสนับสนุนงานด้านศิลปวัฒนธรรม
  • พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างในการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ยังคงเป็นที่ประจักษ์และจดจำในใจของปวงชนชาวไทย

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ รำลึกถึง พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) 99 ปี แห่งการครองราชย์ สู่ 100 ปี พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2468 และทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 รัชสมัยของพระองค์นับเป็นยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับโลกและภายในประเทศไทย

พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 99 ปี แห่งการครองราชย์ สู่ 100 ปี บรมราชาภิเษก

สภาวะกาลสมัยรัชกาลที่ 7

ในยุคของพระองค์อยู่ในบยุคที่กระแสโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย มีความเสื่อมศรัทธาในสถาบันกษัตริย์ ระบบกษัตริย์ล่มสลาย นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองในหลายประเทศ เช่น ตุรกี เยอรมนี ออสเตรีย ฮังการี และรัสเซีย เช่นเดียวกันกับต่างประเทศ ภายในประเทศไทยก็มีกระแสเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองเช่นกัน

พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 99 ปี แห่งการครองราชย์ สู่ 100 ปี บรมราชาภิเษก

รัชสมัยของพระองค์ต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก รายได้หลักของประเทศจากการค้าข้าวลดลงอย่างมาก อีกทั้งยังต้องประสบปัญหาภัยแล้ง ทำให้รัฐบาลเก็บภาษีได้น้อยลง

เพื่อแก้ไขวิกฤต พระองค์ทรงยึดนโยบายรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ทรงตัดลดงบประมาณ โดยเริ่มจากการลดรายจ่ายในส่วนของพระองค์เองเป็นแบบอย่าง นอกจากนี้ยังมีการยุบรวมหน่วยงานต่างๆ เช่น โรงเรียนพรานหลวง และกรมมหรสพ ซึ่งเป็นหน่วยงานสำคัญในการเชิดชูวัฒนธรรมด้านดนตรีและนาฏกรรม แม้มาตรการรัดเข็มขัดจะส่งผลให้ข้าราชการจำนวนมากไม่พอใจ แต่ก็ทำให้ประเทศไทยสามารถก้าวผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมาได้

การพัฒนาประเทศ

แม้จะอยู่ในช่วงวิกฤต พระองค์ก็ยังทรงมุ่งมั่นพัฒนาประเทศในหลายด้าน ขยายเส้นทางรถไฟ สร้างถนน เชื่อมโยงภาคต่างๆ พัฒนาสนามบินดอนเมือง และจัดตั้งบริษัทเดินอากาศไทย พัฒนากิจการวิทยุและโทรศัพท์ให้แพร่หลายทั่วกรุงเทพฯ ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา ยกเลิกการเก็บค่าการศึกษา พัฒนาการศึกษาถึงระดับอุดมศึกษา และมอบทุนการศึกษา ทรงสนับสนุนงานด้านวรรณกรรมและศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงสืบทอดวัฒนธรรมด้านดนตรีและนาฏกรรม โดยโปรดให้คัดเลือกนักดนตรีและนาฏศิลปินที่มีความสามารถมาอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์

พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 99 ปี แห่งการครองราชย์ สู่ 100 ปี บรมราชาภิเษก

จะเห็นได้ว่ารัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายมากมาย ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม พระองค์ทรงนำพาประเทศชาติฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงเป็นแบบอย่างในการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และทรงวางรากฐานการพัฒนาประเทศในหลายๆ ด้าน พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ยังคงเป็นที่ประจักษ์และจดจำในใจของปวงชนชาวไทยตราบจนทุกวันนี้
ดังนั้นสถาบันพระปกเกล้า จึงขอเชิญพสกนิกรชาวไทยทุกท่าน ร่วมงานเฉลิมพระเกียรติ “99 ปี แห่งการครองราชย์ สู่ 100 ปี พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระราชกรณียกิจนานัปการของพระองค์ ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย

ภายในงาน พบกับ นิทรรศการอันทรงคุณค่า เกี่ยวกับพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว งานเสวนาทางวิชาการ บรรยายพิเศษ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ การแสดงเฉลิมพระเกียรติ จากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร อันเกี่ยวเนื่องในรัชสมัย โดยเฉพาะงานสมโภชพระนคร 150 ปี

มีกิจกรรมให้ร่วมสนุกมากมายไม่ว่าจะเป็น ถ่ายภาพย้อนยุคด้วย AI เวิร์คชอปทำยาดม ต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทอง มาลัยลูกปัด และดอกไม้โปรยทาน ชมและชิมอาหารย้อนยุค เลือกซื้อสินค้าชุมชนจากบูธนักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า

พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 99 ปี แห่งการครองราชย์ สู่ 100 ปี บรมราชาภิเษก

โดย งานจะจัดขึ้นตลอด 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 10 - 12 มกราคม 2568 ระหว่างเวลา 17.00 – 20.30 น. ณ อาคารใหม่สถาบันพระปกเกล้า หลานหลวง และพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ขอเชิญชวนแต่งกายชุดไทย เพื่อร่วมเก็บภาพบรรยากาศอันงดงามสมโภชอย่างจุใจ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook: King Prajadhipok Museum

related