IAG คาดการณ์ไทม์ไลน์ สถานบันเทิงครบวงจรในไทย พร้อมจับตา 3 ฉากทัศน์ เปิด 6 บริษัทยักษ์ใหญ่รอประมูลโครงการแสนล้าน
ประเทศไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่จุดเปลี่ยนสำคัญ เมื่อการพัฒนา “สถานบันเทิงครบวงจร” หรือ Entertainment Complex กลายเป็นวาระร้อนที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนระดับโลกกำลังจับตา โดยรายงานล่าสุดจาก Inside Asian Gaming (IAG) ที่เผยแพร่เมื่อ 30 มีนาคม 2568 ชี้ให้เห็นว่าความสำเร็จของโครงการนี้จะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจทางนโยบายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
IAG ประเมินว่ามีบริษัทระดับโลกอย่างน้อย 6 รายจากทั้งหมด 15 ราย ที่มีศักยภาพสูงในการยื่นประมูล ได้แก่ :
แม้ตัวเลขนี้จะสะท้อนความสนใจที่แข็งแกร่ง แต่ก็ยังน้อยกว่าญี่ปุ่นซึ่งเคยมีผู้แสดงความสนใจกว่า 20 ราย สะท้อนถึงความท้าทายเชิงโครงสร้างที่ไทยยังต้องแก้ไข
IAG ระบุว่าหากไทยต้องการเป็นศูนย์กลาง Entertainment Complex ในเอเชีย จำเป็นต้องแก้ปัญหาใหญ่ 5 ด้าน ได้แก่:
รายงานชี้ว่าไทยไม่จำเป็นต้องคัดลอกโมเดลของมาเก๊าหรือสิงคโปร์ แต่ควรพัฒนาแนวทางเฉพาะตัว อิงจากจุดแข็งด้านการท่องเที่ยว วัฒนธรรม และอาหาร ตัวอย่างเช่น :
Hard Rock เสนอการผสานกีฬา ความบันเทิง เทคโนโลยี และเกม
SKYH Entertainment เสนอโปรเจกต์ยักษ์ในเขตหนองจอก รวมกาสิโน โรงแรม MICE ฟอร์มูล่าวัน สวนสนุก ลานสกี สนามกอล์ฟ ฯลฯ
Scott Feeney ผู้เชี่ยวชาญที่ IAG อ้างอิง ชี้ว่ารูปแบบสิงคโปร์ที่เปิดทางให้ต่างชาติถือหุ้นทั้งหมดอาจไม่เหมาะกับบริบทไทย นักลงทุนควรพิจารณารูปแบบ “เช่าพื้นที่” หรือ “บูรณาการบางส่วน” ร่วมกับเจ้าของไทยแทน
แต่อย่างไรก็ดี ความไม่แน่นอนทางการเมืองและข้อกำหนดที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยง
สำเร็จเต็มรูปแบบ – ประเทศไทยจัดการกับความกังวลหลักทั้งหมด ออกกฎหมายที่สมดุล จัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ และพัฒนาแนวทางที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งดึงดูดผู้ประกอบการคุณภาพสูงหลายราย ส่งผลให้มีเอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ระดับโลกโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ
สำเร็จบางส่วน – มีข้อจำกัดบางประการ ประเทศไทยจัดการกับปัญหาบางอย่าง แต่ยังคงมีข้อจำกัดสำคัญ เช่น การเข้าถึงที่จำกัดสำหรับคนไทยหรือข้อจำกัดความเป็นเจ้าของที่เข้มงวดเกินไป ส่งผลให้โครงการมีขนาดเล็กกว่าที่วางแผนไว้เริ่มแรก โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมน้อยกว่าที่คาดการณ์
เสียโอกาส –ข้อกำหนดที่เข้มงวดเกินไป ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ต่อเนื่อง หรือการกำกับดูแลที่ไม่เพียงพอทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ถอนตัว ส่งผลให้โครงการถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนดหรือมีการพัฒนาในรูปแบบที่จำกัดกว่า
IAG ทิ้งท้ายว่า “โอกาสนี้เป็นจริงและมีศักยภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอย่างมีนัยสำคัญ” แต่จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความกล้าตัดสินใจและความสามารถในการออกแบบกฎหมายที่ตอบโจทย์ทั้งนักลงทุนและสังคมไทย
Scott Feeney สรุปว่า
"แน่นอนว่าเราทุกคนจะประหลาดใจมากกับผลลัพธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ตัดสินใจในประเทศไทยไม่ใช้คำแนะนำระหว่างประเทศ"
สายตาของทั้งนักลงทุนและผู้สังเกตการณ์ทั่วโลกกำลังจับจ้องร่างกฎหมาย Entertainment Complex ว่าจะผ่านสภาหรือไม่ และจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่แห่งการท่องเที่ยวไทยหรือเปล่า