พามาเปิดเส้นทาง “การเงินไทย” จากในอดีตที่ใช้เงินพดด้วง มาสู่…สู่ยุคธนบัตร มาไกลแค่ไหน?
เงินบาทที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้มีทั้งรูปแบบธนบัตร และรูปแบบเหรียญ ที่คนไทยใช้แลกเปลี่ยน ซื้อสินค้ามาเป็นเวลายาวนาน เพราะการเงินถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจในทุกยุคสมัย รู้หรือไม่ว่า? เงินบาทของไทยมีวิวัฒนาการยาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา และมารัตนโกสินทร์ วิวัฒนาการของ “เงินตรา” ที่ใช้ในระบบเศรษฐกิจ จากรูปแบบดั้งเดิมคือ “เงินพดด้วง” มาสู่รูปแบบสมัยใหม่อย่าง “เงินธนบัตร” ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่เพียงสะท้อนถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่ยังเกี่ยวพันกับการบริหารจัดการเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในแต่ละยุคสมัย
ย้อนกลับไปดูสมัยที่ไทยยังใช้เงินพดด้วง เชื่อว่าเด็ก หรือคนรุ่นใหม่อาจไม่คุ้นชินกับชื่อเงินประเภทนี้มากนัก และจะมีคำถามว่าเงินพดด้วง คืออะไร คำตอบก็คือ เงินโลหะที่มีลักษณะเหมือนลูกปัดขนาดใหญ่ ทำจากโลหะเงิน ซึ่งเงินดังกล่าวจะมีการตีตราเครื่องหมายของรัฐเพื่อยืนยันความถูกต้อง ซึ่งเงินชนิดนี้ผู้คนใช้กันตั้งแต่สมัยสุโขทัยยาวมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา และต้นรัตนโกสินทร์ มีหน่วยเงิน เป็น ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง
ทั้งนี้ความโดดเด่นของเงินพดด้วง คือ มีความแข็งแรง ทนทาน ประกอบกับมีมูลค่าตามน้ำหนักของโลหะ แต่…คุณรู้หรือไม่ว่า เงินพดด้วง ก็มีข้อเสียหรือจุดอ่อน เช่น มีต้นทุนการผลิตสูง ผลิตได้ช้า ที่สำคัญมีผลต่อการใช้ชีวิตแน่นอน เพราะเงินพดด้วงไม่เหมาะ และไม่สะดวกอย่างมากในการพกพาติดตัวในจำนวนที่มาก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ไทยของเราได้รับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามากขึ้น และมีรูปแบบการค้า การขาย และระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม จึงได้เริ่มมีการใช้เงินเหรียญแบบสากล เงินตราต่างประเทศ เช่น ดอลลาร์หรูปี กับชาวต่างชาติ
จากนั้นจึงได้มีการริเริ่มการจัดทำ “เงินเหรียญกษาปณ์” แบบใหม่ และก่อตั้งโรงกษาปณ์ถาวรในประเทศ ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อให้ช่วยส่งเสริมการผลิตเงินอย่างมีมาตรฐาน หลังจากนั้นประเทศไทยก็ย่างก้าวเข้าสู่จุดเปลี่ยนที่สำคัญของระบบการเงินไทย คือ ยุคใหม่ ยุคแห่งการใช้เงินธนบัตร ได้มีการการออก ธนบัตรไทยฉบับแรกของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2445 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งมีการใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนในการซื้อขายสินค้า แทนเงินเหรียญ และเงินพดด้วง ที่เริ่มขาดแคลน
ต่อมาจึงมีการการเลิกใช้ เงินพดด้วง ซึ่งนับได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจดั้งเดิมสู่ระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่มีมาตรฐานสากล สำหรับคนที่อยากรู้ว่าทำไมไทยถึงเลิกใช้เงินพดด้วง คำตอบ คือ
จากนั้นอีก 40 ปี ต่อมาได้มีการก่อตั้ง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาตอ ขึ้นในปี พ.ศ. 2485 เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุมและออกธนบัตรอย่างเป็นทางการเพื่อทำให้ระบบการเงินของไทยมีความมั่นคงมากขึ้น เดินหน้าเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบสมัยใหม่เต็มรูปแบบ
สำหรับการที่จะออกธนบัตรเพื่อหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของไทยเป็นหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งจะมีสายออกบัตรธนาคาร ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของ ธปท. ทำหน้าที่ในการผลิต และออกใช้ธนบัตรภายในประเทศ แต่…เชื่อว่ามีหลายคนสงสัยว่าแล้วจะผลิตในปริมาณเท่าใด หรือต้องผลิตออกมามากน้อยขึ้นอยู่กับองค์ประกอบใดบ้าง? คำตอบก็คือ ปริมาณธนบัตรที่จะออกมาใช้ในปีหนึ่งๆนั้นขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ และความต้องการใช้ธนบัตรชนิดราคาต่างๆ ของประชาชน
ในส่วนอัตราเพิ่มของมูลค่าธนบัตรออกใช้จะเป็นอัตราที่พอเหมาะกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 มาตรา 16 กำหนดไว้ว่า การนำธนบัตรออกใช้จะทำได้เพียง 2 กรณี เท่านั้น คือ
นอกจากนี้การจะผลิตออกธนบัตรออกมาใช้ในประเทศได้ ต้องดูในเรื่องของ ทุนสำรองเงินตรา คือ สินทรัพย์ที่ใช้หนุนหลังธนบัตรออกใช้ โดยสินทรัพย์ดังกล่าวแบงก์ชาติจะต้องรักษาและกันไว้ต่างหากจากทรัพย์สินอื่นๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในค่าของธนบัตรและเป็นหลักประกันว่าการออกใช้ธนบัตรมีขอบเขตอยู่เท่ากับสินทรัพย์ที่จะมาเป็นทุนสำรองเงินตรา
ทั้งนี้พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 มาตรา 30 กำหนดสิ่งอันชอบด้วยกฎหมายที่ประกอบขึ้นเป็นทุนสำรองเงินตรา ดังนี้
ทั้งหมด คือ วิวัฒนาการของเงินไทยจากเงินพดด้วง สู่..เงินธนบัตรสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนผ่านของสังคมไทยจากระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม สู่ระบบที่ทันสมัยและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล แม้ว่าเทคโนโลยีทางการเงินจะยังคงพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เช่น การชำระเงินแบบดิจิทัลในปัจจุบัน แต่การเข้าใจรากเหง้าของระบบเงินตรายังคงมีคุณค่า ช่วยให้เรามองเห็นทิศทางในอนาคตได้ชัดเจนยิ่งขึ้น