svasdssvasds

“กระทรวงการคลัง”ชุบชีวิตเศรษฐกิจไทย รักษาเสถียรภาพ สู่ความยั่งยืน

“กระทรวงการคลัง”ชุบชีวิตเศรษฐกิจไทย รักษาเสถียรภาพ สู่ความยั่งยืน

พามาดูบทบาท“กระทรวงการคลัง”ในฐานะเสาหลักของด้านเศรษฐกิจของประเทศ ที่ชุบชีวิตเศรษฐกิจไทย รักษาเสถียรภาพ สู่ความยั่งยืน

ในยามที่บ้านเมืองปกติ หรือแม้แต่ในช่วงที่บ้านเมืองวิกฤต กระทรวงการคลัง จะทำหน้าที่ดูแลบ้านเมือง เพื่อรักษาเศรษฐกิจไทยให้มีเสถียรภาพ ผลักดันให้ประเทศชาติเติบโตไปอย่างยั่งยืนทัดเทียมกับนานาชาติ ด้วย “นโยบายการคลัง” ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนรักษาสมดุลให้เศรษฐกิจไทย พร้อมทั้งทำหน้าที่ในการดูแลงบประมาณ รายได้ของประเทศอีกด้วย

ปี 2568 นี้นับได้ว่ากระทรวงการคลังได้เดินทางมาถึงปีที่ 150 ที่อยู่เคียงคู่กับคนไทย ในฐานะบทบาทในการดูแล “กลไกหลักด้านการเงินการคลังของประเทศ” คอยรักษาสมดุลเศรษฐกิจ ซึ่งแน่นอนว่าการทำงานจะต้องร่วมกับหน่วยงานทั้งภายใน และระหว่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้เศรษฐกิจของไทยดำเนินไปอย่างมั่นคง ยั่งยืน และทั่วถึง

ทั้งนี้นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) นับได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีบทบาทครอบคลุมในหลากหลายด้าน ดังนี้ รายได้, รายจ่าย, การบริหารหนี้, และ การสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
•    1.กำหนดนโยบายการคลัง
จะทำหน้าที่วางแผน และจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาล รวมไปจนถึงควบคุมวินัยการเงินการคลังของประเทศ อีกทั้งเสนอแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจหรือควบคุมเงินเฟ้อผ่านการใช้จ่าย และภาษี ด้วย
•    2. จัดเก็บรายได้ของรัฐ
 

นอกจากนี้กระทรวงการคลังยังเป็นหน่วยงานที่จัดเก็บรายได้ของรัฐ เพื่อนำเงินไปพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไปผ่านหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง เช่น กรมสรรพากร: จัดเก็บภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม , กรมสรรพสามิต: จัดเก็บภาษีจากสินค้าเฉพาะ เช่น น้ำมัน สุรา บุหรี่ และกรมศุลกากร: จัดเก็บภาษีศุลกากรจากการนำเข้า และส่งออกสินค้า
3. บริหารหนี้สาธารณะ
อีกหนึ่งในหน้าที่ที่จะขาดไม่ได้เลยคือ กระทรวงกาคลังจะทำหน้าที่วางกรอบการกู้ยืมอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน รวมไปจนถึงจัดการหนี้ให้อยู่ในระดับที่ประเทศสามารถรับภาระได้
4. กำกับดูแลสถาบันการเงินของรัฐ
และที่สำคัญกระทรวงการคลังยังกำกับดูแลสถาบันการเงินของรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนและผู้ประกอบการ

อย่างไรก็ตามกระทรวงการคลังยังทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ แบบบูรณาการเพื่อให้การบริหารเศรษฐกิจมีประสิทธิภาพ เช่น
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
โดยแบงก์ชาติจะดูแลนโยบายการเงิน เช่น ดอกเบี้ยนโยบาย เสถียรภาพค่าเงินบาท สำหรับกระทรวงการคลังจะทำงานควบคู่กับแบงก์ชาติเพื่อให้ นโยบายการเงิน และ นโยบายการคลัง เดินไปในทิศทางเดียวกัน
สำนักงบประมาณ (สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี)
สำหรับหน่วยงานนี้กระทรวงการคลังจะทำงานร่วมกันในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาลพร้อมทั้งวิเคราะห์และติดตามการใช้จ่ายของหน่วยงานรัฐ
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
ต่อมา คือ การทำงานร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ซึ่งเป็นหน่วยงาที่มีหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจ และสนับสนุนการวางนโยบายของกระทรวงการคลัง รวมไปถึงการติดตามประเมินผลกระทบจากนโยบายทางเศรษฐกิจ
•ทำงานร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ คมนาคม อุตสาหกรรม
นอกจากนี้กระทรวงการคลังยังต้องกทำงานร่วมกับกระทรวงเศรษฐกิจอื่นๆ เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมการส่งออก และการฟื้นฟูเศรษฐกิจ
● ทำงานร่วมหน่วยงานระหว่างประเทศ
กระทรวงการคลังจำเป็นอย่างยิ่งในการทำงานร่วมมือกับองค์กร อย่าง เช่น IMF, World Bank, ADB ในการกู้ยืมหรือขอคำแนะนำด้านเศรษฐกิจการเงิน  ตัวอย่างเช่น ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจช่วงโควิด-19 ระบาดในช่วงที่ผ่านมาได้มีมาตรการเยียวยา ผ่านโครงการเราไม่ทิ้งกัน โครงการคนละครึ่ง ร่วมกับแบงก์ชาติ และ คลังจังหวัด กระจายความช่วยเหลือไปถึงประชาชนทั่วประเทศไทย

สำหรับใครที่ยังไม่ทราบโครงสร้างของกระทรวงการคลัง (Ministry of Finance) วันนี้จะสรุปให้เข้าใจแบบง่ายๆ ดังนี้
•ฝ่ายบริหารระดับสูง
-โดยมี “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง” เป็นผู้กำหนดนโยบายระดับสูงด้านการคลังของประเทศ
-ต่อมา คือ “ปลัดกระทรวงการคลัง” คือ ข้าราชการระดับสูงสุดในกระทรวง มีหน้าที่ดูแลการดำเนินงานของหน่วยงานทั้งหมดให้เป็นไปตามนโยบาย
•ยกตัวอย่าง หน่วยงานในสังกัดที่สำคัญ เช่น กรมสรรพากร
โดย กรมสรรพากร เป็นหน่วยงานหลักที่จัดเก็บภาษีภายในประเทศ จัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา , ภาษีเงินได้นิติบุคคล , ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) , ภาษีธุรกิจเฉพาะ เช่น ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจประกันภัย สำหรับบทบาทของกรมสรรพากร คือ การสร้างรายได้เข้ารัฐ และส่งเสริมการเสียภาษีอย่างเป็นธรรม อีกทั้งต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยีบริการด้านภาษี (เช่น ระบบ e-Filing)
 -กรมศุลกากร
จะเป็นหน่วยงานที่ควบคุมการนำเข้า-ส่งออก และจัดเก็บภาษีศุลกากร ป้องกันการลักลอบนำเข้าสินค้าต้องห้ามหรือผิดกฎหมาย พร้อมทั้งตรวจสอบสินค้าผ่านแดนและเขตปลอดอากร สนับสนุนการค้าระหว่างประเทศ อำนวยความสะดวกทางศุลกากรควบคุมความปลอดภัยของสินค้าที่เข้า-ออกประเทศ
-กรมบัญชีกลาง
เป็นหน่วยงานที่ดูแลการใช้จ่ายเงินของภาครัฐ ทำหน้าที่ตรวจสอบและอนุมัติการใช้เงินงบประมาณ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่บริหารจัดการระบบการเงินและบัญชีของราชการ รงมถึงดูแลการเบิกจ่ายเงินเดือนและสวัสดิการของข้าราชการ ควบคุมให้การใช้จ่ายภาครัฐเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และเกิดประสิทธิภาพ พัฒนาระบบ e-Government ทางการคลัง เช่น ระบบ GFMIS (Government Fiscal Management Information System)

อย่างไรก็ตามยังมี กรมสรรพสามิต จัดเก็บภาษีจากสินค้าภายในประเทศ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำมัน ยาสูบ และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จะหน้าที่ให้คำปรึกษานโยบาย วิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจส่วนสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ จ เป็นหน่วยงานที่วางแผนการกู้ยืมและบริหารหนี้ของรัฐ และกระทรวงการคลัง ยังต้องดูแลธนาคารของรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน, ธ.ก.ส. , EXIM Bank อีกด้วย

ทั้งหมด คือ บทบาท และหน้าที่ของกระทรวงการคลัง ของประเทศไทย ตลอดระยะเวลากว่า 150 ปี ไม่ว่าจะวันนั้น หรือวะวันนั้น หรือวนนี้ กระทรวงการคลัง ยังคงเดินหน้ารักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และสร้างความมั่นคงทางการคลังของประเทศในวันที่โลก

และการค้าเปลี่ยนเข้าสู่ยุคใหม่ กระทรวงการคลังจะเดินหน้าทำหน้าที่จัดเก็บรายได้ บริหารการใช้จ่ายเพื่อนำเงินภาษีมาพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรือง รวมถึง การวิเคราะห์เศรษฐกิจ และการกำกับสถาบันการเงิน ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลก


 
 

related