กระทรวงการคลัง ยังคงเดินหน้าช่วยประชาชนลดค่าครองชีพอย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการต่างๆมากมาย ในรูปแบบ“สวัสดิการแห่งรัฐ” มุ่งลดค่าครองชีพ สู่..ความมั่นคงทางการเงินประชาชน
ความเหลื่อมล้ำ (Inequality) เป็นสิ่งที่ประเทศกำลังพัฒนาในหลายประเทศทั่วโลกกำลังพยายามลดมันลง ซึ่งนับได้ว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาระดับโลกที่ทำให้องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ได้มีการหยิบยกเป็นวาระสำคัญของประชาคมโลก เพื่อก้าวย่างสู่ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนในประเทศมีความกินดี อยู่ดี คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงมีขีดความสามารถในการเข้าถึงบริการจากภาครัฐได้อย่างทั่วถึง มีอาชีพการงาน รายได้ที่มั่นคง รายได้ต่อหัวของประชากรต่อปีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ประเทศไทยก็เช่นกันที่ยังคงเดินหน้าลดความเหลื่อมล้ำอย่างต่อเนื่องผ่านโครงการต่างๆมากมาย อย่างเช่น โครงการสวัสดิการของรัฐ หรือที่เรียกกันว่า มาตรการที่รัฐคิดขึ้นมา เพื่อช่วยเหลือ สนับสนุน ให้ประชาชน กลุ่มที่มีรายได้น้อย เช่น ผู้สูงอายุ เด็ก ผู้พิการ หรือผู้ที่อยู่ในภาวะยากลำบาก ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
โดยที่ผ่านมาประเทศไทยของเรามีโครงการสวัสดิการแห่งรัฐมากมาย เช่น
-เพื่อให้เงินช่วยเหลือรายเดือนสำหรับค่าใช้จ่ายพื้นฐาน เช่น ค่าครองชีพ ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายในร้านธงฟ้า
-ประชาชนจะมีสิทธิ์รับคืนภาษีการใช้จ่าย สามารถลดค่าน้ำ-ค่าไฟ
-ให้ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ได้รับเบี้ยยังชีพรายเดือนตามช่วงอายุ
-ให้ผู้พิการที่ลงทะเบียนจะได้รับเงินช่วยเหลือรายเดือน และอาจได้รับอุปกรณ์ช่วยเหลือหรือการฟื้นฟูสมรรถภาพ
-โดยจะเป็นระบบประกันที่ครอบคลุมเรื่องการเจ็บป่วย ว่างงาน ชราภาพ ทุพพลภาพ และการคลอดบุตร
-ทั้งนี้จะสนับสนุนค่าใช้จ่ายการศึกษาในระดับอนุบาลถึงมัธยมปลาย เช่น ค่าเล่าเรียน หนังสือ และอุปกรณ์การเรียน
โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ รัฐช่วยจ่ายค่าอาหาร/สินค้า 50% เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน
-เป็นโครงการเฉพาะกิจที่ทำโควิด-19 เพื่อเยียวยาประชาชน และแรงงาน
หากจะโฟกัสเฉพาะโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่มุ่งเน้นช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย โดยให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่น ค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ค่าเดินทาง ค่าสาธารณูปโภค และส่วนลดค่าก๊าซหุงต้ม เป็นต้น วันนี้จะพามาอัปเดต คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์ลงทะเบียน ปี 2568 รายละเอียดดังนี้
สำหรับแนวทางการพัฒนาและปรับปรุง “รัฐสวัสดิการ” เพื่อให้เข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น สร้างความเท่าเทียม เร่งเดินหน้าลดความเหลื่อมล้ำ เสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน โดยรัฐได้วางแนวทางไว้ดังนี้
1. เร่งขยายขอบเขตของรัฐสวัสดิการ
-เพิ่มสิทธิขั้นพื้นฐานให้ครอบคลุมทุกช่วงชีวิต
-ให้ศึกษาฟรีตั้งแต่อนุบาลถึงอุดมศึกษา
-ให้การรักษาพยาบาลฟรีสำหรับทุกคน ไม่จำกัดเฉพาะผู้มีสิทธิประกันสังคม หรือบัตรทอง เท่านั้น
-เร่งดูแลเด็กเล็ก และผู้สูงอายุโดยรัฐ
-พร้อมสนับสนุนเงินอุดหนุนสำหรับผู้ว่างงาน หรือผู้มีรายได้น้อยให้ครบถ้วน
2. หนุนใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
-เร่งพัฒนาระบบฐานข้อมูลประชาชนแบบรวมศูนย์ เพื่อให้เข้าถึงสิทธิได้โดยไม่ต้องยื่นเอกสารให้ซ้ำซ้อน
-ให้บริการรัฐสวัสดิการผ่านแอปพลิเคชัน หรือช่องทางออนไลน์ที่ใช้งานง่าย ในพื้นที่ห่างไกล
3. กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นให้มีบทบาทมากขึ้น
-ให้ท้องถิ่นสามารถจัดบริการสวัสดิการได้ตามบริบทพื้นที่ เช่น บริการพี่เลี้ยงเด็กในชุมชน หรือศูนย์ดูแลผู้สูงวัย
-เร่งจัดสรรงบประมาณแบบยืดหยุ่นแก่ท้องถิ่น
4. เร่งลดเงื่อนไขและขั้นตอนการเข้าถึง
-เดินหน้าปรับปรุงระบบลงทะเบียนให้เข้าถึงง่าย ไม่ต้องเดินทางไกล
-ลุยใช้ระบบ “สวัสดิการถ้วนหน้า” แทนการคัดกรองตามรายได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการตกหล่นของกลุ่มเปราะบาง
5. เพิ่มงบประมาณด้านสวัสดิการอย่างยั่งยืน
-ปรับโครงสร้างภาษี เช่น เก็บภาษีทรัพย์สินหรือรายได้สูงขึ้นในกลุ่มที่มีความสามารถจ่าย เพื่อสนับสนุนระบบสวัสดิการ
-ลดการรั่วไหลของงบประมาณ และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน
6. เร่งสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน
-เปิดช่องทางให้ชุมชนและองค์กรภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการออกแบบและตรวจสอบระบบสวัสดิการ
-เร่งส่งเสริมความรู้เรื่องสิทธิและการเข้าถึงสวัสดิการในชุมชนอย่างทั่วถึง
เชื่อว่าโครงการสวัสดิการของรัฐ ไม่ว่าจะตั้งแต่ในอดีตที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน และในอนาคต จะยังเป็นมาตรการที่รัฐออกมาเพื่อช่วยเหลือ สนับสนุน ให้ประชาชน กลุ่มที่มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ เด็ก ผู้พิการ หรือผู้ที่อยู่ในภาวะยากลำบาก ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ และมีชีวิตที่ดีขึ้น