ทำความรู้จัก "โรคเมอร์ส" โรคติดต่อทางเดินหายใจ สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ผ่านการสัมผัสสัตว์ที่มีเชื้อ อาจก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น ไข้หวัด โรคซาร์ส โควิด-19
โรคเมอร์ส (MERS) หรือโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (Middle East Respiratory Syndrome) ซึ่งสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ผ่านการสัมผัสสัตว์ที่มีเชื้อ หรือการอยู่ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ นอกจากนี้ ไวรัสชนิดนี้ยังอาจก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคไข้หวัด โรคซาร์ส โควิด-19 แต่อาจมีความรุนแรงและลักษณะอื่นๆ แตกต่างกัน
โรคเมอร์ส เป็นโรคที่พบครั้งแรกในประเทศซาอุดีอาระเบียเมื่อปี พ.ศ.2555 โดยพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ทำให้เกิดโรคเมอร์ส คือประเทศตะวันออกกลาง เช่น อิหร่าน อิรัก อิสราเอล ซาอุดีอาระเบีย และซีเรีย โดยในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 โรคเมอร์สยังคงจัดเป็นโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความเมื่อพบผู้ติดเชื้อเพื่อเฝ้าระวังโรค
ล่าสุดนพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีมีข่าวซาอุดีอาระเบียพบผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์สว่า กระทรวงสาธารณสุขของราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียรายงานการติดเชื้อไวรัสโคโรนากลุ่มอาการทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS-CoV) ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม - 21 เมษายน 2568 รวม 9 ราย มีผู้เสียชีวิต 2 ราย โดยพบผู้ป่วยอยู่ในฮาอิล 1 ราย และริยาด 8 ราย
ซึ่งในริยาดพบกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 6 รายติดเชื้อจากการดูแลผู้ป่วยเพียงรายเดียว โดย 4 รายไม่มีอาการ และ 2 รายมีอาการไม่รุนแรง ไม่เฉพาะเจาะจง คือ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ และอาเจียน ซึ่งเป็นการติดต่อที่ไม่ได้สัมผัสกับอูฐหรือผลิตภัณฑ์จากอูฐโดยตรง แสดงให้เห็นว่าไวรัสยังคงมีการระบาดในอูฐและแพร่กระจายไปยังมนุษย์
จากการประเมินความเสี่ยงโดยรวมถือว่าอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค เนื่องจากมีการรายงานการติดเชื้อ MERS-CoV ต่อองค์การอนามัยโลก ที่ได้รับการยืนยันทางห้องปฏิบัติการทั้งหมด 2,627 ราย จาก 27 ประเทศ ส่วนใหญ่ 84% มาจากซาอุดีอาระเบีย และตั้งแต่ปี 2019 ไม่มีรายงานการติดเชื้อ MERS-CoV ในมนุษย์จากประเทศนอกตะวันออกกลาง
อาการของโรคจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล ความรุนแรงจะมีอยู่หลากหลายระดับ ตั้งแต่ไม่มีอาการไปถึงรุนแรงจนอาจเสียชีวิต โดยผู้ป่วยมักจะมีอาการ ดังนี้
โดยในผู้ที่มีอาการรุนแรง อาจมีอาการของโรคปอดบวมหรือระบบทางเดินอาหารร่วมด้วย เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน
โรคเมอร์ส มีอัตราการเสียชีวิตสูงเนื่องจากไม่มีวัคซีนและยาต้านไวรัสที่จำเพาะ ต้องดูแลรักษาตามอาการแบบประคับประคอง ติดต่อมาสู่คนโดยมีอูฐเป็นแหล่งรังโรค วิธีการแพร่เชื้อยังไม่ชัดเจน แต่อาจเกิดจากดื่มนมอูฐที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อหรือรับประทานเนื้ออูฐที่ไม่สุก ส่วนการติดต่อจากคนสู่คนจะผ่านทางละอองน้ำมูก/น้ำลายของผู้มีเชื้อจากการสัมผัสใกล้ชิด
โรคเมอร์สเป็นโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาสุขอนามัยเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ โดยวิธีป้องกันโรคเมอร์สอาจทำได้หลายวิธี เช่น
สำหรับชาวไทยมุสลิมที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ที่ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ระหว่างวันที่ 4-9 มิถุนายน 2568 ซึ่งลงทะเบียนไว้ทั้งหมด 6,603 คน และได้ทยอยเดินทางไปแล้วตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้กำชับให้ทีมแพทย์ที่ส่งไปดูแลสุขภาพชาวไทยมุสลิมระหว่างประกอบพิธีให้ความรู้และเน้นย้ำถึงแนวทางปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรค คือ
ส่วนผู้แสวงบุญที่เดินทางกลับมาถึงประเทศไทยแล้ว หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่จะติดตามเฝ้าระวังสุขภาพต่อเนื่องอีก 14 วัน เพื่อความปลอดภัย ระหว่างนี้หากมีอาการป่วยทางเดินหายใจให้รีบพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง