svasdssvasds

โควิด-19 สายพันธุ์ โอมิครอน XEC คืออะไร? แพร่เร็วกว่าเดิมเท่าตัว

โควิด-19 สายพันธุ์ โอมิครอน XEC คืออะไร? แพร่เร็วกว่าเดิมเท่าตัว

โควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน XEC กำลังเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย แม้อาการจะไม่รุนแรง แต่แพร่เชื้อที่เร็วกว่าเดิมถึงเท่าตัว

SHORT CUT

  • โควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน XEC กำลังเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย
  • แม้อาการจะไม่รุนแรง แต่ด้วยความสามารถในการแพร่เชื้อที่เร็วกว่าเดิมถึงเท่าตัว
  • พบผู้ป่วยจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ระหว่างเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ประเทศไทยพบการระบาดของสายพันธุ์ XEC เพิ่มขึ้น

โควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน XEC กำลังเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย แม้อาการจะไม่รุนแรง แต่แพร่เชื้อที่เร็วกว่าเดิมถึงเท่าตัว

ในปัจจุบันโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน XEC กำลังเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย แม้อาการจะไม่รุนแรง แต่ด้วยความสามารถในการแพร่เชื้อที่เร็วกว่าเดิมถึงเท่าตัว ทำให้ทุกคนต้องใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง

จากข้อมูลจากศูนย์ COVID-19 รายงานจำนวน ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

  • พบผู้ป่วย 71,067 ราย ผู้เสียชีวิต 19 ราย แนวโน้มผู้ป่วยสูงขึ้น พบการระบาดแบบกลุ่มก้อน
  • จำนวน 2 เหตุการณ์ ทั้งนี้ หลังช่วงเทศกาลสงกรานต์ (สัปดาห์ที่ 16)
  • พบผู้ป่วยจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่าในปีนี้ ระหว่างเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ประเทศไทยพบการระบาดของสายพันธุ์ XEC เพิ่มขึ้น

โควิดสายพันธุ์ โอมิครอน XEC คืออะไร

  • XEC คือโควิด-19 สายพันธุ์ลูกผสมตัวใหม่ในตระกูลโอมิครอน
  • พบครั้งแรกที่เยอรมนี มิ.ย. 2567
  • เกิดจากการรวมกันของ 2 สายพันธุ์ย่อย: KS.1.1 (FLiRT) และ KP.3.3 (FLuQE)
  • แพร่เร็วขึ้นจากการกลายพันธุ์หลายจุด
  • พบแล้วในอย่างน้อย 15 ประเทศ รวมถึงยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชีย
  • มีการถอดรหัสพันธุกรรมแล้วกว่า 550 ตัวอย่างจาก 27 ประเทศ

ข้อมูลในสหรัฐฯ อังกฤษ และจีน

  • XEC แพร่เร็วกว่าโอมิครอนตัวอื่นถึง 84 - 110%
  • บางประเทศมี XEC มากถึง 10 - 20% ของผู้ติดเชื้อรายใหม่

อาการของ XEC ไม่รุนแรง คล้ายโควิดทั่วไป 

  • ไข้ ไอ เจ็บคอ
  • เหนื่อยง่าย ปวดหัว ปวดตัว
  • คัดจมูก น้ำมูกไหล
  • สูญเสียการรับกลิ่น/รส
  • เบื่ออาหาร ท้องเสีย อาเจียน

กลุ่มเสี่ยงที่ควรระวัง หากติดเชื้ออาจมีอาการรุนแรง

  • ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • หญิงตั้งครรภ์ (อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป)
  • ผู้ป่วยกลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง ได้แก่
  • โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคไตวายเรื้อรังโรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคอ้วน
  • โรคมะเร็ง
  • โรคเบาหวาน

การป้องกันโควิดโอมิครอน XEC

  • ฉีดวัคซีนและเข็มกระตุ้น
  • สวมหน้ากากในที่แออัด
  • ล้างมือบ่อยๆ
  • เว้นระยะห่าง
  • แยกตัวเมื่อมีอาการ

ที่มา : ศูนย์ข้อมูล COVID-19

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related