svasdssvasds

วิเคราะห์ 4 ข้อ ปมถือหุ้นสื่อ “ธนาธร -พิธา” เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ?

วิเคราะห์ 4 ข้อ ปมถือหุ้นสื่อ “ธนาธร -พิธา” เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ?

ยกตัวอย่างเทียบเคียง รวมถึง วิเคราะห์ 4 ปมถือหุ้นสื่อ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ และ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เหมือน หรือ แตกต่าง กันในจุดไหนบ้าง ทำ ให้เห็นภาพในมุมกว้างมากขึ้นด้วย

กรณี การถือหุ้นสื่อ ITV ของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ยังคงได้รับความสนใจจากสังคม เพราะตราบใดที่ สังคม ยังไม่ได้คำตอบที่ชัดเจนจากเรื่องนี้ เรื่องนี้คำถามนี้ก็ยังจะเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงตลอดเวลาอย่างปฏิเสธไม่ได้ เพราะแน่นอนว่า ผู้คนย่อมต้องการรู้อนาคต ของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ว่าที่นายกฯคนที่ 30 ของประเทศไทย จะอยู่ หรือ จะไป ? 

และเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น เพื่อที่ทุกคนจะมองอนาคต ได้ง่ายขึ้น SPRiNG ขอยกตัวอย่างเทียบเคียง รวมถึง วิเคราะห์ 4 ปมถือหุ้นสื่อ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ และ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เหมือน หรือ แตกต่าง กันในจุดไหนบ้าง ทำ ให้เห็นภาพในมุมกว้างมากขึ้นด้วย 

หากจากจะนำ กรณีที่ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ซึ่ง ถือหุ้น ITV ไปเปรียบเทียบกับกรณีของ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ซึ่ง  ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ก็เจอเรื่องราวในลักษณะคล้าย ๆ กันอย่างนี้เช่นเดียวกัน และในเคสของ ธนาธร นั้น พบกับคำว่า "ปลาตายน้ำตื้น" ไปแล้วด้วย 

สำหรับกรณี ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ถือหุ้นสื่อ บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด หากพิจารณาจากมติกกต.ที่ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสมาชิกภาพของส.ส. ของนายธนาธรสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 วรรค 4 อันเป็นลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส. ซึ่งเป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3)

วิเคราะห์ 4 ข้อ ปมถือหุ้นสื่อ “ธนาธร -พิธา” เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเด็นที่ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. นำมาพิจารณาคุณสมบัติของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ในขณะนั้น มีดังนี้

ประเด็นที่ 1 วัตถุประสงค์ในการยื่นจดทะเบียนบริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่าบริษัทวี-ลัค มีเดีย จำกัด พบว่า มีวัตถุประสงค์ในการยื่นจดทะเบียน คือ ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชน

ประเด็นที่ 2 งบการเงิน เพื่อพิจารณาว่าบริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด มีรายได้จาการประกอบธุรกิจหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนหรือไม่ ซึ่งกกต.พบว่า งบการเงินของบริษัทฯพบว่ามีรายได้จากการขายนิตยสาร ให้บริการโฆษณา จึงถือเป็นการประกอบธุรกิจสื่อสารมวลชน 

ประเด็นที่ 3 สถานะบริษัท เพื่อพิจารณาว่าบริษัทยังคงประกอบกิจการอยู่หรือไม่ จากเอกสารหลักฐานพบว่าบริษัทยังคงประกอบกิจการอยู่ ไม่มีการจดทะเบียนยกเลิกบริษัทหรือเสร็จการชำระบัญชีแต่อย่างใด 

ประเด็นที่ 4 หลักฐานการถือหุ้น บอจ. 5 พบว่า ใน บอจ. 5 ที่กกต.ได้รับจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปรากฏชื่อนายธนาธร เป็นผู้ถือหุ้น บริษัทวี-ลัค มีเดีย จำกัด  675,000 หุ้น คิดเป็น 15%  ตั้งแต่ปี 2558 จนถึงวันที่ 21 มี.ค. 2562  

วิเคราะห์ 4 ข้อ ปมถือหุ้นสื่อ “ธนาธร -พิธา” เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ?

ดังนั้น เมื่อกกต.ประกาศเปิดสมัครรับเลือกตั้งส.ส.วันที่ 4-8 ก.พ. 2562 จึงเท่ากับว่าขณะที่นายธนาธร ยื่นใบสมัครลงรับเลือกตั้ง นายธนาธร ยังถือหุ้น บริษัทวี-ลัค มีเดีย จำกัดอยู่  จึงเข้าข่ายขาดคุณสมบัติเนื่องจากเป็นบุคคลที่ห้ามใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98 (3) และ พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2561 มาตรา 42(3) 

วิเคราะห์ 4 ข้อ ปมถือหุ้นสื่อ “ธนาธร -พิธา” เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ?
ขณะที่ ฟากของเคส พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กับการถือหุ้น ITV นั้น  ประเด็นที่ 1 วัตถุประสงค์ในการยื่นจดทะเบียนบริษัท ITV ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุไว้ชัดเจนว่า ไอทีวี ITV ประกอบกิจการ สื่อโทรทัศน์ 

ประเด็นที่ 2 งบการเงิน จากการตรวจสอบงบการเงินย้อนหลังช่วง 5 ปี จากฐานข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์พบว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาบริษัทยังมีกำไรต่อเนื่อง ดังนี้

ปี 2561 มีสินทรัพย์รวม 1,229,972,674 บาท และหนี้สินรวม 2,893,648,122บาท ส่วนรายได้รวมมีด้วยกันทั้งสิ้น 31,079,875 บาท ขณะที่ รายจ่ายรวม 8,881,477 บาท โดยมีการจ่ายภาษีเงินได้ 4,448,229 บาท และผลประกอบการมีกำไรสุทธิ 17,747,269 บาท
ปี 2562 มีสินทรัพย์รวม 1,256,488,582 บาท ส่วนหนี้สินรวม 2,895,067,295 บาท โดยมีรายได้รวม 28,034,734 บาท และรายจ่ายรวม 8,726,135 บาท โดยมีการจ่ายภาษีเงินได้ 3,920,011 บาท และผลประกอบการมีกำไรสุทธิ 15,385,413 บาท
ปี 2563 มีสินทรัพย์รวม 1,266,498,457 บาท มีหนี้สินรวม 2,894,724,231 บาท โดยมีรายได้รวม 27,752,826 บาท และรายจ่ายรวม 18,106,309 บาท โดยจ่ายภาษีเงินได้ 1,977,287 บาท และผลประกอบการมีกำไรสุทธิ 7,652,665 บาท
ปี 2564 มีสินทรัพย์รวม 1,270,457,704 บาท เพิ่มขึ้นสูงสุด มีหนี้สินรวม 2,894,513,831 บาท โดยมีรายได้รวม 22,993,678 บาท และรายจ่ายรวม 10,248,139 บาท จ่ายภาษีเงินได้ 2,556,611 บาท และผลประกอบการมีกำไรสุทธิ 10,177,063 บาท
ปี 2565 มีสินทรัพย์รวม 1,266,191,686 บาท มีหนี้สินรวม 2,891,997,086 บาท โดยมีรายได้รวม 19,863,244 บาท และรายจ่ายรวม 9,191,619 บาท จ่ายภาษีเงินได้ 2,142,305 บาท และผลประกอบการมีกำไรสุทธิ 8,524,445 บาทปัจจุบันไม่ได้ดำเนินกิจการ เนื่องจากติดคดีความ

วิเคราะห์ 4 ข้อ ปมถือหุ้นสื่อ “ธนาธร -พิธา” เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ?

งบการเงินเกี่ยวกับรายได้ของไอทีวีในปี 2564

อย่างไรก็ตามในรายงานของบริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โทมัสสุ บริษัทผู้ตรวจสอบบัญชี รายงานไว้ในงบการเงินเกี่ยวกับรายได้ของ ITV ไอทีวีในปี 2564 จำนวน 23,683,771 บาท เป็นรายได้จากการดำเนินธุรกิจมาจากผลตอบแทนมาจากเงินลงทุนและดอกเบี้ย ไม่มีรายรายได้จากการดำเนินธุรกิจสื่อ หรือกิจการอื่นใดปรากฎอยู่ในงบการเงินของบริษัท โดยมีการระบุในแบบนำส่งงบการเงินตอนหนึ่งว่า ปัจจุบันไม่ได้ดำเนินการ เนื่องจากติดคดีความ

แต่ในรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 พบว่ามีผู้ถือหุ้นได้การสอบถามว่า บริษัท ไอทีวี มีการดำเนินงานเกี่ยวกับสื่อหรือไม่ โดยทางบริษัทได้ตอบในที่ประชุมว่า ปัจจุบันบริษัทยังดำเนินกิจการอยู่ ตามวัตถุประสงค์ของบริษัท และมีการส่งงบการเงินและยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลตามปกติ

รายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)

กรณีนี้จึงเป็นประเด็นที่กกต.จะต้องตีความให้ชัดเจนว่า บริษัทไอทีวีที่ประกอบธุรกิจสื่อมวลชน แต่ไม่ได้ประกอบธุรกิจในปัจจุบันถือบริษัทที่ประกอบธุรกิจสื่อสารมวลชนหรือไม่

ประเด็นที่ 3 สถานะบริษัทยังประกอบกิจการอยู่หรือไม่ ประเด็นนี้ชัดเจนว่า แม้บริษัทไม่มีรายได้จากการประกอบธุรกิจสื่อแต่ บริษัทยังประกอบกิจการอยู่ 

ประเด็นที่ 4 หลักฐานการถือหุ้น จากการตรวจสอบ แบบ บอจ. 006 บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัท มหาชน จำกัด มีชื่อนายพิธาถือหุ้นไอทีวี 42,000 หุ้น ตั้งแต่ปี 2552 โดย ณ วันที่ 24 เมษายน 2562 หลังกกต. ประกาศเปิดสมัครรับเลือกตั้งส.ส. ก็ยังมีชื่อนายพิธาอยู่ แต่นายพิธาชี้แจงว่า เป็นการถือหุ้นในฐานะผู้จัดการกองมรดก และเคยหารือเรื่องนี้กับ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แล้ว

ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย มองว่า ตามหลักกฎหมายระบุชัดเจนว่า หากหุ้นของผู้ตายยังไม่ถูกแบ่งโดยผู้จัดการมรดก หุ้นนั้นก็ยังอยู่ในชื่อของผู้ตาย แต่ถ้าหากอยู่ในชื่อของผู้อื่นแสดงว่าหุ้นนั้นถูกแบ่งไปให้ผู้มีชื่อแล้ว หุ้นนั้นก็เป็นหุ้นของผู้มีชื่อนั้นไม่ใช่หุ้นของกองมรดก หากมีการแก้ไขในบัญชีผู้ถือหุ้นว่าเป็นของกองมรดก ก็ต้องระบุว่าเป็นหุ้นของกองมรดกใด ถือไว้ในนามของผู้จัดการมรดกชื่ออะไร ซึ่งไม่มีความจำเป็นที่ต้องไปแก้ให้เป็นเช่นนั้น

แต่ในแบบ บมจ 006 กลับพบว่าหุ้นจำนวน 42,000 หุ้น เป็นชื่อของนายพิธาอย่างเดียว จึงน่าจะมีการโอนหุ้นมาเป็นชื่อตัวเองแล้วครบถ้วนบริบูรณ์ เพราะตามปกติ ถ้าเป็นผู้จัดการมรดกใน บมจ 006 ต้องมีวงเล็บตามหลังว่า ในฐานะเป็นผู้จัดการมรดก แต่ของนายพิธา นั้นไม่มี  

วิเคราะห์ 4 ข้อ ปมถือหุ้นสื่อ “ธนาธร -พิธา” เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ?
• แนวทางพิจารณา กกต. ปม พิธา ถือหุ้น ITV 
ทั้งนี้ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต.ให้ความเห็นกรณี ที่นาย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ถูกร้องเรียนถือหุ้น ITV ระบุว่า  แนวทางที่ กกต. จะมีการรับรอง การเป็น ส.ส. ไปก่อน แล้วจึงจะมีการพิจารณาปมถือหุ้น ถือเป็นแนวทางตามกฎหมาย  ซึ่งตามหลักกระบวนการหากเป็นการร้องคุณสมบัติของผู้สมัครเป็น ส.ส. ก่อนการเลือกตั้ง ถ้าพบว่า มีคุณสมบัติที่ จะต้องดึงชื่อคนๆนั้น ออกจากการเป็นผู้สมัคร และต้องส่งให้ศาลฎีกาพิจารณา 

- พิจารณาจากเจตนา   : ใช้สื่อหาประโยชน์ในการเลือกตั้งหรือไม่ โดย ถ้าหากดูจากเจตนาของกฎหมายการถือหุ้นสื่อนั้นไม่ต้องการให้นักการเมืองใช้สื่อที่มีอยู่ในมือเพื่อประโยชน์ในการเลือกตั้ง ถ้าดูเจตนาแต่ถ้าดูจากเจตนาคุณพิธาก็ไม่น่าจะผิด แต่ถ้าพิจารณาอย่างเคร่งครัดตามตัวอักษรถือหุ้นสื่อหรือไม่ธุรกิจดังกล่าวไปซื้อหรือไม่อยากประกอบกิจการหรือไม่อันนี้ก็ค่อนข้างจะหนักใจ 

- พิจารณาตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด  : ถือหุ้นสื่อหรือไม่ , ธุรกิจยังเป็นสื่อหรือไม่ , ประกอบกิจการอยู่หรือไม่ 

จากนี้คงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่า ว่า กกต.จะพิจารณาปมถือหุ้นไอทีวีของนายพิธา ออกมาอย่างไร จะซ้ำรอย นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หรือไม่ ต่อไป

related