svasdssvasds

ในปี 2050 ไทยจะเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่มีประชากรลดลง ผลกระทบสั้น-ยาว

ในปี 2050 ไทยจะเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่มีประชากรลดลง ผลกระทบสั้น-ยาว

ข้อมูลจาก World Bank Data แสดงผลการคาดการณ์จำนวนประชากรในทุกๆ 10 ปี พบว่าในปี 2050 ไทยจะมีจำนวนประชากรลดลงกว่า 6% สวนทางกับประเทศที่เหลือในอาเซียน โดยจะอยู่ในลำดับที่ 4 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในภูมิภาค ซึ่งจะส่งผลกระทบตามมาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

World Bank Data คาดการณ์จำนวนประชากรทั่วโลก ตั้งแต่ปี 1960 จนถึงในปี 2050 พบว่า ประเทศที่จะมีประชากรสูงสุด คือ อินเดียจะมีประชากรอยู่ที่ 1,639,176,000 ล้านคน รองลงมาได้แก่ จีน ไนจีเรีย สหรัฐอเมริกาและปากีสถาน ตามลำดับ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ส่วนการคาดการณ์จำนวนประชากรในภูมิภาคอาเซียน มีตัวเลขที่น่าสนใจและตั้งคำถามต่อโดยเฉพาะกับประเทศไทยเช่นกัน ลำดับจำนวนประชากรในภูมิภาคอาเซียน มีดังนี้
ภาพประกอบจาก freepik

ประเทศอินโดนีเซีย มีประชากรเพิ่มมากขึ้น 19%

  • ในปี 2022 279,135,000 คน
  • ในปี 2050 330,905,000 คน

ประเทศฟิลิปปินส์ มีประชากรเพิ่มมากขึ้น 28%

  • ในปี 2022 112,509,000 คน
  • ในปี 2050 144,488,000 คน

ประเทศเวียดนาม มีประชากรเพิ่มมากขึ้น 11%

  • ในปี 2022 98,954,000 คน
  • ในปี 2050 109,605,000 คน

ประเทศไทย มีประชากรลดลงอยู่ที่ -6%

  • ในปี 2022 70,078,000 คน
  • ในปี 2050 65,940,000 คน

ประเทศเมียนมาร์ มีประชากรเพิ่มมากขึ้น 13%

  • ในปี 2022 55,227,000 คน
  • ในปี 2050 62,253,000 คน

ประเทศมาเลเซีย มีประชากรเพิ่มมากขึ้น 22%

  • ในปี 2022 33,181,000 คน
  • ในปี 2050 40,055,000 คน

ประเทศกัมพูชา มีประชากรเพิ่มมากขึ้น 27%

  • ในปี 2022 17,169,000 คน
  • ในปี 2050 21,861,000 คน

ประเทศลาว มีประชากรเพิ่มมากขึ้น 27%

  • ในปี 2022 7,481,000 คน
  • ในปี 2050 9,480,000 คน

ประเทศสิงคโปร์ มีประชากรเพิ่มมากขึ้น 7%

  • ในปี 2022 5,498,000 คน
  • ในปี 2050 5,899,000 คน

ประเทศติมอร์ เลสเต มีประชากรเพิ่มมากขึ้น 47%

  • ในปี 2022 1,369,000 คน
  • ในปี 2050 2,019,000 คน

ประเทศบรูไน มีประชากรเพิ่มมากขึ้น 11%

  • ในปี 2022 445,000 คน
  • ในปี 2050 492,000 คน

จากข้อมูลพบว่าไทยจะเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ประชากรลดลงเมื่อเทียบจากปี 2022 อยู่ในลำดับที่ 4 ของชาติในอาเซียนทั้งนี้นอกจากไทยแล้วยังมีอีกหลายประเทศที่มีแนวโน้มจำนวนประชากรลดลง อาทิ แอลเบเนีย บาร์เบโดส (หมู่เกาะแคริบเบียน) บราซิล และจีน เป็นต้น

ซึ่งถ้าดูตามตัวเลขอัตราเกิดหรือจำนวนเด็กแรกเกิดของประเทศไทยที่ลดลงนั้น เริ่มต้นและลดลงเรื่อยมาเป็นเวลากว่า 40 ปี นับตั้งแต่ช่วงที่มีประชากรเกิดมากกว่า 1 ล้านคนในแต่ละปีราวปี พ.ศ.2506-2526 ซึ่งเราเรียกการเกิดเกิน 1 ล้านคนต่อปีในช่วงนั้นว่า ยุค Baby Boom จากนั้นก็เริ่มลดลงจนกระทั่งในปี พ.ศ.2564 ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นปีแรกที่มีจำนวนเด็กแรกเกิดต่ำกว่าจำนวนคนที่ตายไป 

โดยผลกระทบระยะสั้นและยาวที่ตามมาเนื่องจากจำนวนประชากรและอัตราการเกิดลดลงก็คือ 

  1. คนจะลดลงทำให้ขาดแคลนแรงงาน
  2. ครอบครัวจะเปลี่ยนไปเป็นครอบครัวเดี่ยว การแต่งงานช้าหรือครองตัวเป็นโสด
  3. สังคมจะเปลี่ยนแปลงเกิดจากเทคโนโลยีทำให้คนมีปฏิสัมพันธ์กันน้อยลง

ผลกระทบระยะยาวที่รัฐต้องเตรียมเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น ได้แก่ การขาดแคลนแรงงาน สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ ปัญหาความมั่นคง ขาดทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนาประเทศ ปัญหาทางเศรษฐกิจ เป็นต้น 

ซึ่งสามารถบรรเทาผลกระทบนี้ได้ด้วยการ การเลื่อนอายุเกษียณเพื่อชะลอการขาดแคลนแรงงาน และการออกนโยบายส่งเสริมการเกิด เงินสนับสนุนและทุนการศึกษาเพื่อเปลี่ยน Mindset ต่อการมีบุตรของคนในปัจจุบัน


ที่มา

World Bank Data 

Bangkokbiznews
 

related