svasdssvasds

จากดราม่าเคส ปุ้มปุ้ย...Sharenting โพสต์ภาพลูกมากเกินไป รักหรือละเมิด?

ขบคิดต่อ จากดราม่า ปุ้มปุ้ย พรรณทิพา ไม่โพสต์ภาพลูก เพราะเคารพสิทธิของลูก และ ข้อกฏหมายสิทธิเด็ก ที่พ่อแม่ควรต้องรู้ก่อนโพสต์ภาพลูก กลายเป็น Sharenting จนอันตรายต่อลูกในอนาคต ควรหรือไม่? เด่วสรุปให้ฟัง

       10 กว่าปีที่ผ่านมายุคโซเชียลมีเดีย กลายเป็นยุคที่เราใช้ กล้องแทนตาแชร์ชีวิตผ่านโซเชียลโดยธรรมชาติ รวมถึงภาพ ลูกๆแสนรัก แสนชัง ของพวกเรา เผลอไม่ได้เป็นต้องถ่าย ต้องอัพ ต้องลงแทบทุกอิริยาบถ แค่อยากเก็บไว้เป็นความทรงจำที่แสนมีค่า กับช่วงเวลาหนึ่งของลูกน้อย แต่เราอาจจะลืมไปว่า บางภาพ อาจสร้างตราบาปให้กับพวกเขา และไม่ทันนึกว่า พวกเขาจะรู้สึกอย่างไร เมื่อได้มาดูรูปตัวเองตอนโต?

      ลองคิดดู ขนาดเวลามีใคร Tag รูปยุคมืดมาในเฟส ภาพที่เราคิดว่าตัวเองยังไม่สวยหล่อ ไม่มีแอพแต่งรูป เรายังไม่พอใจเลย แต่เราลบได้ แต่ลูกๆเราเลือกไม่ได้ เขาอาจไม่พอใจ จะถูกล้อ จนได้รับผลกระทบ จากสิ่งที่พวกเราทิ้งไว้เป็น Digital Footprint

       เทรนด์การโพสต์รูปลูกๆของพ่อแม่เป็นเรื่องปกติทั่วโลก เป็นกระแสมากจน ปี 2016 จนมีการบัญญัติคำว่า Sharenting ( นิยามโดย Collins Dictionary)  คือ การโพสต์ข้อมูลส่วนตัว ภาพ วิดีโอ ลูกๆมากเกินไป จนลืมมองเรื่อง ความปลอดภัยและผลกระทบ

หยิบยกให้คิด จากประเด็นดราม่า คุณ ปุ้มปุ้ย พรรณิพา คลอดลูกชาย "น้องไซอัลบลู สกาย ดูวาล”  แต่ก็มิวาย มีดราม่าหนัก เมื่อคุณแม่ตัดสินใจไม่เปิดเผย ใบหน้าลูกชาย
เพราะต้องการเคารพสิทธิลูก ต้องขออนุญาตจากลูกก่อน

ชาวเน็ตดราม่า เสียงแตก
- ส่วนหนึ่งมองว่า  คิดเยอะไป ไปดูรูปดาราคนอื่นก็ได้ จะรอดูว่าจะทนได้นานไหม

- แต่ส่วนหนึ่ง ยอมรับว่าตัวเองไม่เคยคิดมุมนี้
Sharenting มากเกินไปทำร้ายลูกได้  และจะเอาไปใช้กับครอบครัวตัวเองด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :


ผลกระทบต่อเด็กยังไงบ้าง?
อ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เผย

1.ก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวเด็ก เพราะ“ข้อมูลพื้นฐานของเด็ก” อาจนำไปถึง ลักพาตัว

2.อาจทำให้เด็กสูญเสียความเป็นตัวเอง โพสต์จนสร้างตัวตนให้เด็ก ตามที่พ่อแม่ว่าดี

3.ส่งผลต่อสภาพจิตใจในอนาคต

บางภาพเช่น รูปเด็กเปลือย อนาคตอาจถูกขุดคุ้ย สะเทือนใจพวกเขาได้ เช่น

เหมือนเคส สเปนเซอร์ เอลเดน วัย 30 ปี ยังเผชิญกับ ตราบาป ที่ทุกคนเห็นอวัยวะเพศของเขา บนปกเทปวง เนอร์วาน่า จาก อัลบั้มเนเวอร์มายด์ มียอดขายมากกว่า 30 ล้านชุดทั่วโลก


กฏหมายไทย เกี่ยวกับ สิทธิเด็ก?
พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 27 และ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

ห้ามเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กหรือผู้ปกครอง เจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียงของเด็ก หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์ ซึ่งถูกตีความไว้ค่อนข้างกว้าง และเก่า อาจไม่เท่าทันยุคปัจจุบัน


แต่ปัญหาสำคัญอยู่ที่การบังคับใช้  เพราะประเด็นครอบครัวละเอียดอ่อนสำหรับคนไทย
โทษน้อย พ่อแม่ไม่เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องตระหนักถึงเรื่องนี้

 

ผิดกับ ต่างประเทศ
ใน ฝรั่งเศส หากพ่อแม่โพสต์ข้อมูลส่วนตัวหรือรูปถ่ายของลูกโดยไม่ได้รับอนุญาตต้องรับโทษทั้งจำและปรับ
สหรัฐอเมริกาก็มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กและเยาวชน
‘COPPA’  ป้องกันการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจาก เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี


รวมทั้ง FB เองก็มีนโยบายห้าม
ไม่ให้โพสต์
- ภาพหัวนมเด็ก อายุต่ำกว่า 4 ขวบ
-การแสดงความรักมากไประหว่าง ใหญ่ กะ เยาว์ หรือ เยาว์กะเยาว์(เช่นKISS)
-ภาพเปลือย

       สุดท้ายโอ๋ว่าด้วยGeneration Gap ด้วย
แต่มันอาจถึงเวลาแล้วไหมที่สังคมไทยจะยอมเปิดใจ รับฟัง และถกกันเรื่อง ความอันตราย และ สิทธิเด็กอย่างจริงจัง เหรียญยังมี 2ด้าน เราควรรู้เท่าทันเทคโนโลยี จะลงรูปภาพลูกๆอย่างไร ให้เหมาะสม และ ไม่ทำร้ายพวกเขาในอนาคต

related