svasdssvasds

“ทุ่งรับน้ำภาคกลาง” มีปริมาณน้ำแค่ไหน บางแห่งวิกฤตเกิน 100% แล้ว เช็กที่นี่

“ทุ่งรับน้ำภาคกลาง” มีปริมาณน้ำแค่ไหน บางแห่งวิกฤตเกิน 100% แล้ว เช็กที่นี่

เช็กปริมาณน้ำ “ทุ่งรับน้ำภาคกลาง” ทั้ง 12 แห่ง อีกตัวช่วยในสถานการณ์น้ำท่วมปี 2565 ก่อนมวลน้ำจะไหลเข้าพื้นที่เศรษฐกิจและกรุงเทพมหานครฯ ยังสามารถรับน้ำได้มากน้อยแค่ไหน ขณะที่บางแห่งวิกฤตปริมาณน้ำเกิน 100% แล้ว

ทำความรู้จัก ทุ่งรับน้ำภาคกลาง คือพื้นที่ลุ่มต่ำ 12 ทุ่ง ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง พื้นที่รวมประมาณ 1.15 ล้านไร่ ถ้าสถานการณ์ปกติจะมีการปลูกข้าวและเก็บเกี่ยวตามรอบตามคำแนะนำของกรมชลประทาน เพื่อลดความเสียหายในฤดูน้ำหลาก หลังจากนั้นจะปรับให้เป็นพื้นที่รองรับน้ำ โดยจะเริ่มต้นตัดยอดน้ำผ่านระบบชลประทานเข้าทุ่งต่างๆ ก่อน 9 ทุ่ง ประกอบด้วย ทุ่งเชียงราก ทุ่งฝั่งซ้ายคลองชัยนาท-ป่าสัก ทุ่งท่าวุ้ง ทุ่งบางกุ่ม ทุ่งบางกุ้ง ทุ่งบางบาล-บ้านแพน ทุ่งป่าโมก ทุ่งผักไห่ และทุ่งเจ้าเจ็ด ส่วนพื้นที่ลุ่มต่ำ ได้แก่ ทุ่งโพธิ์พระยา จะเป็นลำดับต่อไป

ขณะเดียวกันในพื้นที่ลุ่มต่ำทุ่งรังสิตใต้ (โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้) และทุ่งพระยาบรรลือ(โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระยาบรรลือ) จะเป็นการระบายน้ำผ่านทุ่ง

ทั้งนี้พื้นที่ลุ่มต่ำทั้ง 12 ทุ่งรับน้ำภาคกลาง สามารถเก็บกักน้ำได้รวมกันทั้งสิ้นประมาณ 1,500 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยหลังจากพ้นช่วงสถานการณ์น้ำหลาก ทางกรมชลประทานจะระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่มต่ำทั้งหมด เพื่อให้เกษตรกรทำการเกษตรในรอบต่อไปได้ทันตามฤดูกาล

สถานการณ์น้ำท่วมปี 2565

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สถานการณ์น้ำท่วมปี 2565 ทุ่งรับน้ำภาคกลางถือว่ามีความสำคัญที่จะช่วงระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักชลสิทธิ์ รวมถึงช่วยชะลอมวลน้ำที่มุ่งเข้าสู่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ล่าสุด กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (ส่วนหน้า) ภาคกลาง รายงานการรับน้ำเข้าทุ่ง วันที่ 7 ต.ค. 2565 ตามข้อตกลง ประกอบด้วย

พื้นที่ทุ่งรับน้ำเจ้าพระยา

1. ทุ่งเชียงราก : พื้นที่รับน้ำ 38,300 ไร่ รับน้ำ 80 ล้านลบ.ม.

มีน้ำในทุ่ง 51.41 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็น 64 เปอร์เซ็นต์ของความจุทุ่ง และมีระดับน้ำเพิ่มขึ้น 1 ซม.

2. ทุ่งท่าวุ้ง : พื้นที่รับน้ำ 45,700 ไร่ รับน้ำ 84 ล้านลบ.ม.

มีน้ำในทุ่ง 24.66 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็น 29 เปอร์เซ็นต์ของความจุทุ่ง และมีระดับน้ำเพิ่มขึ้น 5 ซม.

3. ทุ่งฝั่งซ้าย คลองชัยนาท-ป่าสัก : พื้นที่รับน้ำ 72,680 ไร่

มีน้ำในทุ่ง 77.56 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็น 67 เปอร์เซ็นต์ของความจุทุ่ง และมีระดับน้ำเพิ่มขึ้น 3 ซม.

“ทุ่งรับน้ำภาคกลาง” มีปริมาณน้ำแค่ไหน บางแห่งวิกฤตเกิน 100% แล้ว เช็กที่นี่

 

4. ทุ่งบางกุ่ม : พื้นที่รับน้ำ 83,000ไร่ รับน้ำ 130 ล้านลบ.ม.

มีน้ำในทุ่ง 150.40 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็น 116 เปอร์เซ็นต์ของความจุทุ่ง และมีระดับน้ำเพิ่มขึ้น 16 ซม.

5.ทุ่งบางกุ้ง : พื้นที่รับน้ำ 17,000 ไร่ รับน้ำ27 ล้านลบ.ม.

มีน้ำในทุ่ง 28.12 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็น 104 เปอร์เซ็นต์ของความจุทุ่ง และมีระดับน้ำเพิ่มขึ้น 14 ซม.

6. ทุ่งบางบาล-บ้านแพน : พื้นที่รับน้ำ 33,450 ไร่ รับน้ำ107 ล้านลบ.ม.

มีน้ำในทุ่ง 51.06 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็น 74 เปอร์เซ็นต์ของความจุทุ่ง และมีระดับน้ำเพิ่มขึ้น 14 ซม.

สถานการณ์น้ำท่วมปี 2565

7.ทุ่งป่าโมก : พื้นที่รับน้ำ 20,854 ไร่ รับน้ำ 50 ล้านลบ.ม.

มีน้ำในทุ่ง 40.97 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็น 82 เปอร์เซ็นต์ของความจุทุ่ง และมีระดับน้ำเพิ่มขึ้น 8 ซม.

8. ทุ่งผักไห่ : พื้นที่รับน้ำ 124,879 ไร่ รับน้ำ 200 ล้านลบ.ม.

มีน้ำในทุ่ง 140.90 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ของความจุทุ่ง และมีระดับน้ำเพิ่มขึ้น 7 ซม.

9. ทุ่งเจ้าเจ็ด : พื้นที่รับน้ำ 350,000 ไร่ รับน้ำ 500 ล้านลบ.ม.

มีน้ำในทุ่ง 111.67 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็น 32 เปอร์เซ็นต์ของความจุทุ่ง และมีระดับน้ำคงที่ 

10. ทุ่งโพธิ์พระยา : พื้นที่รับน้ำ 167,351 ไร่ รับน้ำ160 ล้านลบ.ม. 

มีน้ำในทุ่ง 155.30 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็น 77 เปอร์เซ็นต์ของความจุทุ่ง และมีระดับน้ำเพิ่มขึ้น 4 ซม.

11. โครงการฯพระยาบันลือ พื้นที่รับน้ำ 85,494 ไร่ รับน้ำผ่านทุ่ง 100 ลบ.ม.ต่อวินาที

12. โครงการฯรังสิตใต้ พื้นที่รับน้ำ 101,190 ไร่ รับน้ำผ่านทุ่ง 80 ลบ.ม.ต่อวินาที

“ทุ่งรับน้ำภาคกลาง” มีปริมาณน้ำแค่ไหน บางแห่งวิกฤตเกิน 100% แล้ว เช็กที่นี่ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีรับฟังสถานการณ์น้ำพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง จากศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า พบว่า ภาพรวมปริมาณน้ำปี 65 มากกว่า ปี 64 โดยใกล้เคียงกับปี 54 อันเกิดจากมรสุมและพายุที่พาดผ่านไทยหลายลูก ปริมาณน้ำยม น่านและปิงรับน้ำมากขึ้น 

จึงได้ขอให้พิจารณาเร่งเบี่ยงน้ำจากแม่น้ำป่าสัก เข้าคลองระพีพัฒน์ออกทะเลโดยตรง รวมทั้งขอให้หน่วงน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ลงทุ่งรับน้ำในพื้นที่ จว.นครสวรรค์ และให้ผันน้ำเข้าทุ่งรับน้ำ 10 ทุ่งที่จัดเตรียมไว้ เพื่อลดปริมาณน้ำลงพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง และขอให้เร่งระบายน้ำท่วมขังออกจากพื้นที่ชุมชน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน  โดยให้ สทนช.เร่งขับเคลื่อนแผนป้องกันและแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งไปในคราวเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาน้ำระดับพื้นที่และกักน้ำไว้เพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง พร้อมทั้ง กำชับให้กรมชลประทานเร่งก่อสร้างคลองระบายน้ำหลากบางบาล - บางไทร ให้เร็วขึ้น  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ จว.อยุธยา ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว

related