เหตุกราดยิง:อีกกี่บทเรียนที่ต้องถอด เสวนาที่ดึงนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญวิทยา จิตวิทยา และอดีตเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ผ่านประสบการณ์การทำงานที่มีส่วนเชื่อมโยงในการหาคำตอบจากเหตุการณ์กราดยิงหนองบัวลำภู เรียนรู้ไปกับกรณีศึกษาจากอดีตตำรวจากสหราชอาณาจักร
(วันที่ 10 ตุลาคม) ในวงเสวนา "เหตุกราดยิง:อีกกี่บทเรียนที่ต้องถอด" จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นการนำนักวิชาการที่มีส่วนเกี่ยวข้องในสาขาที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์สะเทือนหัวใจคนไทยและชาวต่างชาติ กราดยิงหนองบัวลำภู มาร่วมกันแสดงทัศนะ แลกเปลี่ยน ผ่านมุมมองและประสบการณ์การทำงาน เพื่อร่วมกันชี้ให้เห็นเส้นทางและส่วนผสมที่ทำให้เกิดความสูญเสียหนึ่งในครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ของไทย รวมไปถึงกรณีตัวอย่างที่เคยทำสำเร็จที่ภาครัฐสามารถนำมาวางแนวทางในการแก้ไขเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“หนี ซ่อน สู้” หลักสากลเอาชีวิตรอด ในเหตุกราดยิง (Active Shooter)
ทำความเข้าใจภาวะ PTSD คืออะไร? ดูแลจิตใจอย่างไรให้กลับมาใช้ชีวิตได้อีกครั้ง
Christchurch Call : เมื่อนิวซีแลนด์เจอเหตุกราดยิง จำกัดความรุนแรงอย่างไร ?
Its is not the weapon it is the person. ซึ่งหมายถึง ไม่ใช่เพราะอาวุธ แต่เป็นเรื่องของบุคคล
Aaron Le Boutillier อดีตตำรวจประเทศสหราชอาณาจักร ได้เป็นผู้เปิดวงสนทนาในครั้งนี้เป็นคนแรก กล่าวเน้นย้ำ
โดยอดีตเจ้าหน้าที่ Aaron ได้กล่าวว่า ไม่มีแบบแผนการจัดการสำเร็จรูปที่สามารถใช้ได้กับทุกที่ แต่ละประเทศต่างมีบริบท ความเชื่อ ประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน การนำมาปรับใช้ให้ตอบโจทย์กับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยก็เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณา
โดยให้ความเห็นว่าการนำผู้ติดสารเสพติดเข้าเรือนจำอาจไม่ใช่ทางแก้ให้ปัญหานี้ลดลง การบำบัดเพื่อให้พวกเขากลับมาใช้ชีวิตในสังคมปกติได้อย่างปกติสุขควรเป็นทางเลือกที่ควรให้ความสำคัญ ประเภทยาเสพติดหลักๆ แล้วมี 3 ประเภทซี่งก่อให้เกิดปฏิกิริยาออกฤทธิ์ที่ไม่เหมือนกัน ประกอบด้วย กดประสาท กระตุ้นประสาท และหลอนประสาท เมื่อผู้ใช้สารเสพติดที่มีสภาวะจิตใจไม่คงที่ ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะก่อเหตุการณ์รุนแรงได้สูง
ทั้งนี้ในวัฒนธรรมตำรวจส่วนใหญ่ทั่วโลก ตีกรอบไม่ให้แสดงความอ่อนแอ หรือแสดงอารมณ์ ทั้งจากหน้าที่ที่ต้องเผชิญหน้ากับผู้กระทำความผิด การประสบกับอาชญากรรมและการเสียชีวิต เป็นประจำ รวมถึงเพื่อนร่วมงานที่เป็นพิษ
สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่บีบให้ต้องเข้มแข็งตลอดเวลาเป็นระยะเวลาต่อเนื่องนานๆ หลายปี ในท้ายที่สุดจะเป็นระเบิดเวลาที่อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย การมีพื้นที่ปลอดภัยสำหรับให้คำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง
ในสหราชอาณาจักรจะมีหน่วยที่ชื่อว่า An Authorised Firearms Officer (AFO) เป็นหน่วยที่ได้รับอนุญาตให้ครอบครองปืนขณะปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งต้องผ่านการคัดเลือก ฝึกสอน ตรวจสุขภาพกายและจิต อย่างเข้มข้นก่อนที่จะเข้าร่วมทีม โดยระบบการเข้าถึงปืนก็มีแนวทางที่ชัดเจน ดังนี้
ที่น่าสนใจคืออดีตเจ้าหน้าที่ Aaron ได้กล่าวว่า การที่เจ้าหน้าที่จะยกปืนขึ้นจ่อใครก็ตาม ต้องทำรายงานเอกสารจำนวนมากเพื่อชี้แจงรายละเอียดที่มาและเหตุผลทุกครั้ง เจ้าหน้าที่ตำรวจที่พกพาอาวุธจะต้องตระหนักเสมอว่าตัวเองกำลังปฏิบัติหน้าที่เพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยของคนในสังคม เป็นหน้าที่พิเศษ ที่มีความรับผิดชอบต่อความไว้วางใจของคนในชุมชน
โดยเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจถูกปลดประจำการหรือพักงานจะไม่มีสามารถเข้าถึงอาวุธปืนได้อีก
ซึ่งมีการยกกรณีศึกษาขึ้นมา 2 ตัวอย่างได้แก่ เหตุการณ์กราดยิงสถานเลี้ยงเด็กในสหราชอาณาจักรและเหตุการณ์ที่แทสเมเนีย ส่วนหนึ่งของประเทศออสเตรเลีย หลังจากเกิดเหตุรัฐบาลทั้งสองที่ได้เสนอซื้อปืนคืนจากประชาชน
สามารถรวบรวมมาได้กว่าหลายล้านกระบอก ซึ่งจากการหาข้อมูลอดีตเจ้าหน้าที่ Aaron กล่าวว่าประเทศไทยเองก็เคยเรียกร้องให้ประชาชนนำปืนมาขายให้รัฐ แต่นโยบายนี้กลับไม่ประสบความสำเร็จ
ผู้เขียนข้อทิ้งท้ายไว้ว่า "พลังที่ยิ่งใหญ่มาพร้อมกับความรับผิดชอบที่ใหญ่ยิ่ง" คำกล่าวนี้มาจากการ์ตูนเรื่อง Spider-Man ซึ่งที่ยกมานั้น พลังในที่นี้อาจหมายรวมได้ถึงพลานุภาพของอาวุธปืนในมือที่เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือประชาชนถือครองอยู่ซึ่งมีพลังสามารถใช้สังหารหรือใช้ปกป้องภัย คนที่มีอาวุธปืนอยู่ต้องตระหนักให้ดีถึงผลที่จะตามมา การป้องกันไม่ให้อาวุธปืนไปอยู่ในมือของผู้ที่ไม่สมควรครอบครองเป็นแนวทางที่อดีตเจ้าหน้าที่ตำรวจจากสหราชอาณาจักร Aaron Le Boutillier ยกขึ้นมาเป็นกรณีศึกษา เพราะสามารถหยุดเหตุการณ์รุนแรงกราดยิงในอดีตลงได้ในหลายๆ พื้นที่ที่เลือกใช้วิธีนี้เป็นแนวทางในการสร้างการเปลี่ยนแปลง