svasdssvasds

นักกฎหมายชี้ มติ กสทช. ควบรวมทรู-ดีแทค ประธานโหวตซ้ำ ผิดกฎหมาย

นักกฎหมายชี้ มติ กสทช. ควบรวมทรู-ดีแทค ประธานโหวตซ้ำ ผิดกฎหมาย

เวทีเสวนา "ย้อนรอยอำนาจ กสทช. : หลังมติให้ควบรวมทรู-ดีแทค" นักกฎหมาย ชี้ มติเอื้อทุนเป็นโมฆะ ประธานโหวตซ้ำไม่ได้ เข้าข่ายจงใจทำผิดกฎหมาย

จากกรณีที่คณะกรรมการกิจการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม หรือ กสทช.ได้มีการลงมติกรณีการขอควบรวมทรู-ดีแทค ด้วยคะแนน 3:2:1 (รับทราบ 3, ไม่อนุญาต 2 งดออกเสียง 1) และได้แจ้งผลการลงมติเป็นทางการซึ่งทำให้การควบรวมระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ดำเนินไปโดยไม่ต้องผ่านการขออนุญาตต่อ กสทช. นั้น

ภายหลังจากการมีมติดังกล่าวได้มีเสียงเรียกร้องจากหลายภาคส่วนให้ประชาชนร่วมกันฟ้องร้องต่อ กสทช. อย่าปล่อยให้เกิดการรวมระหว่างสองบริษัทที่จะทำให้เกิดผลร้ายต่อระบบเศรษฐกิจ ภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน และสิทธิการเข้าถึงคลื่นความถี่

ซึ่งสภาองค์กรของผู้บริโภคได้อยู่ระหว่างการดำเนินการเตรียมคำร้องขอเพิกถอนมติ กสทช. และขอไต่สวนคุ้มครองฉุกเฉินเมื่อวันที่ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา และเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา สภาองค์กรของผู้บริโภค ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา "ย้อนรอยอำนาจ กสทช. : หลังมติให้ควบรวมทรู-ดีแทค" ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โดยมี ผศ.ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อารีวรรณ จตุทอง กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค กสทช., จิณณะ แย้มอ่วม อนุกรรมการด้านการเงินการธนาคาร สภาองค์กรของผู้บริโภค และพิภพ ธงไชย อดีตประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) และเลขาธิการอาสามูลนิธิเด็ก

นักกฎหมายชี้ “มติ กสทช. ควบรวมทรู-ดีแทค ประธานโหวตซ้ำ ผิดกฎหมาย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผศ.ดร.ปริญญา ชี้ มติ กสทช. ผิดกฎหมาย

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล นักวิชาการด้านกฎหมาย ชี้ การมีมติดังกล่าวผิดกฎหมาย เหตุเพราะการลงมติครั้งแรกที่มี ผล 2:2:1 นั้นเป็นโมฆะไปแล้ว ด้วยเหตุที่ไม่มีผลโหวตที่เป็นเสียงข้างมาก และเนื่องจากมติก็ไม่ได้มีผลเท่ากับกึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดห้าคน ประธานจะโหวตจึงซ้ำไม่ได้ การโหวต “รับทราบ” ซ้ำของประธานจึงเห็นได้ว่าเป็นเจตนาอนุญาตให้เกิดการควบรวมโดยไม่ต้องขออนุญาตตามที่กฎหมายบัญญติ แม้จะมีเสียงทักท้วง และมีการวินิจฉัยจากศาลปกครอง คณะกรรมการกฤษฎีกา และอนุกรรมการของ ตรงกันว่าอีกทั้งการที่ กสทช. มีอำนาจในพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ควบรวม

“ข้อนี้จะโยงไปสู่การใช้อํานาจโดยมิชอบเพราะเท่ากับเป็นการอนุญาตโดยไม่ต้องพิจารณาว่าควรอนุญาตหรือไม่ เพราะถ้าหากพิจารณาว่าขออนุญาตหรือไม่นั้น จะมีประเด็นหลักเกณฑ์ที่อาจทําให้อนุญาตไม่ได้ จึงต้องอนุญาตด้วยวิธีการนี้ คือด้วยการตีความว่าตัวเองไม่มีอํานาจในการพิจารณา คืออนุญาตให้ควบรวมนั่นเอง ซึ่งผิดทั้งในแง่ของประเด็นที่มีมติแล้วการลงมติก็ผิดอีก เป็นความผิดหลายชั้นมาก” ผศ.ดร. ปริญญาเน้นย้ำ “เรื่องนี้เราต้อง ต้องไปให้ถึงศาลปกครองนะครับ และอย่าลืมว่า สุดท้ายแล้วหากไม่เกิดการแข่งขันประชาชนต้องจ่ายเงิน เพื่อใช้คลื่นความถี่ ที่เป็นสมบัติของประชาชนเองในราคาที่แพงขึ้น กสทช. ต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้”

กสทช. ใช้สิ่งใดเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจลงมติ “รับทราบ”

ขณะที่ จิณณะ แย้มอ่วม อนุกรรมการด้านการเงินการธนาคาร สภาองค์กรของผู้บริโภค ระบุว่า หาก กสทช. ยังตอบไม่ได้ว่ากระบวนการก่อนที่จะลงมติให้ควบรวมกิจการชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่กลับลงมติให้ควบรวมกิจการ จึงเกิดคำถามว่ากรรมการ กสทช. ใช้สิ่งใดเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจลงมติรับทราบให้ควบรวมกิจการ และหากคณะกรรมการ กสทช. ไม่ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฎหมายย่อมส่งผลกระทบต่อทั้งตัวคณะกรรมการและผลประโยชน์ประชาชนและประเทศโดยภาพรวม

ประชาชนที่ตื่นตัว ควบรวมทรู-ดีแทค

ด้าน อารีวรรณ จตุทอง กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค กสทช. อธิบายถึงการทำงานของ กตป. ว่าเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) รวมถึงเลขาธิการ กสทช.

ในประเด็นการลงมติของ กสทช. ที่รับทราบการควบรวมทรู-ดีแทค พร้อมกำหนดเงื่อนไขและมาตรการเฉพาะ และปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในพื้นที่ต่างๆ ทั้งนี้ พบว่า ประชาชนที่ตื่นตัวและให้ความสนใจในเรื่องนี้

และหลังจากนี้จะมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาให้ความเห็นในเรื่องนั้น เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลาย ๆ เรื่องทั้งกฎหมาย เศรษฐกิจ โทรคมนาคม รวมทั้งจะเชิญจากสภาองค์กรของผู้บริโภค เข้ามาให้ข้อมูล ในฐานะที่เป็นตัวแทนของผู้บริโภคตามกฎหมาย

นักกฎหมายชี้ “มติ กสทช. ควบรวมทรู-ดีแทค ประธานโหวตซ้ำ ผิดกฎหมาย

พิภพ ชวนประชาชนร่วมลงชื่อเพิกถอนมติ กสทช. กรณีควบรวมทรู-ดีแทค

ส่วน พิภพ ธงไชย อดีตประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) และเลขาธิการอาสามูลนิธิเด็ก กล่าวว่า กสทช. เป็นหนึ่งในองค์กรอิสระที่ถูกตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญปี 2540 เพื่อจัดสรรคลื่นความถี่ที่เป็นสมบัติของชาติ ไม่ให้ผูกขาด กรณีที่มีความต้องการควบรวมกิจการและดีลนั้นมีแนวโน้มจะเกิดการผูกขาด ประชาชนเสียประโยชน์ เสียอำนาจต่อรอง องค์กรอิสระนี้ก็ต้องไม่อนุญาตให้ควบรวมเพื่อพิทักษ์ประโยชน์ของประชาชน ดังนั้น องค์กรอิสระทั้งหลายต้องตระหนักว่าการได้มาหรือการได้เป็นกรรมการในองค์กรอิสระนั้นเกิดมาจากเลือดเนื้อของประชาชน จึงต้องตระหนักถึงเจตนารมณ์ในการต้องมีความเป็นอิสระและใช้สติปัญญาเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน

ทั้งนี้ ขอเชิญชวนทุกคนร่วมลงชื่อสนับสนุนสภาองค์กรของผู้บริโภค ในการฟ้องศาลปกครองเพิกถอนมติเสียงข้างมาก กสทช. ที่ให้ควบรวมทรู-ดีแทค พร้อมขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนนำมติผิดกฎหมายไปดำเนินการต่อ

นักกฎหมายชี้ “มติ กสทช. ควบรวมทรู-ดีแทค ประธานโหวตซ้ำ ผิดกฎหมาย

related