svasdssvasds

นิด้าโพล เผยผลสำรวจ ความเข้าใจเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ ในสังคมไทย

นิด้าโพล เผยผลสำรวจ ความเข้าใจเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ ในสังคมไทย

นิด้าโพล เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ความเข้าใจเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศในสังคมไทย” พบมีคนไทยจำนวนไม่น้อย มีความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” ร่วมกับ ศูนย์สาธารณประโยชน์และประชาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ความเข้าใจเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศในสังคมไทย”

ทำการสำรวจระหว่าง วันที่ 10-15 พฤศจิกายน 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ รวมท้ังสิ้นจำนวน 1,311 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความเข้าใจในรูปแบบหรือลักษณะความรุนแรงทางเพศในสังคมไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (MasterSample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมนั่ ร้อยละ 97.0 จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความเข้าใจในรูปแบบหรือลักษณะความรุนแรงทางเพศ พบว่า

นิด้าโพล เผยผลสำรวจ “ความเข้าใจเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศในสังคมไทย”

1. ท่านคิดว่ารูปแบบหรือลักษณะเหล่านี้ป็นความรุนแรงทางเพศ หรือไม่

1.1 การที่นักเรียนชายรุ่นพี่พยายามข่มขืนนักเรียนหญิงรุ่นน้องที่คิดว่าชอบตัวเอง

เป็นความรุนแรงทางเพศ 97.86 %

ไม่เป็นความรุนแรงทางเพศ 2.14 %

1.2 การที่สามีบังคับให้ภรรยา (ซึ่งไม่มีงานทำหรือไม่มีรายได้) ค้าบริการทางเพศ โดยขู่ว่าจะไล่ออกจากบ้านหากไม่ยอมทำตาม

เป็นความรุนแรงทางเพศ 91.30 %

ไม่เป็นความรุนแรงทางเพศ 8.70 %

1.3 การหว่านล้อมจากการคุยออนไลน์ให้ผู้หญิงส่งรูปเปลือยของตนเองไปให้ แล้วขู่ว่าจะประจานให้เสียชื่อเสียงหากไม่ส่งเงินมาให้

เป็นความรุนแรงทางเพศ 84.90 %

ไม่เป็นความรุนแรงทางเพศ 15.10 %

1.4 เหตุการณ์จากหัวข้อข่าว “สาวสวยถูกแฟนทำร้ายดับ อ้างหึงหวง”

เป็นความรุนแรงทางเพศ 83.14 %

ไม่เป็นความรุนแรงทางเพศ 16.86 %

นิด้าโพล เผยผลสำรวจ “ความเข้าใจเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศในสังคมไทย”

1.5 การที่ผู้หญิงแต่งตัวโป๊ และถูกแอบถ่ายรูปไปลงในโซเชียลมีเดีย และวิพากษ์วิจารณ์จนเธอรู้สึกอับอาย

เป็นความรุนแรงทางเพศ 76.81 %

ไม่เป็นความรุนแรงทางเพศ 23.19 %

1.6 การที่พนักงานรู้สึกอึดอัดใจที่ผู้บริหารมักเล่าเรื่องขำขันเชิงเพศ และแชร์รูปโป๊ เปลือยบ่อยครั้ง รวมทั้งแซวรูปโฉมผู้หญิง

เป็นความรุนแรงทางเพศ 76.81 %

ไม่เป็นความรุนแรงทางเพศ 23.19 %

1.7 การที่สามีบังคับให้ภรรยามีเพศสัมพันธ์ด้วยในขณะที่ภรรยาไม่ยินยอม

เป็นความรุนแรงทางเพศ 72.31 %

ไม่เป็นความรุนแรงทางเพศ 27.69 %

1.8 การที่เด็กหญิงไม่พอใจที่ญาติสนิทผู้ชายชอบกอดและหอมแก้ม

เป็นความรุนแรงทางเพศ 71.32 %

ไม่เป็นความรุนแรงทางเพศ 28.68 %

1.9 การที่สามีหรือภรรยามีชู้หรือนอกใจ จนกระทั่งอีกฝ่ายเกิดความเศร้าโศกเสียใจ

เป็นความรุนแรงทางเพศ 52.17 %

ไม่เป็นความรุนแรงทางเพศ 47.83 %

10.การชักชวนให้เหยื่อออนไลน์หลงรัก และหลอกให้โอนเงินให้

เป็นความรุนแรงทางเพศ 50.88 %

ไม่เป็นความรุนแรงทางเพศ 49.12 %

2. สาเหตุที่ทำให้เกิดความรุนแรงทางเพศ

อันดับ 1 ผู้ชายขาดความเคารพในผู้หญิง 64.15 %

อันดับ 2 ผู้ชายขาดความเข้าใจในความรู้สึกยินยอม หรือไม่ยินยอมของผู้หญิง 50.04 %

อันดับ 3 ผู้หญิงแต่งตัวไม่ดี ให้ท่าผู้ชาย 47.52 %

อันดับ 4 การเลียนแบบพฤติกรรมที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อ เช่น ละคร สื่อสังคมออนไลน์ 3.51 %

อันดับ 5 ยาเสพติดและสิ่งมึนเมา 1.53 %

อันดับ 6 การเลี้ยงดูของครอบครัว 0.69 %

อันดับ 7 ขาดสติ/อารมณ์ชั่ววูบ 0.53 %

อันดับ 8 ปัญหาชู้สาว 0.46 %

อันดับ 9 ไม่เกรงกลัวบทลงโทษตามกฎหมาย 0.15 %

อันดับ 10 ค่านิยมผู้ชายเป็นใหญ่ 0.08 %

ที่มา นิด้าโพล : “ความเข้าใจเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศในสังคมไทย”

related