จากผลกระทบของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ย่อมส่งผลต่อความเป็นอยู่ของคนไทยในทุก ๆ ด้าน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปตท. องค์กรด้านพลังงานของไทย จึงออกยุทธศาสตร์ "ปรับ-เปลี่ยน-ปลูก" โดยมุ่งเป้าหมายการบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์
Swiss Re Institute ได้รายงานผลการศึกษาที่บ่งชี้ว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลก
ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจน เพื่อลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ เมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยโลกเพิ่มขึ้น 2 องศา GDP ของประเทศจะลดลง 4.9% หากสถานการณ์รุนแรงกว่านั้น เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น 3.2 องศา GDP ของประเทศจะลดลง ถึง 43.6%
จากผลกระทบของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปย่อมส่งผลต่อความเป็นอยู่ของคนไทยในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเกษตร และการท่องเที่ยว เรียกได้ว่าเป็นภัยคุกคามที่ทุกคนต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปตท. ซึ่งเป็นองค์กรที่มีวิสัยทัศน์มุ่งขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งอนาคต เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ พร้อมกลยุทธ์ที่เป็นรูปธรรม ด้วยหลักของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี
หนึ่งในประเด็นสำคัญที่องค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง คือ แนวโน้มสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปของประเทศไทย
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของน้ำท่วม ภัยแล้ง ความแปรปรวน รวมถึงภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั้งหลาย ล้วนเป็นผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน ตลอดจนการรายงานข้อมูล และการจัดอันดับต่างๆ ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่มีต่อสังคมอย่างใกล้ตัว
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม Global Risk Index จัดอันดับให้ประเทศไทย มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากโลกร้อนเป็นอันดับ 9 ของโลก ซึ่งมีความเสี่ยงต่อภัยแล้ง สูงเป็นอันดับ 6 ของโลก ขณะที่มีขีดความสามารถในการรับมืออยู่ในอันดับที่ 39 จาก 48 ประเทศ
ทาง ปตท. ตระหนักเป็นอย่างดี ถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว พร้อมทั้งเล็งเห็นโอกาสและความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงนำมาเป็นปัจจัยสำคัญในการทบทวนเป้าหมายและทิศทางการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้สอดคล้องตามวิสัยทัศน์ใหม่และสนับสนุนทิศทางการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำของประเทศ
พร้อมยกระดับการพัฒนาธุรกิจสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยกำหนดเป้าหมายการบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายของประเทศไทย ที่ประกาศต่อที่ประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 ที่ตั้งเป้าไว้ในปี ค.ศ. 2065
ทั้งนี้ ปตท. ได้กำหนดแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านการดำเนินงานหลัก 3 ด้าน ประกอบด้วย
นอกจากนี้ ปตท. ยังยึดมั่นในเจตนารมณ์การดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล และความเป็นเลิศ ควบคู่กับการดูแลสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม เพื่อเติบโตร่วมกับคนไทยอย่างยั่งยืน