svasdssvasds

"ชูวิทย์" แฉ ทุจริตคมนาคม "รถไฟฟ้าสายสีส้ม" 5 สถานีโกง เงินทอน 3 หมื่นล้าน

"ชูวิทย์" แฉ ทุจริตคมนาคม "รถไฟฟ้าสายสีส้ม" 5 สถานีโกง เงินทอน 3 หมื่นล้าน

ชูวิทย์บุกทำเนียบแฉทุจริตคมนาคม โครงการ "รถไฟฟ้าสายสีส้ม" ตั้งข้อสังเกตฮั้วประมูลตั้งแต่ต้น เงินทอน 30,000 ล้าน ถูกโอนไปสิงคโปร์ คาดเป็นทุนเตรียมเลือกตั้ง 2566

 กลายเป็นมหากาพย์ที่ยังไม่มีวี่แววจะจบง่ายๆ สำหรับโครงการก่อสร้าง "รถไฟฟ้าสายสีส้ม" เพราะที่ผ่านมามีการเปิดประกวดราคาหาเอกชนเข้ามาดำเนินมากถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้ล้มประมูลเอง หลังจากนั้นเปิดประกวดราคาครั้งที่ 2 โดยมีการกำหนด TOR ที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น 

 ล่าสุด นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ที่ออกมาแฉซ้ำ ถึงขั้นตอนการประกวดราคา โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่าจะเกิดการทุจริตในกระบวนการประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มครั้งนี้หรือไม่ ล่าสุดนายชูวิทย์ ได้เดินทางมายังบริเวณข้างทำเนียบรัฐบาล พร้อมกับนนำป้ายขนาดใหญ่ซึ่งแสดงให้เห็นข้อมูลในเปิดประกวดราคาก่อสร้าง "รถไฟฟ้าสายสีส้ม"

 นายชูวิทย์ กล่าวว่า สำหรับการประกวดจัดหาผู้รับเหมาเข้ามาดำเนินการก่อสร้าง "รถไฟฟ้าสายสีส้ม" ของ รฟม. โดยมีกระทรวงคมนาคมเป็นเจ้ากระทรวงที่ดูแลนั้น มีความไม่ชอบมาพากลอยู่หลายจุดโดยเฉพาะในขั้นตอนการประกวดราคา การปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ร่างขอบเขตการทำงาน (TOR) ภายหลังจากที่มีการเปิดซองราคาไปแล้ว 

โดยมีการกำหนดคะแนนด้านเทคนิคให้สูงขึ้น จนนำไปสู่การฟ้องร้องศาลปกครอง ต่อเนื่องไปจนถึงการตั้งข้อสังเกตว่าโครงการดังกล่าวเกิดการฮั้วประมูลกับเอกชน เพื่อที่จะรับเงินทอนและนำเงินไปเป็นทุนสำหรับการเลือกตั้งครั้งหน้าของพรรคการเมืองบางพรรคหรือไม่ 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• ชูวิทย์ เตรียมเปิดโปง ทุจริตกระทรวงคมนาคมหมื่นล้านวันนี้

• "ชูวิทย์" แฉอีก สมาคมเถื่อนภาค 2 จ่อลุยทำเนียบ แจงข้อมูลนายกฯ พรุ่งนี้

• "สารวัตรซัว" สะท้อนความเหลื่อมล้ำระบบข้าราชการ ชูวิทย์ ชำแหละวงการสีกากี

"ชูวิทย์" แบ่งการประกวดราคารถไฟฟ้าสายสีส้ม ออกเป็น 5 สถานี ได้แก่ 

• สถานีโกง การปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ TOR ทั้งที่เปิดขายซองประกวดราคาไปแล้ว โดยรูปแบบเดิมเป็นการให้คะแนนค่าก่อสร้าง และเงินตอบแทนที่ รฟม.จะต้องคืนให้แก่เอกชน 

• สถานีทุจริต  มีการร้องศาลปกครอง โดยในชั้นต้นไม่ให้เปลี่ยนหลักเกณฑ์แต่ในชั้นสูงสุดที่ประชุมใหญ่มีมติ 27:23 ให้สามารถเปลี่ยนหลักเกณฑ์ได้ 

• สถานีฮั้ว  ในกระบวนกำหนด TOR รอบใหม่หลังจากที่การประกวดราคาครั้งแรกถูกล้มไปนั้นมีการปรับ TOR ใหม่ให้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น เพื่อให้บางบริษัทเข้าหลักเกณฑ์เพียงบริษัทเดียว

• สถานีเงินทอน พบว่า 30,000 ล้านบาทเข้ากระเป๋าใคร โดยพบว่ามีการโอนเงินไปยังประเทศสิงคโปร์ผ่านธนาคารเอกชนระหว่างประเทศ 

• สถานีปลิว เปิดประมูลรอบสองกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ ต้องเคยเป็นบริษัทที่เป็นคู่สัญญาสัมปาทานกับรัฐบาลเท่านั้น ทำให้เหลือบริษัทเดียว 

 

"เกิดการล็อกสเปกแบบน่าเกลียด ผมโทษใครไม่ได้ แม้แต่รัฐบาลผมก็โทษไม่ได้ เพราะรัฐบาลก็ต้องการลงสมัครพรรคการเมืองเพื่อหวนคืนกลับมามีอำนาจอีกครั้ง ยกตัวอย่างโครงการใหญ่ที่เขาเอาเงินพวกเราไป เงินไป 70,000 ล้านแล้วมีเงินเข้าไปจ่ายค่าคอม 30,000 ล้าน โครงการรถไฟฟ้าสายส้มเป็นตัวอย่างโครงการรับเพียงตัวอย่างเดียว แสดงให้เห็นว่าระบบการทำงานพัง" นายชูวิทย์กล่าว

related