svasdssvasds

กรมอุตุ เผยพายุฤดูร้อนทำทั่วไทยเจอฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ กทม.ชุ่มฉ่ำตก 40 %

กรมอุตุ เผยพายุฤดูร้อนทำทั่วไทยเจอฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ กทม.ชุ่มฉ่ำตก 40 %

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 13 มี.ค. 2566 ทั่วไทยเจอฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ ขณะที่ กทม. เจอฝน 40 % เตือนวันนี้ -14 มี.ค 32 จังหวัด เจอพายุฤดูร้อน ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตกบางแห่ง ฟ้าผ่า ขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 13 มี.ค. 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว คาดว่าจะแผ่ปกคลุมภาคกลาง และภาคตะวันออกในระยะถัดไป ส่งผลทำให้ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก รวมถึงอันตรายจากฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งเกิดขึ้นได้

ฝุ่นละอองในระยะนี้: ภาคเหนือมีแนวโน้มการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันปานกลางถึงมาก เนื่องจากการระบายอากาศไม่ดี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ภาคเหนือ

อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง 
และลูกเห็บตกบางแห่ง
ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ 
อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 27-33 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม.
 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง 
ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย และหนองคาย 
อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 

ภาคกลาง

มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง
ส่วนมากบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี พระนครศรีอยุธยา 
สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง
ส่วนมากบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
 

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

เมฆบางส่วน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร
อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
 

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง และพังงา
อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 
ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
 

กรุงเทพและปริมณฑล

มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง
อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. 

 

ทั้งนี้กรมอุตุนิยมวิทยา ยังได้ออก ประกาศเตืแนเรื่องพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 8 มีผลกระทบในช่วงวันที่ 13 - 14 มีนาคม 2566

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน  ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมีดังนี้

วันที่ 13 มีนาคม 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย และหนองคาย

ภาคกลาง:จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาครและสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก:จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

วันที่ 14 มีนาคม 2566

ภาคตะวันออก: จังหวัดจันทบุรี และตราด

กรมอุตุ เผยพายุฤดูร้อนทำทั่วไทยเจอฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ กทม.ชุ่มฉ่ำตก 40 %

related