svasdssvasds

เปิด ‘เงินฝากวัด’ ทั่วประเทศไทย 4.1 แสนล้าน กว่า 39,000 บัญชี

เปิด ‘เงินฝากวัด’ ทั่วประเทศไทย 4.1 แสนล้าน กว่า 39,000 บัญชี

ส่อง ‘เงินฝากวัด’ ทั่วประเทศไทยปี 2568 ไตรมาส 1 พบว่า มีมูลค่า 4.1 แสนล้าน กว่า 39,000 บัญชี เติบโตจากปี 2567 เพิ่มขึ้นประมาณ 5.5%

SHORT CUT

  • เงินฝากวัด คือ เงินที่วัดหรือพระภิกษุสงฆ์นำไปฝากไว้กับสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ หรือธนาคารของรัฐ เพื่อบริหารจัดการเงินที่ได้จากการรับบริจาค ทำบุญ หรือกิจกรรมต่างๆ ของวัด
  • ช่วงนี้บ้านเรามีประเด็นร้อนฉ่าเกี่ยวกับวัด เกี่ยวกับพระที่เกิดขึ้นมาในสังคม วันนี้ #SPRiNG จะพามาทำความรู้จัก ‘เงินฝากวัด’ ว่าปัจจุบันมีเท่าไหร่ และแหล่งที่มาของเงินฝากวัดมาจากที่ไหนบ้าง
  • พาส่อง ‘เงินฝากวัด’ ทั่วประเทศไทยปี 2568 ไตรมาส 1 พบ 4.1 แสนล้าน กว่า 39,000 บัญชี เติบโตจากปี 2567 เพิ่มขึ้นประมาณ 5.5% 

ส่อง ‘เงินฝากวัด’ ทั่วประเทศไทยปี 2568 ไตรมาส 1 พบว่า มีมูลค่า 4.1 แสนล้าน กว่า 39,000 บัญชี เติบโตจากปี 2567 เพิ่มขึ้นประมาณ 5.5%

ช่วงนี้บ้านเรามีประเด็นร้อนฉ่าเกี่ยวกับวัด เกี่ยวกับพระที่เกิดขึ้นมาในสังคม วันนี้ #SPRiNG จะพามาทำความรู้จัก ‘เงินฝากวัด’ ว่าปัจจุบันมีเท่าไหร่ และแหล่งที่มาของเงินฝากวัดมาจากที่ไหนบ้าง โดยเงินฝากวัด คือ เงินที่วัดหรือพระภิกษุสงฆ์นำไปฝากไว้กับสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ หรือธนาคารของรัฐ เพื่อบริหารจัดการเงินที่ได้จากการรับบริจาค ทำบุญ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ของวัด โดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายกับบัญชีเงินฝากของบุคคลทั่วไป แต่อาจมีข้อพิจารณาพิเศษในด้านวัตถุประสงค์และการใช้เงินเช่นกัน

สำหรับวัตถุประสงค์ของเงินฝากวัด มีดังนี้ เพื่อเก็บรักษาทรัพย์สินของวัดให้ปลอดภัย ไม่ต้องเก็บไว้ในวัดทั้งหมด เพื่อเป็นทุนหมุนเวียน สำหรับการซ่อมแซมวัด การจัดกิจกรรมทางศาสนา หรือช่วยเหลือสาธารณะรวมถึงการมุ่งหวังสร้างดอกผลเพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมสงฆ์ หรือการพัฒนาวัดโดยไม่ให้กระทบกับเงินต้น โดยจะมีทั้งบัญชีออมทรัพย์/ฝากประจำในชื่อวัดหรือพระภิกษุผู้ดูแลวัด และโครงการเงินฝากเฉพาะทางจากธนาคารของรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน เคยมี “โครงการส่งเสริมวินัยทางการเงินของวัด” หรือ ธนาคารกรุงไทย บัญชี "กรุงไทย ธรรมะมั่นคง"

ทั้งนี้การฝากเงินของวัดต้องดำเนินการภายใต้กฎเกณฑ์ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และพระภิกษุไม่มีสิทธิใช้เงินส่วนตัว ต้องใช้ในนามวัดหรือเพื่อกิจกรรมสงฆ์เท่านั้น และที่ผ่านมาพบว่าวัดขนาดใหญ่หรือวัดดัง อาจมีเงินฝากหลักล้านหรือมากกว่านั้น

เปิด ‘เงินฝากวัด’ ทั่วประเทศไทย 4.1 แสนล้าน กว่า 39,000 บัญชี

อย่างไรก็ตามผู้มีสิทธิ์ในการจัดการเงินฝากวัด คือ เจ้าอาวาส มีหน้าที่ควบคุม ดูแล และบริหารจัดการทรัพย์สินของวัด รวมถึงเงินฝาก ต้องปฏิบัติตาม ระเบียบคณะสงฆ์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการเบิกจ่ายเงินต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อกิจการของวัด เช่น การบูรณปฏิสังขรณ์วัด การศึกษา การบำรุงพระพุทธศาสนา ฯลฯ และคณะกรรมการวัด (ถ้ามีการแต่งตั้ง)อาจมีส่วนร่วมในการพิจารณาอนุมัติการใช้เงิน โดยเฉพาะในวัดที่มีการบริหารแบบโปร่งใส ไม่ใช่ผู้มีอำนาจโดยตรง แต่เป็นกลไกที่ช่วยกำกับดูแลการใช้เงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

สุดท้าย คือ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (เฉพาะบางกรณี) หากมีเรื่องร้องเรียน การตรวจสอบ หรือวัดได้รับงบประมาณแผ่นดินร่วมด้วย จะมีสิทธิ์เข้าตรวจสอบหรือกำกับ สำหรับข้อควรระวังเงินฝากวัดไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนตัวของเจ้าอาวาสหรือพระสงฆ์ หากมีการเบิกถอนหรือใช้จ่ายโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว อาจเข้าข่ายการกระทำผิดวินัยหรือกฎหมาย และการเปิดบัญชีเงินฝากวัด ต้องใช้ชื่อวัดเป็นชื่อบัญชี และมักต้องมี ลายเซ็นของเจ้าอาวาสและพระลูกวัดหรือกรรมการวัด ร่วมด้วย (ตามระเบียบแต่ละธนาคาร)

เปิด ‘เงินฝากวัด’ ทั่วประเทศไทย 4.1 แสนล้าน กว่า 39,000 บัญชี

ในส่วนของยอดเงินฝากวัด ปี 2568 ไตรมาส 1 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) , สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ รายงานว่า ยอดรวมทั่วประเทศมากกว่า 4.1 แสนล้านบาท มีจำนวนบัญชีประมาณ 39,000 บัญชี เติบโตจากปี 2567 เพิ่มขึ้นประมาณ 5.5%  ทั้งนี้ในปี2568 มีประเด็นเรื่องเงินฝากวัดที่น่าสนใจ เช่น กระแสเรียกร้องความโปร่งใส มีการเสนอให้ เปิดเผยงบการเงินของวัดต่อสาธารณะ เพื่อป้องกันการใช้เงินไม่โปร่งใส โดยกระทรวงวัฒนธรรมและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เริ่ม วางแนวทางดิจิทัล เช่น วัด e-filing และบัญชีตรวจสอบได้

หลายธนาคารแข่งขันกันดุเดือดเสนอบัญชีดอกเบี้ยพิเศษสำหรับวัดมีระบบบัญชีร่วมที่ต้องใช้ลายเซ็นหลายฝ่าย เพื่อป้องกันทุจริต และบางวัดเริ่มลงทุน ซึ่งมีการนำเงินบางส่วนไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หรือฝากประจำดอกเบี้ยสูง แต่วัดไม่สามารถลงทุนในหุ้นหรือคริปโตเคอเรนซี่เพราะขัดกับกฎหมายและแนวปฏิบัติของมหาเถรสมาคม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

related