svasdssvasds

คลังหน่วยกิตแห่งชาติ ปฏิรูปข้อจำกัดการศึกษา ตอบโจทย์ตลาดงานยุคดิจิทัล

คลังหน่วยกิตแห่งชาติ ปฏิรูปข้อจำกัดการศึกษา ตอบโจทย์ตลาดงานยุคดิจิทัล

คลังหน่วยกิตแห่งชาติ 4 สถาบันนำร่องจับมือกับ SkillLane อุดช่องโหว่ทางการศึกษาของคนไทยเพื่อเรียนรู้ตลอดชีวิต ช้อปปิ้งวิชาข้ามคณะและสถาบัน คาดเริ่มเปิดใช้จริงในช่วงกลางปี 2566

กรุงเทพฯ 18 ตุลาคม 2565 - กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ผนึกความร่วมมือ กับ SkillLane เปิดตัวโครงการนําร่องจัดทําคลังหน่วยกิตแห่งชาติ (National Credit Bank System) ส่งเสริมการ เรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อรองรับการพัฒนาคนทุกช่วงวัย ให้ผู้เรียนซึ่งไม่จําเป็นต้องมีสถานภาพ เป็นนักศึกษาสามารถนําผลการเรียนและผลลัพธ์การเรียนรู้จากวิชาและหลักสูตรต่าง ๆ หรือนําประสบการณ์ ทํางาน มาเทียบโอนและสะสมหน่วยกิตไว้ที่คลังหน่วยกิตแห่งชาติ แล้วสามารถนําขอรับปริญญาบัตรจาก สถาบันอุดมศึกษาของไทยได้ หรือเพื่อเป็นรายงานผลลัพธ์การเรียนรู้สะสมของผู้เรียน 

ประเดิมนําร่อง กับ 4 มหาวิทยาลัยชั้นนําของไทยในช่วงกลางปี พ.ศ. 2566 ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในปัจจุบันที่โลกยุคใหม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีงานรูปแบบใหม่เกิดขึ้นมากมาย คนไทยจําเป็นต้องพัฒนา ทักษะอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันการศึกษาก็ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการของนายจ้างที่เปลี่ยนไป และพฤติกรรมผู้เรียนที่เข้าถึงความรู้ได้จากหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในระบบ การศึกษานอก ระบบ อาทิ การฝึกอบรม และการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น ประสบการณ์ทํางาน ด้วยเหตุนี้ “คลังหน่วยกิตแห่งชาติ” จึงเกิดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ทั้งนักศึกษาและคนทั่วไปเข้าถึงวิชาและหลักสูตรต่างๆ จากหลากหลายแหล่งเรียนรู้ รวมถึงได้ทํางานเก็บประสบการณ์จริงแล้วนํามาเทียบโอนและสะสมหน่วยกิตเพื่อขอรับใบรับรองการเรียนรู้ หรือ ปริญญาบัตรซึ่งแสดงถึงการเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ โดยวิธีเทียบโอนหน่วยกิตและขอรับปริญญาบัตรนั้นจะ ขึ้นอยู่กับระเบียบของสถาบันอุดมศึกษาตามนโยบายของกระทรวงฯ

คลังหน่วยกิตแห่งชาติ ปฏิรูปข้อจำกัดการศึกษา ตอบโจทย์ตลาดงานยุคดิจิทัล

ศ. ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า เมื่อ วันที่ 27 กันยายน 2555 ที่ผ่านมา กระทรวง อว. ได้ประกาศระบบการเทียบโอนหน่วยกิต และ ระบบคลังหน่วยกิตแห่งชาติ (National Credit Bank) ซึ่งเป็นกลไกสําคัญภายใต้ นโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษา ของ รมว.อว. ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ระบบคลังหน่วยกิตแห่งชาติมีเป้าหมายในการส่งเสริมการพัฒนากําลังคนของ ประเทศผ่านการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เป็นการเปิดโอกาสให้คนไทยทุกคนในทุกช่วงวัยสามารถ เข้าถึงการเรียนรู้ใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา ภายใต้ระบบคลังหน่วยกิต ผู้เรียนสามารถสะสมหน่วยกิตผ่านคลังหน่วยกิต เที่มาจากหลักสูตรต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย หน่วยฝึกอบรมที่ได้รับการรับรอง และจากการเทียบโอนประสบการณ์ โดยที่ผ่านมา อว. ได้ดําเนินการโครงการ Thailand Cyber University ที่มีหลักสูตรออนไลน์ ผ่าน Thai Mooc ซึ่งช่วยในการส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียนให้แก่ผู้เรียนนอกมหาวิทยาลัยมาก่อนแล้ว ในขณะที่ระบบคลังหน่วย เกิดใหม่นี้จะเป็นการต่อยอดและขยายโอกาสการเรียนรู้ของผู้เรียนออกไปอีกมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ระบบคลังหน่วยกิตเกิดผลอย่างรวดเร็ว อว. จึงได้ร่วมกับ SkillLane และอีก 4 มหาวิทยาลัย ในการนําร่องการทดลองระบบคลัง หน่วยกิต ทั้งในการดําเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการตามประกาศและทางเทคนิคที่ต้องอาศัยเทคโนโลย สารสนเทศข้อมูล และจะขยายรูปแบบตามโครงการนําร่องไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อให้ระบบคลังหน่วยกิตเกิด ประโยชน์สูงสุด”

นายฐิติพงศ์ พิสิฐวุฒินันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สกิลเลน เอดูเคชั่น จํากัด กล่าวว่า “SkillLane เชื่อมั่นเสมอว่า เทคโนโลยีช่วยลดข้อจํากัดและเพิ่มโอกาสการศึกษาของไทยได้ เราตั้งใจใช้เทคโนโลยีช่วยให้คน เข้าถึงความรู้ยุคใหม่ได้อย่างไร้ข้อจํากัดในเรื่องของสถานที่และเวลา รวมถึงเชื่อมโยงแหล่งความรู้ต่าง ๆ เข้า ด้วยกัน สําหรับความร่วมมือในโครงการนําร่องจัดทําคลังหน่วยกิตแห่งชาตินี้ เราได้ใช้ความเชี่ยวชาญและ ประสบการณ์ของเราเข้ามาช่วยพัฒนาระบบสารสนเทศของคลังหน่วยกิตแห่งชาติโดยใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อคลัง หน่วยกิตของแต่ละสถาบันเข้าไว้ด้วยกัน

รศ. ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเสริมว่า “มหาวิทยาลัยไทย ต้องปรับตัวให้ทันกับโลก และความต้องการของผู้เรียนที่เปลี่ยนไป การเกิดขึ้นของคลังหน่วยกิตแห่งชาติจะช่วย ตอบโจทย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ผู้เรียนไม่จําเป็นต้องเรียนรวดเดียวจนจบ แต่ละคนสามารถเรียนไปได้เรื่อย ๆ ตามเงื่อนไขและจังหวะชีวิตของตัวเอง ที่สําคัญ นอกจากคลังหน่วยกิตแห่งชาติจะเชื่อมต่อกับ TUXSA ซึ่งเป็น หลักสูตรออนไลน์ของธรรมศาสตร์ได้อย่างลงตัวในอนาคตแล้ว ยังจะช่วยให้ธรรมศาสตร์กลับไปทําหน้าที่ตลาดวิชา ยุคดิจิตอลที่ส่งเสริมการ Upskill และ Reskill ให้กับคนในทุกเจนเนอเรชันได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ว่าเขาเหล่านั้น จะอยู่ที่ใดบนโลกใบนี้

 

คลังหน่วยกิตแห่งชาติ ปฏิรูปข้อจำกัดการศึกษา ตอบโจทย์ตลาดงานยุคดิจิทัล

รศ. ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวต่อไปว่า “คลังหน่วยกิตแห่งชาติ (NCBS) เป็น Ecosystem สําคัญของกระทรวงฯ ที่ขยายโอกาสให้กับนิสิตนักศึกษาในระบบ Formal formal และ Non-Formal Education ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนความรู้ใหม่ ๆ ผ่านหลากหลายแหล่งเรียนรู้ประสบการณ์การทํางานจริง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนวิสัยทัศน์ของจุฬาฯ ในศตวรรษใหม่ที่พร้อมปรับตัวเข้ากับ -๑๓ ผ่านการมุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนสังคมและประเทศ รวมถึงผลิตบัณฑิตสมรรถนะสูงที่ ตอบสนองความเจริญก้าวหน้าของโลกยุคใหม่บนฐานของ Demand Driven โดยการไม่ผูกขาดองค์ความรู้ ที่สําคัญ คือ แม้ความรู้ของผู้เรียนจะมีที่มาหลากหลาย แต่ก็เป็นความรู้ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เพราะได้รับการรับรองจากมหาวิทยาลัยอีกขั้นหนึ่งแล้วโดยให้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์และดุลยพินิจตามเจตนารมณ์ของกฎกระทรวงฯ และประกาศ กระทรวงฯ ที่ Decentralized ไปยังแต่ละสภามหาวิทยาลัย”

คลังหน่วยกิตแห่งชาติ ปฏิรูปข้อจำกัดการศึกษา ตอบโจทย์ตลาดงานยุคดิจิทัล

รศ.ดร. ปรารถนา ใจผ่อง ผู้อํานวยการวิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวต่อว่า "คลังหน่วยกิตแห่งชาติ" จะเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะด้านการเปิดโอกาสให้ทุกคนในสังคมได้เข้าถึงองค์ความรู้ ตามความมุ่งหวังของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ สร้างสรรค์ให้สังคมไทยมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ให้การศึกษาเป็นสิ่งเกิดขึ้นในทุกจังหวะของ ชีวิตทั้งเพื่อปริญญาหรือเพื่อการพัฒนาตนเอง ด้วยหลักสูตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสถาบันการศึกษา และ นําไปสู่การเกิดคุณค่าที่แท้จริงของการศึกษา"

รศ. ดร.กฤษณ์ชนม์ ภูมิกิตติพิชญ์ รองอธิการบดีด้านวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี กล่าวเสริมว่า “การเกิดขึ้นของคลังหน่วยกิตแห่งชาติจะช่วยให้การเรียนรู้ตลอดชีวิตสําหรับคนไทยเกิดขึ้น ได้จริงในวงกว้าง และไม่จํากัดว่าต้องอยู่ในรั้วสถาบันอุดมศึกษาเท่านั้น คลังหน่วยกิตนี้จึงเป็นเครื่องมือสําคัญที่จะ ช่วยให้ความตั้งใจของมหาวิทยาลัยในการผลิตและพัฒนาคนผ่านระบบการเรียนการสอนแบบ Lifelong Learning สําเร็จได้จริง ในรูปแบบที่มีศักยภาพยิ่งกว่าเดิม”

คลังหน่วยกิตแห่งชาติ นับเป็นก้าวสําคัญของการศึกษาไทย เป็นการพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศและทลายกําแพงระหว่างสถาบันอุดมศึกษา โดยโครงการนี้จะเริ่มนําร่องใช้กับ 4 สถาบันอุดมศึกษาในช่วงกลางปี พ.ศ. 2566

related