svasdssvasds

กสทช. เตือนมิจฉาชีพอ้างเจ้าหน้าที่แจ้งตัดสัญญาณ ระวังอย่าให้ข้อมูล

กสทช. เตือนมิจฉาชีพอ้างเจ้าหน้าที่แจ้งตัดสัญญาณ ระวังอย่าให้ข้อมูล

กสทช. เตือนมีมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่แจ้งตัดสัญญาณและภาครัฐต่างๆ แจงไม่มีนโยบายโทรหาประชาชน อย่าหลงเชื่อ พร้อมวิธีสังเกตแบบไหนถึงเป็นมิจฉาชีพและวิธีการรับมือ

 ช่วงนี้นั้นถือว่าเป็นช่วงที่ประชาชนหลายคนโดนมิจฉาชีพโทรหา หลายต่อหลายคน และมิจฉาชีพก็ระบาดเยอะพอสมควรทั้งช่องทางออนไลน์รวมไปถึงการโทรมาแอบอ้างเป็นภาครัฐต่างๆ หรือขนส่ง โดยล่าสุด คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ก็ได้ออกมาแจงถึงประเด็นที่มีมิจฉาชีพมาแอบอ้างว่า เป็นเจ้าหน้าที่จาก กสทช.แล้วแจ้งตัดสัญญาณ นั้นไม่เป็นความจริงรวมไปถึงไม่มีนโยบายโทรศัพท์เพื่อแจ้งว่าจะตัดสัญญาณ เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อและให้ระมัดระวังอย่าให้ข้อมูลส่วนตัวเด็ดขาด ถ้าหากพบเห็นสามารถศูนย์รับเรื่องร้องเรียน กสทช. 1200 ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการโทร 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วันนี้เรามาดูว่าแบบไหนถึงเข้าข่ายมิจฉาชีพหรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ปลอมกัน
1.สังเกตว่าเป็นเบอร์ต่างประเทศหรือไม่ เพราะโดยส่วนใหญ่นั้นมิจฉาชีพมักจะใช้เบอร์ที่ไม่คุ้นเคย
2.สังเกตจากการเปิดบทสนทนาที่ทำให้เราตกใจ เช่น คนมียอดค้างชำระ คุณคือผู้โชคดี มีพัสดุตกค้าง  ในบางรายอาจจะอ้างเป็นตำรวจหลอกว่าคุณมีคดีหรือทำผิดกฎหมาย
3.หลังจากนั้นจะเริ่มถามหาข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เลขบัตรประจำตัวประชาชน หรืออื่นๆมากมาย
4.ในบางครั้งจะแกล้งทำเป็นโอนสายไปหาบุคคลที่สาม เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ มากขึ้น
5.สุดท้ายคือการหลอกและโน้มน้าวให้คุณโอนเงิน

วิธีการรับมือเมื่อรู้ว่าเป็นมิจฉาชีพ
1.ลองกดเลขบัญชีตามที่มิจฉาชีพบอกและจดตาม เพื่อที่จะได้รู้ชื่อรวมไปถึงเลขบัญชี สามารถนำไปแจ้งความได้
2.ตัดสายไปเลย เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาโดยปล่าวประโยชน์
3.ข้อนี้ถ้ามีเวลาว่างมากพออาจจะลองแกล้งสอบถามข้อมูลกับหรือกวนประสาทให้มิจฉาชีพวางสายไปเอง
4.สุดท้ายคือควรโทรเช็คแหล่งที่มาของจริงหรือค้นหาในอินเทอร์เน็ตว่าชื่อตรงกันหรือไม่

 ต้องยอมรับว่าในช่วงนี้มิจฉาชีพในสังคมนั้นเยอะมาก สิ่งที่ดีที่สุดคือตั้งสติและหาวิธีรับมือเบื้องต้น เพื่อที่จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพรวมถึงไม่ต้องเสียเงินอย่างไม่เต็มใจ

related