svasdssvasds

ชมรมแพทย์ชนบท บุกกรุงรอบ2 ลุยตรวจเชิงรุกโควิด-19 ตามชุมชนใน กทม.

ชมรมแพทย์ชนบท บุกกรุงรอบ2 ลุยตรวจเชิงรุกโควิด-19 ตามชุมชนใน กทม.

Springnews สัมภาษณ์เปิดใจ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ในภารกิจตรวจเชิงรุกหาเชื้อโควิด-19 ให้ประชาชนในชุมชนต่างๆของกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 21 – 23 ก.ค.

เมื่อวันที่ (23/07/64) Springnews สัมภาษณ์เปิดใจ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ประธาน ชมรมแพทย์ชนบท ดังต่อไปนี้  

เผย จากการตรวจเชิงรุก ของ ชมรมแพทย์ชนบท พบผู้ติดเชื้อเฉลี่ย 10 – 20 %

นพ.สุภัทร เผยว่า จากการตรวจหาเชื้อโควิดในชุมชนต่างๆ พบผู้ติดเชื้อ 10 – 20 % จากการตรวจกว่า 4 หมื่นคน พร้อมเรียกร้องให้ กทม. เพิ่มโรงพยาบาลสนาม

“ก็ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นหลักหมื่น ทุกวันหมื่นสี่แล้ววันนี้ จริงๆ ตัวเลขหมื่นสี่ ก็เป็นตัวเลขที่ไม่จริง เพราะว่าเราตรวจ RT-PCR วันละ 7 – 8 หมื่นคน ก็เจอหมื่นสี่ ถ้าเราตรวจสักสองแสนคน (ต่อวัน) วันหนึ่งจะเจอ 5 - 8 หมื่น

“เพราะจากประสบการณ์ที่เราตรวจมา 2 รอบ รอบแรกที่บุกกรุง กับสัปดาห์นี้ รวมๆ เราตรวจไป 4 หมื่นคน เราพบอัตรา Positive (ติดเชื้อ) 10 – 20 % แล้วแต่ชุมชนนะ ซึ่งถือว่าสูงมาก ในกรุงเทพฯ

“ดังนั้นเนี่ย ชุดความคิดของเราก็คือว่า ดูซิ โอกาสของเขาในการตรวจ ดูว่าเขาจะมีเชื้อ ไม่มีเชื้อแทบไม่มี เราทำอะไรได้บ้าง ราก็พอทำได้ เราเป็นหมอ ที่อำเภอเรา เราทำทุกวัน เราตรวจทุกวันชาวบ้านเข้าถึง แต่คนกรุงเข้าไม่ถึง ก็เลยนัดกันหลายๆ ทีม มาช่วยกรุงเทพกันแต่คงมาบ่อยไม่ได้ มันเป็นภารกิจที่ระบบบริการสาธารณสุข ในกรุงเทพต้องบูธพลังตัวเอง มาช่วยชาวบ้านให้ได้

ถ้าไม่ตรวจเขาก็ไม่รู้ พอไม่รู้ เขาก็ไม่ได้ปฏิบัติตัวให้เหมาะสม การแพร่โรคก็จะกว้างขวาง ตรวจแล้วรรู้ กักตัวที่บ้าน ถ้าที่บ้านสภาพไม่พร้อมที่จะกักตัว ก็ต้องหาโรงพยาบาลสนาม แต่กรุงงเทพ โรงพยาบาลสนามมีน้อยเกินไป

“ต่างจังหวัดของผมนะครับ โรงเรียนก็ทำเป็นโรงพยาบาลสนามได้ ค่ายทหาร ก็เป็นโรงพยาบาลสนาม

ไปหลายแห่งมาก ในสงขลา ค่ายทหารทุกแห่งเป็นโรงพยาบาลสนามหมดแล้ว โรงเรียนก็เป็นโรงพยาบาลสนาม

“วัด มัสยิด เป็นโรงพยาบาลสนามได้ แต่ในกรุงเทพดูเหมือนโรงพยาบาลสนาม มีน้อยมาก ไม่เพียงพอกับผู้ป่วย

"ผมก็อยากเรียกร้องให้ ส่วนราชการต่างๆ ต้องเปิดตัวเองให้เป็นโรงพยาบาลสนาม ไม่จำเป็นต้องมีแพทย์ พยาบาลครบถ้วนก็ได้ครับ เพราะว่าหลายคนที่ป่วย เขาก็ไม่ได้ป่วยมาก เขาแค่ต้องการที่กักตัว ไม่อย่างนั้นก็จะแพร่ระบาดในชุมชน

“ดูชุมชนอย่างนี้ ถ้าเป็น 1 คน ก็จะเหลืออะไรล่ะ  สุดท้ายก็เป็นหมดทั้งชุมชน แล้วพอไปติดคนแก่ ติดผู้สูงอายุ ที่มีโรคประจำตัว ป่วยหนักก็ยิ่งแย่ ไอซียูไม่มีโรงพยาบาลสนามไม่มี ก็ยิ่งแย่”

นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ทีมแพทย์ชนบท ทีมแพทย์ชนบท

ลั่น ระบบการตรวจโควิด ของ กทม. เป็นระบบที่แย่มาก

นพ.สุภัทร ประธาน ชมรมแพทย์ชนบท ให้ข้อมูลว่า หลังจากตรวจแล้ว จะออกผล Rapid Test ให้ทันที และจะทำการตรวจ RT-PCR ให้ทุกคนที่มีผลเป็นบวก โดยผลจะออกอีก 2 วันข้างหน้า ก่อนกล่าวว่า ระบบการตรวจโควิด ของ กทม. เป็นระบบที่แย่มาก

"ระบบในกรุงเทพฯ เป็นระบบที่แย่มาก ไม่เหมือนระบบต่างจังหวัดที่บ้านผม บ้านผมพบผู้ติดเชื้อ Rapid Test เป็น Positive (ติดเชื้อ) ก็เข้ารับการรักษาได้เลย เข้าโรงพยาบาลได้เลย โรงพยาบาลทำ  RT-PCR ต่อให้  เป็นภารกิจของเรา

"แต่ที่ในกทม. ที่ฟังเสียงชาวบ้านคือ แม้มีผล Rapid Test เป็น Positive (ติดเชื้อ) ชาวบ้านต้องวิ่งไปหาโรงพยาบาล ทำ RT-PCR และไม่มีโรงพยาบาลไหนยอมทำให้เขา สุดท้ายเขาก็ไม่ได้ผลอะไรเลย กลับไปนอนรอเวลาอยู่ที่บ้าน ถ้าโชคดี เป็นไม่มากก็รอด ถ้าโชคร้าย เป็นมาก ก็แย่ ซึ่งระบบมันไม่ไหวนะครับในกรุงเทพ

"กรุงเทพมหานคร เมืองฟ้าอมร ตึกสูง โรงพยาบาลเยอะแยะ ทำเนียบรัฐบาลก็อยู่ตรงนี้ กระทรวงสาธารณสุขก็อยู่ตรงนี้ สารพัดหน่วยราชการก็อยู่ตรงนี้  ความร่วมมือในการช่วยเหลือผู้คน ในกรุงเทพยังน้อยเกินไป

ประชาชนรอตรวจโควิด-19

ข้อเรียกร้อง ต่อรัฐบาล ด้านมาตรการตรวจโควิด

จากโครงการบุกกรุง ตรวจเชิงรุกให้กับชาวชุมชนต่างๆ ทำให้ทาง ชมรมแพทย์ชนบท ได้เห็นปัญหาต่างๆ มากมาย จึงมีข้อเสนอให้รัฐบาล 3 ข้อ ดังนี้

“ข้อแรกคือเพิ่มจุดตรวจ Rapid Test หรือ RT-PCR ให้มากที่สุด

“ข้อที่ 2 ไม่ผลักภาระให้ผู้ป่วยไปตรวจเอง ไปตรวจ RT-PCR เอง เมื่อผล Rapid Test เป็น Positive (ติดเชื้อ)

ขอให้ยอมรับผล Rapid Test ก็ได้นะถือว่าเป็นภารกิจโรงพยาบาลที่ต้องตรวจให้

“ข้อที่ 3 ถ้าสามารถทำได้ ก็ต้องยอมรับการ Self – Swab ตรวจตัวเอง แล้วได้ผล ได้ผลก็ไปยื่นกับเจ้าหน้าที่ เพื่อที่จะดูว่า จะดูแลต่ออย่างไร จะหาเตียงให้ จะ Home Isolation หรือจะกักตัวอย่างไรต่อไป

“เซ็ตนี้เป็นเรื่องของการตรวจล้วนๆ นะ ยังไม่มีประเด็นของเรื่องโรงพยาบาลสนามเลย”

ประชาชนรอตรวจโควิด-19 ชุดตรวจโควิด-19

ผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงการตรวจได้ จนเกิดเหตุสลด ประชาชนนอนตายข้างถนน ใครต้องรับผิดชอบ ?

สุดท้ายยนี้ เมื่อ Springnews ถามว่า จากปัญหาเกี่ยวกับโควิดมากมาย แต่ที่สร้างความสะเทือนใจให้มากที่สุด ก็คือ มีป่วยโควิดจำนวนมาก ไม่สามารถเข้าถึงการตรวจได้ และมีความพยายามไม่ให้พวกขาได้รับการตรวจ จนมีผู้ป่วยนอนตายข้างถนน ใครต้องออกมาแสดงรับผิดชอบกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนี้ โดย นพ.สุภัทร ประธาน ชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า

“ประชาชนช่วยกันตอบแล้วกัน คำถามนี้ ใครต้องรับผิดชอบ อย่าให้ผมต้องตอบเลย ผมว่าทุกคนมีคำตอบเดียวกัน มีคำตอบเหมือนกันคนที่ต้องรับผิดชอบ ก็คือ นะจ๊ะ น่ะแหละ นะ”

ทีมแพทย์ใส่ชุดPPE ตรวจโควิด-19 นพ.สุภัทร

related