svasdssvasds

กตต.ชี้หากติดป้ายหาเสียงแล้วให้เอาลงก่อน

หลังการกำหนดวันเลือกตั้ง จากนี้พรรคการเมืองและว่าที่ผู้สมัครสส.จะเริ่มหาเสียงด้วยการติดป้าย แต่กฏหมายระบุว่าจะต้องให้ท้องถิ่นเป็นผู้กำหนดจุด ซึ่งกกต.คาดจะใช้เวลาอีก 1-2 วัน

"อรรถวิชช์" ชี้กทม.ทำงานช้าไม่ประกาศจุดติดป้าย

นายอรรถวิชช์กล่าวว่านายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โทรศัพท์มาขอให้เก็บป้ายหาเสียงไปก่อน เนื่องจาก กทม.ยังออกประกาศจุดติดป้ายไม่ทัน ซึ่งยินดีให้ร่วมมือ แต่ก็อยากให้ กทม.เร่งออกประกาศ เพราะกกต.กำหนดระเบียบการติดป้ายหาเสียงตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม ที่ผ่านมาและมอบหมายให้หน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบ แต่จนถึงขณะนี้ กทม.กลับยังไม่ประกาศ ซึ่งถือว่าเป็นการทำงานที่ผิดปกติและทำให้พรรคการเมืองทำงานลำบาก

กตต.ชี้หากติดป้ายหาเสียงแล้วให้เอาลงก่อน

การติดตั้งก่อนไม่ถือว่าผิดกฏหมาย เพราะขนาดป้ายและจำนวนที่ติดเป็นไปตามระเบียบของกกต. ไม่กีดขวางการจราจร ไม่บดบังทางสัญจร และไม่ทำลายทรัพย์สินส่วนราชการ หรือกทม.จะต้องรอให้พรรคใดพรรคหนึ่งพร้อมก่อนใช่หรือไม่ จึงจะออกประกาศ และเตรียมจะทำหนังสือถึง กทม. เพื่อเร่งออกประกาศ

กตต.ชี้หากติดป้ายหาเสียงแล้วให้เอาลงก่อน

ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้นายวิรัช ร่มเย็น กรรมการบริหารพรรคส่งหนังสือถึงประธาน กกต. ขอแจ้งการหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ ในนามพรรคการเมือง เมื่อวานนี้พร้อมแนบช่องทางการสื่อสาร 11 ช่องทาง อาทิ เวปไซต์พรรค ไลน์ ทวิตเตอร์ ยูทูป เฟสบุ๊ก และ ไอจี

กตต.ชี้หากติดป้ายหาเสียงแล้วให้เอาลงก่อน

ด้านพันตำรวจเอกจรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการ กกต.กล่าวว่า ผู้สมัครที่ติดป้ายหาเสียงไปแล้วก็ขอให้นำลงก่อน เพราะต้องให้มีการกำหนดจุดติดป้ายหาเสียงให้ผู้สมัคร แต่ตอนนี้ทางจังหวัดยังไม่ได้ออกสถานที่มา คาดว่าน่าจะภายใน 1-2 วันนี้

หากผู้สมัครรายใดไม่เก็บป้ายหาเสียงหรือไปติดป้ายในจุดที่ไม่ได้อนุญาต ก็จะมีความผิดตามกฏหมาย

"วิษณุ" ชี้หาเสียงได้เต็มที่หลังประกาศกฏหมายเลือกตั้ง

ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี บอกว่า ตอนนี้นักการเมืองสามารถหาเสียงได้ทันที ตั้งแต่วันที่มีพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้ง กระบวนการหาเสียงก็สามารถทำได้เต็มตามระเบียบของกกต.และการคิดค่าใช้จ่ายก็ให้เริ่มทันที การหาเสียงผ่านโซเชียลมีเดียให้สอบถามความชัดเจนจาก กกต. และบอกว่าไม่ต้องกังวลว่าการรับรองผลเลือกตั้ง ส.ส.จะต้องดำเนินการภายใน 60 วัน และต้องอยู่ในกรอบกฏหมายการจัดการเลือกตั้งภายใน 150 วัน เป็นหน้าที่ กกต.ที่ต้องทำให้ทันและเสร็จอย่างสมบูรณ์ หากมีการร้องเรียนเกิดขึ้นก็ค่อยว่ากันตามกระบวนการ

กตต.ชี้หากติดป้ายหาเสียงแล้วให้เอาลงก่อน

ส่วนการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลยังเป็นปกติและมีอำนาจเต็ม มาตรา 44 ก็ยังสามารถใช้ได้ตามรัฐธรรมนูญ แต่จะพิจารณาจากเหตุการณ์และความจำเป็นเพื่อแก้ปัญหาตามที่ประชาชนเรียกร้อง ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามปฏิเสธใช้ ม.44 ตามที่หลายหน่วยงานได้ร้องขอมาในหลายประเด็น ส่วน4 รัฐมนตรีที่เป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐจะไปหาเสียงโดยใช้นโยบายของรัฐบาล ก็ไม่เกี่ยวข้องกันเพราะเป็นเรื่องส่วนบุคคล สำหรับการสอบของนักเรียนในช่วงนั้น เชื่อว่า 1-2 วันนี้กระทรวงศึกษาธิการจะพิจารณาแนวทาง ซึ่งมีแนวโน้มให้กลับไปใช้วันสอบตามเดิม คือ 24 ก.พ.2562 โดยจะทำให้เด็กมีเวลาเตรียมตัวสอบมากขึ้น

"วัฒนา" โพสต์ระเบียบกกต. อาจขัดรัฐธรรมนูญ

ขณะที่นายวัฒนา เมืองสุข ว่าที่ผู้สมัครส.ส.พรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก ว่าระเบียบ กกต. ว่าด้วยการหาเสียง อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญและไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการเลือกตั้งหลายข้อ เช่น การหาเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถทำได้ แต่จะต้องแจ้งวิธีการ รายละเอียด ช่องทางและระยะเวลาให้ กกต.จังหวัดทราบตั้งแต่วันสมัครรับเลือกตั้งเป็นต้นไปหรือก่อนดำเนินการหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์

กตต.ชี้หากติดป้ายหาเสียงแล้วให้เอาลงก่อน

ปัญหาคือผู้แจ้งจะต้องเป็นผู้สมัคร ซึ่งจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการรับสมัครที่ กกต. กำหนดไว้ในวันที่ 4-8 กุมภาพันธ์ ซึ่งจะทำให้หาเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้ก่อนหน้านั้น แต่กลับหาเสียงโดยวการติดป้าย หรือการปราศรัยได้ ประเด็นนี้น่าจะเกิดจากความไม่รอบคอบของการออกระเบียบ โดยจะไปยื่นเอกสารแจ้งให้ กกต. ทราบ ส่วน กกต. จะไม่รับโดยอ้างว่ายังไม่เป็นผู้สมัครแบบที่ปฏิเสธท่านอื่นๆ มาแล้วก็เป็นเรื่องของ กกต. เพราะถือว่าได้แจ้งแล้ว

กตต.ชี้หากติดป้ายหาเสียงแล้วให้เอาลงก่อน

ล่าสุด เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่า ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2562 กำหนดห้ามผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใดนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการหาเสียง /ห้ามผู้ประกอบอาชีพ หรือเป็นเจ้าของกิจการเกี่ยวกับรายการทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่อมวลชน สื่อโฆษณา เช่น นักแสดง นักร้อง นักดนตรี พิธีกร สื่อมวลชน เป็นต้น ใช้ความสามารถ หรือวิชาชีพดังกล่าว เพื่อเอื้อประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้งแก่ผู้สมัครอื่น หรือพรรคการเมือง ยกเว้นผู้สมัครที่ใช้ความรู้ความสามารถทางศิลปะของตน หาเสียงเลือกตั้งให้แก่ตนเองโดยไม่ใช้อุปกรณ์ในการแสดง เป็นต้น

 

related