svasdssvasds

นิดาโพลชี้ประชาชน 69.75% หนุนแยกงานสอบสวนออกจากตร. 

นิดาโพลชี้ประชาชน 69.75% หนุนแยกงานสอบสวนออกจากตร. 

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

นิด้าโพล เผยผลสำรวจประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 69.75 ต้องการให้แยกระบบงานสอบสวนออกจากตำรวจ และร้อยละ 79.83 อยากให้พนักงานอัยการมีอำนาจตรวจสอบควบคุมการสอบสวนคดีมีโทษจำคุกเกิน5ปี หรือคดีที่มีการร้องเรียน 

วันที่ 5 ส.ค.60 คณะนิติศาสตร์ ร่วมกับศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง ปฏิรูปตำรวจอย่างไรจึงจะได้ใจประชาชน โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24 - 29 ก.ค. 2560 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ ทุกสาขาอาชีพจำนวน 2003 หน่วย ตัวอย่าง เกี่ยวกับการปฏิรูปตำรวจ ในระบบงานสืบสวนสอบสวน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์

โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน ไม่เกิน 1.1 พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 69.75 ระบุเห็นด้วย ที่จะให้แยกระบบงานสอบสวนออกจากตำรวจ เพราะเป็นการแยกระบบงานจับกุมและงานสอบสวนออกให้เป็นสัดส่วน เช่นเดียวกับในบางประเทศที่ใช้ระบบดังกล่าวเป็นการช่วยลดภาระงานของตำรวจและป้องกันการใช้อำนาจในการสอบสวนในทางที่ผิดสร้างความเชื่อมั่นในระบบงานสอบส่วนมากขึ้นมีความโปร่งใสและยุติธรรมมากขึ้นและประชาชนต้องการเห็นแนวทางใหม่ๆในการปฏิรูปตำรวจ ส่วนร้อยละ 24.31 ระบุว่าไม่เห็นด้วยเพราะการสืบสวนสอบสวนถือเป็นหน้าที่ของตำรวจ หากแยกนั้นระบบสอบสวนออกไปอาจทำให้เกิดความซ้ำซ้อนล่าช้าและขาดความต่อเนื่อง  

ส่วนความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการให้พนักงานอัยการมีอำนาจตรวจสอบควบคุมการสอบสวนคดีที่มีโทษจำคุกเกินห้าปีหรือคดีที่มีการร้องเรียนพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 70 .98  ระบุว่า เห็นด้วยเพราะเป็นการป้องกันการทุจริตในระบบงานสอบสวนเพื่อความโปร่งใสและเป็นธรรมกับทุกฝ่ายโดยเฉพาะประชาชนที่ไม่มีความรู้ด้านกฎหมาย ที่อาจโดนยัดเยียดข้อกล่าวหาจนนำไปสู่การจับผู้ต้องหาผิดตัว ซึ่งอัยการเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านกฎหมายมีความน่าเชื่อถือเป็นการถ่วงดุลอำนาจแบ่งการทำงานช่วยกันดูแลตรวจสอบและมีความเป็นกลางมากขึ้น ขณะที่ร้อยละ 12.83 ไม่เห็นด้วยเพราะมีฝ่ายที่คอยตรวจสอบและควบคุมอยู่แล้ว หาก ให้อัยการมีหน้าที่ตรวจสอบอาจเกิดความซ้ำซ้อน อีกทั้งไม่มั่นใจในเรื่องของความโปร่งใสความเป็นกลาง และประสบการณ์ในการควบคุมงานสอบสวนของอัยการ ส่วนร้อยละ 0.35 ระบุว่าขึ้นอยู่กับรูปคดีและควรพิจารณาเป็นรายคดีไป 

นอกจากนี้ร้อยละ 62.61 เห็นด้วยหากจะให้พนักงานอัยการเห็นชอบในการออกหมายเรียกบุคคลมาแจ้งข้อหาหรือเสนอศาลออกหมายจับ ส่วนร้อยละ 29.15 ไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้การทำงานล่าช้า อาจส่งผลเสียต่อรูปคดี และร้อยละ 90.31 ต้องการให้มีการบันทึกภาพและเสียงการสอบปากคําบุคคลไว้เป็นหลักฐาน จะได้ไม่มีการบิดเบือนในกรณีที่เกิดปัญหาการร้องเรียน ส่วนร้อยละ 6.84 ไม่เห็นด้วย เพราะอาจเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลมากเกินไป 

related