svasdssvasds

เฉลย! เคส สายชาร์จดูดเงิน มีจริง แต่ที่ไทย โดนหลอก เงินหาย เพราะ โหลดแอปฯปลอม

เฉลย! สายชาร์จดูดเงิน เคสที่ไทย ที่แท้โดนคนร้ายหลอกโหลดแอปฯปลอม สูญเงินหลักแสน แบงก์ชาติคอนเฟิร์มเอง (แต่สายก็มีจริงนะ)

ก่อนที่จะไปเรื่องว่า เงินในบัญชีหายได้อย่างไร อยากให้ทุกคนทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนตรงนี้ คือ สายชาร์จดูดเงิน มีจริง แต่วิธีการทำงานของเราคือเอา Username , Password เราไปแฮกเงินในบัญชีอีกที

ส่วนเคสล่าสุดที่บอกว่า แค่เสียบมือถือชาร์จไว้เฉย ๆ แล้วอยู่ดี ๆ มือถือก็โอนเงินไปหาใครก็ไม่รู้เป็นแสน อันนี้ พิสูจน์แล้วว่า มาจากการโหลดแอปฯปลอม

จะบอกว่าเรื่องนี้คนพิสูจน์ คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย พี่ใหญ่ผู้คุมกฎหมายของธนาคารอีกทีหนึ่ง ซึ่งเขาก็หารือกับสมาคมธนาคารไทย

 

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

วิธีการของคนร้ายคือการหว่านแหทำแอปฯปลอมที่ดูหน้าตาดีขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น แอปฯ แต่งรูป แอปฯทำหน้าการ์ตูน หรือไปไกลสุดถึงขั้นแอปฯ ธนาคารปลอมก็มี

ซึ่งช่องโหว่ที่คนร้ายใช้ก็มีทั้ง เข้ามาแบบถูกกฏหมายผ่านตัวโหลดแอปฯ อย่างเป็นทางการของมือถือ ที่น่าเชื่อถือ เช่น Play Store , App store และเข้ามาแบบทีเผลอ คือ จ่ายเงินโฆษณาบน google แล้วค่อย หลอกให้โหลดแอปฯปลอมอีกทีก็มี

ถามว่าพวกนี้มันไม่ตรวจสอบเลยเหรอ ?

Play Store , App store เขาไม่เช็กเลยเหรอ ? ก็ต้องบอกว่ามันเหมือนแมวไล่จับหนู ไล่จับเท่าไหร่ก็ไม่หมด ถ้าเรายังวางกับข้าวไว้บนโต๊ะมาล่อให้หนูกิน ดังนั้นเราเองก็ต้องระมัดระวังตัวด้วย

วิธีการระวังตัวเบื้องต้นสำหรับสายโซเชียล

  • ดาวน์โหลดแอปฯ ตัวโหลดอย่างเป็นทางการของมือถือเท่านั้น เช่น Appstore ใน iPhone และ PlayStore ใน Android
  • ห้ามโหลดแอปฯ นอกตัวดาวน์โหลดอย่างเป็นทางการ เด็ดขาด โดยเฉพาะ แอปฯพนัน แอปฯแต่งรูป

เดี๋ยวนี้ทางด้านของระบบปฎิบัติการอย่าง Android เอง ก็มีการแจ้งเตือนเราเหมือนกันนะว่าแอปฯ ไหนไม่ได้ใช้นาน เราจะถอนมันออกไหม เพราะบางทีมันอาจจะหน้าไหว้หลังหลอกมาแทงเราก็เป็นได้

related