svasdssvasds

ชวนรู้จัก ภารกิจกู้ทะเล Thai Union ผ่านปะการังเทียมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ชวนรู้จัก ภารกิจกู้ทะเล Thai Union ผ่านปะการังเทียมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ปะการังเทียมสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเลอย่างไร? ชวนรู้จักบ้านปะการังเทียมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากโครงการรักษ์ทะเล ของ Thai Union

ปีหน้าสภาพอากาศจะมีการเปลี่ยนแปลงตามการคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก แต่อย่างไรก็ตาม การเริ่มลงมือทำ ด้วยการดูแลหวงแหนทรัพยากรที่มีอยู่ตอนนี้ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ก็สำคัญไม่แพ้กัน

เพื่อเร่งอนุรักษ์ทะเลไทย บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่เป็นบริษัทคนไทยที่ทำธุรกิจอาหารทะเล Top 5 ระดับโลก ภายใต้แนวคิด Healthy Living, Healthy Oceans ง่าย ๆ เลยคือ เพราะมีท้องทะเลเลยมีเรา จึงได้จับมือกับมูลนิธิ Earth Agenda ร่วมกันทำข้อตกลง MOU “โครงการรักษ์ทะเล” โดยมีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูแนวปะการังและระบบนิเวศทางทะเลในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งอยู่ภายใต้กลยุทธ์ความยั่งยืน SeaChange® 2030 ของไทยยูเนี่ยนด้วย กลยุทธ์นี้มีภารกิจพิทักษ์ทะเลเยอะมาก สามารถไปย้อนชมในคลิปด้านบนนี้ได้เลย 

โครงการบ้านปะการังเทียมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของไทยยูเนี่ยน ทั้งนี้ “โครงการรักษ์ทะเล” ดำเนินการโดยมูลนิธิ Earth Agenda ซึ่งเป็นการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือระหว่าง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย SCG โดย CPAC Green Solution และบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้ไทยยูเนี่ยน จะสนับสนุนงบประมาณให้โครงการรักษ์ทะเล ผ่านมูลนิธิเอิร์ธ อะเจนด้า เพื่อจัดทำและวางปะการัง เป็นจำนวนเงินปีละ 1 ล้านบาท ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 2566-2568 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3 ล้านบาท โดยจะผลิตปะการังเทียมออกมาปีละ 70 ชิ้น 3 ปีก็เป็น 210 ชิ้น ครอบคลุมพื้นที่ 60 ตารางเมตรต่อปี รวมทั้งหมด 180 ตารางเมตร ซึ่งพื้นที่การวางจะอยู่ในพื้นที่ฟื้นฟูแนวประการังโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 

พอมาถึงตรงนี้หลายคนอาจตั้งคำถามว่า ทำไมไทยยูเนี่ยนต้องสร้างปะการังเทียมให้กับสัตว์น้ำด้วย?  

อย่างแรกเลย การสร้างปะการังเทียมทำหน้าที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สิ่งมีชีวิตใต้ทะเล ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลให้กลับมาอุดมสมบูรณ์  ทางไทยยูเนี่ยนและมูลนิธิ Earth Agenda เองก็มองว่านวัตกรรม CPAC 3D Printing Solution เนี่ยผลิตมาจากปูนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมใต้ทะเล ทำให้มีความแข็งแรง รูปร่างกลมกลืนกับธรรมชาติ

โครงการบ้านปะการังเทียมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของไทยยูเนี่ยน อีกแง่มุมนึง แหล่งที่ตั้งของการวางปะการังคือภูเก็ต ภูเก็ตถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย

ซึ่งกิจกรรมการท่องเที่ยวบางอย่างเนี่ย อาจจะสร้างความเสียหายให้กับปะการังได้ เช่น การปล่อยสมอเรือทับปะการัง หรือการดำน้ำ และถ่ายรูปกับปะการัง ด้วยท่าทางในลักษณะที่ไปจับ ไปนั่ง ไปเหยียบ หรือเก็บกลับมาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งนี่เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น หากทำผิดก็มีบทลงโทษไปตามระเบียบ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แต่ก็มีปัจจัยอื่นอีกด้วยที่เกิดจากการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่ง การใช้สารเคมีที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรืออีกปัจจัยสำคัญคือ ภาวะโลกร้อนที่กำลังเปลี่ยนอุณหภูมิของน้ำให้อุ่นขึ้น ส่งผลต่อการฟอกขาวของปะการังที่รุนแรงขึ้น

ดังนั้น ไทยยูเนี่ยนจึงเดินหน้าโครงการบ้านปะการังเทียม ภายใต้ “โครงการรักษ์ทะเล” ให้เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางเลือกในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ ทำหน้าที่เป็นบ้านให้กับสัตว์น้ำ สามารถเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำได้ เป็นที่หลบภัย ที่อยู่อาศัย หาอาหาร สืบพันธุ์ ปกป้องสัตว์น้ำวัยอ่อนก่อนที่จะถูกจับไปก่อนวัยอันควร ซึ่งมีผลการวิจัยแล้วด้วยในปี 2002 ว่าปะการังเทียมที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกมีผลให้จำนวนปลาเพิ่มขึ้นและมีความหลากหลายทางชีวภาพก็เพิ่มมากขึ้นด้วย 

โครงการบ้านปะการังเทียมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของไทยยูเนี่ยน แต่อย่างไรก็ตาม ปะการังที่เกิดจากธรรมชาติคือทางออกที่ดีที่สุดของระบบนิเวศ และก็ปลอดภัยที่สุดด้วยสำหรับสัตว์น้ำ แต่ความท้าทายคือจะทำอย่างไรให้ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้อยู่ได้อย่างยั่งยืน ท่ามกลางวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทั่วโลก 

แต่จริงๆ ก็ไม่ต้องมองไหนไกลเลย ก็ตัวเรานี่แหละที่ต้องช่วยกัน เช่น การเคารพกฎกติกาของสถานที่ท่องเที่ยว ไม่ทิ้งใขยะในสถานที่ธรรมชาติ ไม่ส่งเสียงดังจนกลายเป็นมลพิษทางเสียง ไม่หยิบจับสัตว์น้ำสุ่มสี่สุ่มห้า หรือจะแยกขยะตั้งแต่ในบ้านของเราก็ช่วยทะเลได้เหมือนกัน 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related