svasdssvasds

โรคมะเร็ง รักษาอย่างไร? วิธีไหน ถึงจะมีประสิทธิภาพที่สุด?

โรคมะเร็ง รักษาอย่างไร? ภัยร้ายใกล้ตัวกว่าที่คิด การเลือกโรงพยาบาลที่มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ทีมแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์ ช่วยลดโอกาสสูญเสียจากโรคมะเร็ง

ปัจจุบันประเทศไทยมีการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาใช้ด้านการแพทย์ สังคมไทยตอนนี้เข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มตัวแล้ว เมื่ออายุชีวิตผู้คนมีความยืนยาวมากขึ้น ความเสื่อมของร่างกายและความเจ็บป่วย ก็มีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมักเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คืออะไร?

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือโรคที่ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต อาการแสดงช้า ค่อยๆ สะสมไป แต่เมื่อมีอาการของโรค มักจะเกิดการเรื้อรัง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคทางระบบหัวใจ และโรคมะเร็ง ดังนั้นการรับมือและรักษาโรคเหล่านี้ จำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางการแพทย์ที่มีความทันสมัย

การเลือกโรงพยาบาล ที่รักษามะเร็งเฉพาะทาง จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะโรงพยาบาลที่มีทีมแพทย์และเทคโนโลยีที่ครบครัน จะเป็นส่วนสำคัญ ในการวางแผนการรักษามะเร็ง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการสูญเสียได้

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

อย่างโรงพยาบาลไทยนครินทร์ เป็นอีกโรงพยาบาลที่มีศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา ให้บริการแบบครอบคลุมด้านโรคมะเร็ง จุดแข็งของที่นี่คือ เทคโนโลยีการแพทย์เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การตรวจคัดกรองมะเร็งตั้งแต่ระดับยีน

หรือตรวจในระดับ DNA เป็นการตรวจด้วยเครื่องมือการแพทย์เฉพาะทาง เช่น การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ร่วมกับ 3D ดิจิตอลเมมโมแกรม เพื่อนำภาพที่ได้มาวินิจฉัยความผิดปกติ และหากพบว่ามีก้อนหินปูนในเต้านม ซึ่งมักพบมากในผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

ที่ศูนย์โรคเต้านม Mammogram สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ยังคลำไม่พบก้อน แนะนำให้ทำตั้งแต่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เว้นแต่คนที่เสี่ยงสูงให้ทำตั้งแต่ 35 ปีโรงพยาบาลไทยนครินทร์มีเครื่องเจาะชิ้นเนื้อที่เรียกว่า Stereotactic (สะ-เตอ-ริ-โอ-แทค-ติค) ที่สามารถล็อคเป้าหมายเพื่อเจาะชิ้นเนื้อบริเวณที่เป็นหินปูน ลดการผ่าตัดเลาะชิ้นเนื้อบริเวณต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ออกมาตรวจได้ ซึ่งช่วยให้คุณผู้หญิงไม่เป็นแผลขนาดใหญ่

และหากตรวจชิ้นเนื้อแล้วพบว่าเป็นมะเร็ง การรักษานอกจาก เคมีบำบัด หรือ คีโม
ที่นี่จะมีการรักษาแบบให้ยามุ่งเป้า การส่องกล้องผ่าตัดผ่านกล้อง และการใช้รังสีรักษา ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญมาก เพราะการฉายรังสีจะช่วยให้ไม่กลับมาเป็นมะเร็งซ้ำในจุดเดิม

นอกจากนั้นยังมีเครื่องจำลองการฉายรังสีเพื่อล็อคเป้าหมายจุดที่ต้องการฉายรังสี หลังจากนั้นจะทำการฉายรังสีด้วยเครื่องฉายรังสี Vital Beam (ไว-ทัล-บีม) ข้อดี คือ มีเทคโนโลยีขั้นสูง ช่วยลดผลกระทบจากการฉายรังสี ที่อาจส่งผลต่ออวัยวะข้างเคียง  และช่วยลดความเสี่ยงของผลข้างเคียงในระยะยาวได้

สำหรับการรักษามะเร็งสิ่งที่สำคัญกว่าเทคโนโลยีการแพทย์ที่ทันสมัยคือ ทีมแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์ มากกว่า 95% เป็นแพทย์เฉพาะทางด้านโรคต่างๆ

วิธีการรักษามะเร็งของโรงพยาบาลไทยนครินทร์ใช้วิธีที่เรียกว่า Multidisciplinary Team หรือ MDT (เอ็มดีที) คือการทำงานเป็นทีมระหว่างทีมแพทย์เฉพาะทางในหลายสาขาวิชา รวมถึงทีมพยายาบาลวิชาชีพที่มากประสบการณ์เพื่อให้การวางแผนรักษามะเร็งระหว่างทีมแพทย์และผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากที่สุด

รวมไปถึงที่โรงพยาบาลไทยนครินทร์มีศูนย์ส่งเสริมสุขภาพองค์รวม หรือ WELLNESS CENTER ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งครอบคลุมจนถึงการฟื้นฟูร่างกายหลังการรักษา นอกจากนี้โรงพยาบาลไทยนครินทร์มีอาคารรังสีรักษา อยู่ด้านหลังของอาคารโรงพยาบาล ซึ่งเป็นพื้นที่ให้บริการด้านโรคมะเร็งโดยเฉพาะ ข้อดีของการมีอาคารรักษาที่ชัดเจนคือ ความปลอดภัยของผู้ป่วยมะเร็งในการเข้ารับบริการ เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งมีความอ่อนไหวในเรื่องภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ การที่โรงพยาบาลไทยนครินทร์มีอาคารรังสีรักษาที่ชัดเจนจึงตอบโจทย์ผู้ป่วยมะเร็งได้เป็นอย่างดี

มะเร็ง คือโรคร้ายที่อยู่ใกล้ตัวกว่าที่คิด ให้ทุกคนหมั่นสังเกตตัวเองเบื้องต้น ไว้ก่อนเลย ถ้ามีอาการผิดปกติหรือมีข้อสงสัย แนะนำให้ตรวจคัดกรองมะเร็งด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง โดยเลือกโรงพยาบาลที่มีเทคโนโลยีด้านการแพทย์ที่ทันสมัย อย่าง รพ.ไทยนครินทร์ เพราะมะเร็งตรวจพบก่อน รักษาทันเวลา ด้วยแพทย์ที่เฉพาะทางและเครื่องมือแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดโอกาสสูญเสียชีวิตได้

related