svasdssvasds

ค่าไฟแพง แพงเพราะอะไร? การไฟฟ้าปรับขึ้นค่าไฟจริงหรอ?

ค่าไฟแพงเพราะอะไร? การไฟฟ้าขึ้นค่าไฟจริงหรอ? ไขข้อสงสัยให้กระจ่างโดยการไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA ว่ามาจาก 2 ปัจจัยต่อไปนี้ ยืนยันไม่ได้ปรับขึ้นค่าไฟแต่อย่างใด เดี๋ยวโอ๋สรุปให้ฟัง

ค่าไฟแพง แพงเพราะอะไร? การไฟฟ้าปรับขึ้นค่าไฟจริงหรอ? เดี๋ยวโอ๋สรุปให้ฟัง

       หน้าร้อนนี้ ดูบิลค่าไฟกันหรือยังคะ ไขข้อสงสัย ทำไมค่าไฟแพง ช่วงหน้าร้อน?
มาจาก 2 ปัจจัย

1.สภาพอากาศ : ยิ่งข้างนอกร้อน แอร์ยิ่งทำงานหนัก

ตามปกติ
       อุณหภูมิภายนอก 30 องศา เปิดแอร์ในห้อง 26องศา แอร์จะต้องทำงานเพื่อลดอุณหภูมิให้ได้ 4 องศาเซลเซียส แอร์ทำงานไม่หนักในการปรับอุณหภูมิห้องให้เย็นลง

ฤดูร้อน
       อุณหภูมินอกห้องอาจสูงถึง 40  องศา แม้เปิดแอร์ในห้อง 26 องศาเท่าเดิม

       แอร์จะต้องทำงานเพื่อลดอุณหภูมิให้ได้ถึง 14 องศาเซลเซียล แอร์จึงทำงานหนักมากขึ้น และกินไฟมากกว่าเดิม อีกทั้งยังต้องรักษาอุณหภูมิในสภาวะที่มีความร้อนจัดจากภายนอกรบกวน จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้หน่วยการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น แล้ว MEA มีผลทดสอบมาว่า อุณหภูมิภายนอกที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 1 องศา แอร์จะกินไฟเพิ่มขึ้น  มากกว่า 3%
เพราะงั้นแม้เปิดอุณหภูมิเท่าเดิม เวลาเท่าเดิม แต่แอร์มันทำงานหนักขึ้น กินไฟก็มากขึ้น  
 

2.อัตราค่าไฟฟ้าประเทศไทยเป็นแบบก้าวหน้า

150 หน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) แรก ( หน่วยที่ 1 – 150 ) หน่วยละ 3.2484 บาท

250 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 151 – 400 ) หน่วยละ 4.2218 บาท

เกินกว่า 400 หน่วย ( หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป ) หน่วยละ 4.4217 บาท

       แต่จากการประชุมคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2566 ส่วนของ ค่า Ft ประจำเดือน พ.ค. – ส.ค. 66 มีค่าลดลงเท่ากับ 91.19 สตางค์ต่อหน่วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

       ที่ใช้อัตราก้าวหน้าแบบนี้เพราะรัฐบาลคิดด้วยสมมติฐานที่ว่า ต้องการลดความเหลื่อมล้ำ คนที่มีรายได้สูง  มักใช้ไฟเยอะตาม (ลองนับในบ้านมีGadgetกี่อย่าง)  อาจสรุปได้ว่า ค่าไฟฟ้าผันแปรตามรายได้ของเราด้วย

       และช่วงหน้าร้อน การใช้ไฟมันเยอะกว่าปกติอยู่แล้วเป็นประจำ ดูจากค่าพลังความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ใน กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ สูงถึง 9,346.81 เมกะวัตต์ ในวันที่ 25 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่งมักจะพบว่าสูงสุดช่วงฤดูร้อน

3.สรุปแล้วค่าไฟแพง เพราะการไฟฟ้า ปรับขึ้นค่าไฟ จริงหรอ? 

       ไม่เป็นความจริง ล่าสุดทางรองผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA ยืนยันว่า MEA ยังใช้หลักเกณฑ์วิธีการคิดค่าไฟฟ้าจากหน่วยการใช้ไฟฟ้าในอัตราเดิมตามที่นโยบายของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำหนด ตรวจสอบได้ที่ https://www.mea.or.th/profile/

ข้อแนะนำ ช่วยประหยัดไฟจาก MEA  
“ปิด - ปรับ - ปลด - เปลี่ยน”
1.ปิด : ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น
2. ปรับ : ปรับแอร์ไปที่ 26 องศาเซลเซียส พร้อมเปิดพัดลม ช่วยลดอุณหภูมิได้
3. ปลด : ปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้งาน
4. เปลี่ยน : เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต
 เช่น ล้างแอร์มากขึ้น ปีละ 2 ครั้ง
ไม่เปิด-ปิดตู้เย็นบ่อย ๆ
ไม่กักตุนอาหารไว้ในตู้เย็นเกินจำเป็น (ยิ่งมาก ยิ่งกินไฟ)
ใช้หลอดไฟ LED
ใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า(เบอร์ 5)
 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 
Facebook : การไฟฟ้านครหลวง MEA
Line : MEA Connect
และ MEA Call Center 1130 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
หรือแอปฯ MEA Smart Life   

                                   “แต่อย่าลืม ประหยัดไฟกันด้วยนะ”

related